Login Form

Design VS ข้อร้องเรียนลูกค้า

ข้อมูลจากลูกค้า หลังจากใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาองค์กรและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ข้อมูลนี้ชี้ความเป็นตายขององค์กร ชี้ได้ว่าคุณจะรอดหรือคู่แข่งคุณจะรอด ................

หน่วยงานควบคุมคุณภาพ หรือผู้จัดการผลิตภัณฑ์มักเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลประเภทนี้ ซึ่งหากมีระบบในการจัดเก็บข้อมูลที่ดี และใส่ใจในการวิเคราะห์จะช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และองค์กรเป็นอย่างยิ่ง
หากข้อมูลมีขนาดใหญ่มาก อาจต้องทำการสุ่มหรือแยกประเภท โดยอาจละเลยข้อร้องเรียนบางชนิด ตามวัตถุประสงค์ที่เราศึกษา เช่น

แยกตามหมวดหมู่การศึกษา การใช้ผลิตภัณฑ์ผิดวัตถุประสงค์ หมวดการร้องขอหามีคุณลักษณะใหม่ๆ หมวดปัญหาผลิตภัณฑ์จากการใช้งาน หมวดปัญหาจากการติดตั้ง หมวดปัญหาหลังจากการทำการซ่อมบำรุงที่ผิดพลาดเราอาจแบ่งแยกข้อมูลโดยอ้างอิง กฎหมายเรื่อง Product Liability เป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อเกิดความเสียหาย บาดเจ็บ ซึ่งความรับผิดชอบนั้นเกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องหลักๆ 3 ลักษณะ คือ ข้อบกพร่องจากการผลิต (manufacture Defect) ข้อบกพร่องจากการออกแบบ (Design Defect) ข้อบกพร่องจากคำเตือน (warning Defect)เราอาจแบ่งแยกข้อมูลตามระยะเวลาที่ลูกค้าใช้งาน ภายใน 1 ปี ภายใน 3 เดือน ภายในระยะรับประกัน เป็นต้นแบ่งแยกข้อมูลตาม ประเภท เช่น ความต้องการลูกค้า (หอบหิ้วง่าย คันเร่งตอบสนองได้ดี พวงมาลัยบังคับง่าย ขับขี่สะดวก) ตามหน้าที่ในการทำงาน (อัตราเร่ง หน้าต่างเปิด มีแบตสำรอง ฟังMP3 ได้ กันน้ำได้ เพิ่มหน่วนความจำได้) ตามความน่าเชื่อถือ (ไม่แฮ้งค์บ่อยๆ ไม่ต้องเข้าศูนย์บ่อย ไม่ต้องรอนานเกิน 1 นาที)  หรือแบ่งแยกข้อมูล ตาม รูปลักษณะ (Features)  คุณภาพการทำงาน (Performance quality) ความทนทาน (Durability) ความไว้ใจได้ (Reliability) ความสามารถซ่อมแซมได้ (Repair ability)

บทความนี้สั้น ดังนั้นอนุญาติให้คุณอ่านหลายๆรอบ ก่อนตัดสินใจวางแผนเก็บข้อมูล เรื่องการวางแผนเก็บข้อมูลหากวางไม่ดี กลับมาเก็บใหม่ วุ่นพอดูและเหนื่อยปางตาย.... ไม่เชื่อลองดู!

-- END --

 

บทความใกล้เคียง

Online

มี 20 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์