ปัจจัยภายนอกและภายใน ISO9001:2015 CD

ข้อกำหนด ISO9001:2015 (CD) ข้อ "4.1 การทำความเข้าใจองค์กรและบริบทขององค์กร" สำคัญอย่างไร

สำคัญเพราะ เป็นการบังคับให้คุณทำตามหลักการที่ว่า "รู้ัเขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" !

สำคัญเพราะ คุณจะได้ไปจัดวางระบบการจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (ถูกที่ ถูกวิธี ถูกเวลา)

สำคัญเพราะ เป็นสิ่งที่ท่านต้องรู้ ต้องใส่ใจหากต้องการให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขัน เป็นองค์กรที่เยี่ยมยอด

สำคัญเพราะ องค์กรคุณต้องการ ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการเน้น การอยู่รอด การเติบโต การยั่งยืน การมั่งคั่ง

สำคัญเพราะ มาตรฐาน ISO 9001 เป็นมาตรฐานสำหรับการจัดการบริหารธุรกิจ เวลาทำระบบจึงต้องทำระบบเพื่อบริหารธุรกิจ ไม่ใช่ทำเพื่อ ISO มาตรฐาน ISO จึงใส่เรื่องนี้ไว้

ในการบริหารธุรกิจทั่วไป  คงหนีไม่พ้นกับขั้นตอนพื้นฐานในการจัดการดังต่อไป นี้

  • ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบผลประกอบการของคนเอง
  • ขั้นตอนที่ 2 วิสัยทัศน์ขององค์กร
  • ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์ตลาด และสภาวะการแข่งขัน
  • ขันตอนที่ 4 การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค ขององค์กร (SWOT)
  • ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจ
  • ขั้นตอนที่ 6 ตรวจสอบสมรรถนะการแข่งขันขององค์กร
  • ขั้นตอนที่ 7 การวิเคราะห์ความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง
  • ขั้นตอนที่ 8 การคัดเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรและ การจัดทำกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
  • ขั้นตอนที่ 10 การตั้งเป้าหมายของกลยุทธ์ระดับองค์กรและระดับธุรกิจ
  • ขั้นตอนที่ 11 การจัดทำแผนกลลยุทธ์แผนการปฏิบัติการระดับปฏิบัติการ
    • แผนปฏิบัติการของฝ่ายการตลาด
    • แผนปฏิบัติการฝ่ายขาย
    • แผนปฏิบัติการฝ่ายผลิต
    • แผนปฏิบัติการฝ่ายตรวจสอบ
    • แผนปฏิบัติการฝ่ายการเงิน
    • แผนปฏิบัติการนวัตกรรม
    • แผนปฏิบัติการของฝ่ายบุคคล
    • แผนปฏิบัติการของฝ่ายสารสนเทศ
    • แผนปฏิบัติการของฝ่าย……
  • ขั้นตอนที่ 17 การประเมินผลของแผน

การเข้าใจบริบทองค์กร เป็นข้อกำหนดในข้อ 4 ของมาตรฐาน ISO9001:2015  ซึ่งได้ระบุข้อกำหนดพื้นฐานในการจัดการธุรกิจ ตามขั้นตอนที่ 1-8 ด้านบนนี้

องค์กรที่ได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 จะเป็นองค์กรที่มีการจัดการบริหารธุรกิจ ไม่ใช่แค่ทำ ISO !

เพราะเป็นเรื่องการจัดการธุรกิจ จึงเป็นเรื่องของคนที่ต้องรู้วิธีการจัดกาีรธุรกิจเป็นอย่างดี  ไม่ใช่เรื่องของคนที่ต้องรู้ข้อกำหนด ISO เป็นอย่างดี

สรุป การทำความเข้าใจองค์กรเป็นเรื่องธรรมดามากๆในการบริหารจัดการองค์กรทั่วไป เพี่ยงแต่ได้นำมาเป็นข้อกำหนดชัดๆเท่านั้น

 

ข้อกำหนด ISO9001:2015 (CD) ข้อ "4.1 การทำความเข้าใจองค์กรและบริบทขององค์กร" สำคัญอย่างไร

- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=344&pageid=15&read=true&count=true#sthash.MF5cpMAJ.dpuf

1. สำคัญเพราะ ISO 9001:2015 ให้ท่านต้องพิจารณา เพราะสิ่งที่ท่านพิจารณากำหนดรู้นี้ จะถูกนำไปใช้ในการกำหนดขอบเขตของระบบบริหารจัดการตามข้อกำหนด ISO9001:2015 ข้อ 4.3 "การพิจารณากำหนดขอบเขตของระบบบริหารคุณภาพ" เพื่อที่ท่านและผู้ตรวจประเมินของท่านได้พิจารณาตัดสินใจว่าจะทำระบบการจัดการที่หน่วยงานใดบ้าง สถานประกอบการใดบ้าง กระบวนการใดบ้าง เช่น จะครอบคลุมถึง การกระจายสินค้า หรือขนส่งหรือไม่ หรือเพียงครอบคลุมการผลิตก็เพียงพอเป็นต้น

(หมายความว่าต่้อไปจะทำระบบอย่างไร ให้ขอบเขตการรับรอง ครอบคลุมแค่ไหนก็ให้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านธุรกิจด้วย ซึ่งตามมาตรฐาน ISO9001:2008 นั้นไม่ได้ระบุข้อกำหนดนี้ไว้ เมื่อไม่กำหนดไว้อยากทำระบบให้ครอบคลุมขอบเขตใดๆก็ได้ แต่มาตรฐานฉบับนี้คงทำตามใจอยากเช่นนั้นไม่ได้อีก ข้อกำหนด ISO9001:2015 ข้อ 4.1 นี้ ต้องการให้ท่านคำนึงถึงความพึงพอใจลูกค้า คู่แข่ง สภาพเศรษฐกิจ จุดแข็งจุดอ่อน เงินทุน โอกาส ของการดำเนินธุรกิจ ในการกำหนดกรอบของขอบเขตการรับรอง

ผู้ตรวจประเมินสามารถที่ตั้งคำถามกับท่านในเรื่องความจำเป็นธุรกิจของท่านกับกรอบรับรองระบบ!

2. สำคัญเพราะสิ่งที่ท่านพิจารณากำหนดนี้จะถูกนำไปใช้ในการ กำหนดความเสี่ยงและโอกาสในการวางแผนขั้นตอน วิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน กติกาในการทำงาน สิ่งที่ไม่ควรทำ สิ่งที่ต้องรีบทำ สิ่งที่รอก่อน ตามข้อกำหนด ISO9001:2015 ข้อ 6.1 "การดำเนินการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงและโอกาส"

3. สำคัญเพราะสิ่งที่ท่านพิจารณากำหนดนี้หลังจากนำไปใช้ในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ความเร่งด่วน ในมุมมองต่างๆแล้ว จะถูกนำไปใช้ในการกำหนดสิ่งที่องค์กรต้องทำ ตามข้อกำหนด 8.1 . การวางแผนและการควบคุม การดำเนินการ"

9001-2015-flow

 

ท่านจะเห็นได้ว่าข้อกำหนด มาตรฐาน ISO9001:2015 ได้เรียบเรียง เทียบเคียงกับขั้นตอนพื้นฐานในการจัดการธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง

 

ต้องกำหนดปัจจัยภายนอก ภายใน มากน้อยขนาดไหน

ข้อกำหนด ISO9001:2015 ระบุว่า องค์กรต้องพิจารณากำหนดปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์และทิศทางของกลยุทธ์ และที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบรรลุผลลัพธ์ ตามเจตนาของระบบบริหารคุณภาพ.

ด้วยเหตุผลนี้

ปัจจัยทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับองค์กรท่านทุกอย่าง(เท่าที่สมองคิดได้และจำเป็น)ในสองกรอบนี้ต้องได้รับการพิจารณา

9001-2015-link

 ปกติเรามีการพิจารณาปัจจัยภายนอกภายในหรือไม่

คงเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมากหากองค์กรท่านไม่เคยคำนึงถึงปัจจัยภายนอกหรือภายในในการดำเนินธุรกิจ

หากท่านอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ มักต้องทำเรื่องนี้ก่อนทำแผนธุรกิจก่อตั้งสถานประกอบการ และ ระหว่างการทำ แผนธุรกิจประจำปีเป็นเอกสารเป็นเรื่องเป็นระบบ เป็นหลักฐานเอกสารชัดเจน

บางองค์กรอาจทำการวิเคราะห์ SWOT เป็นกิจวัตรประจำปี

และมีบางองค์กร เป็นองค์กรขนาดเล็ก ที่มักคิดเรื่องนี้ทุกวัน ทั้งวัน ก่อนนอนและหลังอาหารโดยผู้ประกอบการ

และมีบางองค์กรที่จะระบุการพูดคุย คิดเห็นเรื่องนี้ในเอกสารที่ต้องส่งให้ผู้ถือหุ้น

และบางองค์กรที่จะระบุเรื่องนี้ในการประชุมทบทวนผู้บริหารจริงๆขององค์กร สำหรับ ผู้ที่ได้รับรอง ISO9001:2008 ส่วนมาก  เกือบ 100%มีแต่การประชุมทบทวนผู้บริหารสำหรับ ISO แต่ไม่มีการประชุมทบทวนผู้บริหารจริงๆ ไว้เป็นเอกสาร (หมายเหตุ มาตรฐาน ISO9001:2008 ไม่ได้ต้องการให้เป็นเช่นนี้ )

 

อะไรคือ ปัจจัยภายนอก ภายในที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร

ท่านคงต้องพยายามเข้าใจว่า ทุกธุรกิจมีความเสี่ยงทุกขณะ ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน

ปัจจัยภายนอกเช่น ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยผันผวน อัตราเงินเฟ้อ การสไตค์การประท้วง การจลาจล ภัยธรรมชาติ มีคู่แข่งใหม่ในตลาด การเปิดการค้าเสรี มีประกาศกฎหมายใหม่เรื่องใบอนุญาต ทำให้มีสินค้าจากต่างประเทศมาแข่งขัน น้ำท่วมทำให้ไม่มีวัตถุดิบหรือทำให้หายาก คู่แข่งมีราคาต่ำกว่าจนเห็นได้ชัดปัญหาวัตถุดิบจากฤดูกาล ลูกค้ามีอำนาจต่อรองสูง ผู้รับเหมาไม่มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยภายในเช่น เครื่องจักรอุปกรณ์ไม่มีประสิทธิภาพ สิ่งปลูกสร้างผิดแบบ คุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่ดี เงินสดหมุนเวียน การขาดแคลนคน

 

รู้เรื่องนี้ไปทำไม

ในการจัดวางระบบบริหาร คุณจำเป็นต้องทราบว่ามีอะไรบ้างที่ส่งผลต่อสถานประกอบการ ต่อความสามารถในการแข่งขัน  คุณจำเป็นตอ้งรู้ต้องตระหนักถึงปัจจัยผลกระทบเหล่านี้เพื่อหามาตรการรองรับแผนการรองรับเพื่อกำหนดมาตรการควบคุม มาตรการในการลดความเสี่ยง หรือเสริมความแข็งแกร่ง มีระบบที่ดีในการจัดการกับ จุดแข็ง จุดอ่อน จุดขาย จุดตาย จุดสลบขององค์กร  องค์กรจำต้องเข้าใจว่าจะลดหรือเพิ่มการผลิตดี  ถึงเวลาต้องหาผลิตภัณฑ์ใหม่มาทดแทน แล้วกลยุทธ์ที่จะใช้ในการบริหาร ระบบที่ต้องมีเพิ่มหรือลดลง ระบบ QMS ต้องเน้นเรื่องใด ต้องให้ความสำคัญกับอะไร อะไรที่ควรต้องควบคุม อะไรที่ไม่ต้อง

 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำเรื่องใดก่อนหลัง

ก็ต้องทำการวิเคราะห์กำหนดความเสี่ยงและโอกาสก่อน หลังจากนั้นทำการประเมินความเสี่ยงและโอกาส ว่ามีมากน้อย จัดมาเรียบเรียง ท่านก็จะได้รู้ว่าเรื่องใดทำก่อน เรื่องใดทำหลัง เรื่องไหนน่าทำเรื่องไหนไม่ควรทำ เรื่องใดรอได้เก็บไว้ก่อน หรืออาจใช้การจัดลำดับความสำคัญตามตัวอย่างตารางข้างล่างนี้ หรือไม่ก็แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องให้คำตอบกับทุกฝ่าย

 

อะไรคือ intended Outcome ของระบบบริหารคุณภาพ

อันนี้ท่านต้องถามผู้บริหารสูงสุดขององค์กรท่าน ว่าอยากได้อะไรจากระบบบริหารคุณภาพบ้าง อยากปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรในองค์กร แล้วระบบได้สร้างประโยชน์อะไรให้บ้าง ได้ดังใจใหม ระบบได้ถูกใช้ในการลดต้นทุน ระบบได้ช่วยให้มีการลดงาน ให้คนงานมีขวัญกำลังใจ ได้มีโอกาสในการปรับปรุง ลดการผิดพลาดซ้ำๆ ลดความเสี่ยง ลดเวลาในการทำงานการผลิต ระบบได้ช่วยให้เพิ่มสมรรถนะในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสในตลาดใหม่หรือไม่อย่างไรเป็นต้น

 

สรุป

คุณต้องทำการวิเคราะห์ภายนอก โดยการวิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์คู่แข่ง วิเคราะห์ผู้ส่งมอบ วิเคราะห์ชุมชน วิเคราะห์ภาครัฐ ผู้เข้ามาใหม่ ชุมชนท้องถิ่น ซัพพลายเออร์ ผู้บริโภค คู่แข่งขัน

มองในประเด็นภาพบวกและลบ โอกาสและอุปสรรค เช่น มองมุมของ อำนาจการต่อรองผู้ซื้อหรือลูกค้า อำนาจต่อรองผู้ขายหรือsupplier ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน แรงกดดันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การออกกฏหมายควบคุมกิจการบางประเภท

วิเคราะห์ปัจจัยภายใน เช่น กำลังคน เครื่องจักร การกระจายสินค้า เทคนิค วิธีการการ แบรนดสินค้า การตลาด การกระจาย เงินทุน

หลังจากนั้นก็กำหนด ความน่าจะเป็น โอกาส อุปสรรค ความเป็นไปได้ ความเสี่ยงต่างๆที่มี สิ่งที่ต้องปรับปรุง ปรับเปลี่ยน สิ่งทีต้องเก็บรักษาธำรงรักษา

 

 

*หมายเหตุตามข้อ ISO9001:2015 ข้อ 6.1

ประเด็นปัจจัยใดที่มีผลช่วยให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์กิจการได้ง่ายขึ้น เช่นมียอดขายเพิ่มขึ้น มีกำไรดีขึ้น มีส่วนแบ่งตลาดสูงขึ้น เรียกว่าเป็นประเด็นที่เอื้อให้เกิดโอกาสแก่องค์กร

ในทางตรงข้าม ประเด็นปัจจัยใดที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่องค์กร ทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ยากขึ้น เรียกประเด็นปัจจัยนี้เป็นภัยคุกคาม

 

 

ดาวน์โหลด : ตัวอย่างการวิเคราะห์ธุรกิจ การทำ SWOT สำหรับ กลุ่มอุตสาหกรรมรายสาขา ( Cluster) / การทำความเข้าใจบริบท ปัจจัยภายนอกภายใน

 

 

 END