Login Form

การสรรหาคนมาร่วมงาน

สิ่งที่มักจะเกิดจากการสัมภาษณ์งาน คือ  กรรมการสัมภาษณ์แต่ละท่านต่างก็จะมีสไตล์ในการถาม หรือมุมมองของผู้สมัครงานที่แตกต่างกันไป สิ่ง ที่ตรงกันอย่างหนึ่งก็คือ กรรมการสัมภาษณ์ทุกคนต้องการข้อมูลจากผู้สมัครงานที่ตนเห็นว่าจะเป็นเกณฑ์ ที่สำคัญ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจเปรียบเทียบในระหว่างผู้สมัครงาน

กรรมการสัมภาษณ์มักจะมีมุมมองหรือให้น้ำหนัก (Criteria)แตกต่างกันไปตาม แต่ประสบการณ์พื้นฐานของแต่ละคน ดังนั้น กรรมการสัมภาษณ์มักจะตัดสินความพอใจได้ในระยะ 5 นาทีแรกส่วนเวลาที่เหลือเป็นแค่การเสริมความมั่นใจให้กับการตัดสินใจเท่า นั้น

ในทางกลับกัน ผู้สมัครก็ควรจะทำให้กรรมการสัมภาษณ์พอใจให้ได้ใน 5 นาทีแรกของการสัมภาษณ์ ส่วนเวลาที่เหลือจะถูกใช้ในการตอบคำถามเพื่อลดความลำเอียง(Bias)ของกรรมการ เป็นส่วนใหญ่

เนื่องจากการสัมภาษณ์เป็นระบบ แพ้คัดออก กรรมการสัมภาษณ์จึงต้องการข้อมูลเชิงลบจากผู้สมัครเพื่อมายืนยันการตัดสินใจคัดผู้สมัครที่เห็นว่าไม่เหมาะสมออก

ประเด็นคำถามทั่วไปกับคำถามเพื่อการสัมภาษณ์

สิ่งที่กรรมการสัมภาษณ์มักจะถามผู้สมัครงานในเรื่องหลักๆ 5 เรื่องได้แก่

- คำถามเกี่ยวกับ ชีวิตและครอบครัวของผู้สมัครงาน
- การศึกษาและกิจกรรมระหว่างที่เรียน
- ประสบการณ์ทำงาน
- ทัศนคติตลอดจนการควบคุมอารมณ์
- เรื่องทั่วๆไป เช่นผู้สมัครสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าหรือไม่ งานอดิเรกเล่นกีฬาอะไร ความสำเร็จล้มเหลวที่ผ่านมาฯลฯ

หน้าที่ขององค์กร

องค์กรมีหน้าที่รวบรวมผู้ คนที่มีความคิดอ่านในแบบเดียวกันมาอยู่ร่วมกัน ยึดโยงให้ผู้คนมากทำงานร่วมกัน เพื่อภารกิจขององค์กรให้ถึงจุดหมาย และเชิญคนที่มีความคิดแตกต่างจากวิถีแนวทางขององค์กรให้ออกไป  เราต้องเลือกคนที่มีความรัก Passion ในสิ่งที่ตนเองทำ ความรักจะทำให้ผู้คนสร้างความเป็นเลิศให้กับสิ่งที่ทำ

 

การเลือกคน กระบวนการในการสรรหาคน ต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง ทัศนคติมากกว่าคำว่าประสบการณ์หรือฝีมือ เพราะสันดานหรือทัศนคติสอนกันไม่ได้ แต่ความรู้ทักษะ สามารถขัดเกลา ฝึกฝน เพิ่มเสริมเติมแต่งภายหลังได้

ในเมื่อการคัดคน เข้าร่วมองค์กรมีความจำเป็นขนาดนี้ คำถามที่ท่านต้องถามตัวเองคือ ท่าน จะสร้างมาตรฐานในการคัดกรองให้มีเฉพาะคนดีๆ ให้อยู่ในองค์กรท่านได้อย่างไร ? ( รวมถึงช่วยให้ลูกน้องท่าน ที่ซึ่งทำหน้าที่คัดกรอง จะได้คัดกรองคนได้ถูกใจท่าน! ) 
 

การกำหนดมาตรฐานคน

บริษัทท่านจะมีมาตรฐานต่อเมื่อคนของท่านได้มาตรฐาน การจะบอกได้ว่าองค์กรท่านมีมาตรฐานหรือไม่มีมาตรฐาน ท่านต้องกำหนดเสป็คคนของท่านให้ได้เสียก่อน

เรามักใข้เอกสารที่เรียกว่า JD ในการกำหนดมาตรฐานคนในองค์กรของคุณ

แต่เดิมองค์กรต่าง ๆ ก็คงต้องมี JD เพื่อบอกลักษณะของงานในแต่ละตำแหน่งงาน มักจะแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับชื่อของผู้ดำรงตำแหน่งงาน ระดับชั้น หน่วยงาน / แผนก / ฝ่าย
2. หน้าที่ และความรับผิดชอบของงาน โดยอธิบายไว้ว่างานใดจะใช้เวลาในการทำกี่เปอร์เซ็นต์ (เมื่อรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 100 %)
3. คุณสมบัติ คุณวุฒิทั่วไปของผู้ดำรงตำแหน่ง เช่น ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนี้ควรมีวุฒิ การศึกษาขั้นต่ำเท่าใด ต้องจบด้านใด อายุงานขั้นต่ำ ต้องเคยอบรมอะไรมาบ้าง ฯลฯ

ส่วนที่สำคัญที่สุดใน JD ก็คือ เรื่องของหน้าที่และความรับผิดชอบในงานตำแหน่งนั้นๆ มีงานอะไรจะต้องทำหรือรับผิดชอบบ้าง แต่เมื่อมีคำว่า Competency ตามข้อกำหนด ISO9001 เข้ามาเพิ่ม JD จะต้องเพิ่มส่วนที่ 4 คือส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนด ความรู้ และ ทักษะ ที่จำเป็นในการดำรงตำแหน่งงานนั้นๆ

ท่านสามารถกำหนด ทักษะต่างๆที่จำเป็น เข่น ทักษะในการเจรจาต่อรอง ทักษะในการเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะในการมองโอกาสในการปรับปรุง ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ ทักษะในการรับสิ่งแปลกใหม่ ทักษะในการทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้น เป็นต้น

หากท่านกำหนดความรู้ และ ทักษะนี้ได้ดี ท่้านสามารถลดความผิดพลาดที่ต้องจ่ายเงินแพงๆจาก การจ้่างคนที่ไม่ตรงตามสเป็คที่ท่านต้องการ อึดอัดทั้งท่านและคนที่ท่านรับมา และการไม่กำหนดให้ดีนี้ จะทำให้พนักงานของคุณมีความหลากหลาย เนื่องจาก นิยามการเป็นคนดี คนเก่ง ที่แตกต่าง ของแต่ละผู้จัดการ....ของท่าน

 

ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ISO 9001:2008, 6.2.1 & 6.2.2 

END

Online

มี 20 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์