Login Form

บันทึกการสื่อสารภายนอก ISO22000

การสื่อสารตลอดห่วงโซ่อาหาร เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการก่อให้เกิดประสิทธิผลรวมด้านความปลอดภัยใน อาหาร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เพียงพอต่อความปลอดภัยของอาหารนั้น ได้มีอยู่ /ได้สื่อสาร /ได้ส่งต่อ ตลอดห่วงโซ่อาหาร โดยองค์กรจะต้องจัดทำ นำไปใช้และรักษาไว้ซึ่งประสิทธิผลของการดำเนินการสื่อสารภายนอก โดยหลักฐานที่สนับสนุนว่าการดำเนินการดังกล่าวได้ถูกกระทำอย่างมีประสิทธิผล จึงต้องมีบันทึกไว้ มารู้จักกับบันทึกแต่ละส่วนที่เกิดจากการสื่อสารภายนอก ( External Comunication)

ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO22000

เนื่องจากองค์กรมีการสื่อสารกับภายนอกมากมาย การสื่อสารภายนอกแบบไหนที่มาตรฐาน ISO22000 สนใจ 

สนใจการสื่อสารข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความปลอดภัยในอาหารในผลิตภัณฑ์ของตนกับองค์กรอื่นในห่วงโซ่อาหาร  มาตรฐาน ISO 22000 ข้อ 5.6.1 " Such communication shall provide information on food safety aspects of the organization's products that may be relevant to other organizations in the food chain" แปลว่าการสื่อสารเน้นๆ กับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ อันตรายด้านอาหารที่จำเป็นต้องควบคุมโดยองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร  มาตรฐาน ISO 22000 ข้อ 5.6.1

 

ประเภทการสื่อสารและตัวอย่างบันทึกตามความหมาย ISO22000

1) สื่อสารกับผู้ขาย/ ผู้รับเหมา 

ใน ด้านของอันตรายด้านความปลอดภัยของอาหาร ที่มีอยู่/ที่อาจจะปนเปื้อนจากผู้ขายหรือจากผู้รับเหมา เมื่อได้ส่งวัตถุดิบเข้าโรงงาน หรือส่งสินค้าภายใต้ Brand ของคุณเอง ซึ่งสามารถกระทำได้ผ่านทางหน่วยงานจัดซื้อ หน่วยงานการตรวจรับวัตถดิบ แล้วแต่ข้อมูลที่ต้องส่ง รวมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบที่จะมีหน้าที่สื่อสารเรื่องนี้ เช่น หากเราส่งสินค้าเข้า EU ซึ่งตัวอย่างที่เขามีการ update Commission Regulation (EU) No 165/2010ปรับเพิ่มค่า MRLs ของสารอัลฟาทอกซินในสินค้าถั่วบางรายการ almonds, hazelnuts, pistachios, hazelnuts, Brazil nuts, tree nuts  

-       การปรับ spec ใหม่ ร่วมกันระหว่างคุณกับผู้ขาย
-       การประชุมชี้แจงกับผู้ขายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของคุณ
-       การส่ง e-mail ให้กับผู้ขายถึงการปรับเปลี่ยนค่า MRLs ของถั่วตาม EU No. 165/2010
-       การไป ทำ supplier audit แล้วมีการซักถาม ถึงการดำเนินการของผู้ขาย
 

2 )     การสื่อสารกับลูกค้าหรือผู้บริโภรวมถึงการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

เช่น บริโภคอย่างไร สภาวะของการจัดเก็บ อายุของผลิตภัณฑ์ ,การเสนอราคา , การทบทวนข้อตกลง  , ข้อมูลตอบกลับจากลูกค้ารวมทั้งข้อร้องเรียนต่างๆ

ตัวอย่างบันทึกสำหรับการสื่อสารนี้คือ
-  การสื่อสารด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ต่อลูกค้าก็เป็น specification ของสินค้าที่ได้มีการลงนามร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ค่าทางเคมี ค่าทางจุลิทรีย์ อายุสินค้า  อุณหภูมิที่ต้องเก็บสินค้า เป็นต้น สื่อสารต่อผู้บริโภคก็เช่น Nutrition facts / ฉลากสินค้าที่มีการระบุน้ำหนัก วันหมดอายุ ส่วนประกอบ ฉลากที่ระบุเรื่องของ Allergenic เป็นต้น
- ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ / Proforma Invoice เหล่านี้ก็ถือว่าเป็นบันทึก ในแง่ของการทบทวนความต้องการ
-  การออกใบข้อร้องเรียนจากลูกค้า แล้วผู้เกี่ยวข้องกับส่ง e-mail แจ้งถึงสาเหตุ การดำเนินการแก้ไข พร้อมรูปถ่าย นี้ก็เป็นบันทึกเช่นเดียวกัน
 
      

3)    สื่อสารในแง่ของกฎหมาย /หน่วยงานราชการ หรือองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 

เช่น ใบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก (ร.3/ร.4) การออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ (ร.4), หรือรูปแบบ เพื่อเตรียมพร้อมการรองรับระดับสาธารณะ ในด้านความปลอดภัยของอาหาร และให้มีความเชื่อมั่นต่อองค์กร เช่น มีการตรวจพบสาร Melanine ในผลิตภัณฑ์ที่เป็นนมผงเป็น ต้น การสื่อสารกับ อย. ถึงความระดับควาปลอดภัยเช่น ใบรับรองถึงการปลอดสารเมลานิน การรับรองแหล่งที่มาของวัตถุดิบ การส่งสินค้าตรวจ หลังจากนั้นส่งข้อมูลเพื่อยืนยันกับราชการ  ในแง่ Public นั้น ก็อาจจะเป็นการออกข่าว ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงระดับความปลอดภัยองค์กร การแสดงหลักฐานที่ระบุได้ว่าคุณไม่มีสารปนเปื้อนดังกล่าว เหล่านี้ก็ถือเป็นบันทึกเช่นกัน
 
การ สื่อสารกับโรงงานข้างๆ ที่เป็นโรงผลิตสารเคมี ในแง่ของการอันตรายที่อาจเกิดจากการผลิต การฟุ้งกระจายของสารเคมี ที่อาจปนเปื้อน จดหมายแจ้ง หรือส่งเจ้าหน้าที่ จป.ของท่านไปประชุมร่วมกันเป็นต้น
 
การ สื่อสารเมื่อเกิดกรณีของการคืนสินค้าเนื่องจากการพบสารเคมีตกค้างเกินมาตรา ฐาน  การแจ้งให้หน่วยราชการมาร่วมทำการ ดำเนินการวิเคราะห์หาสาเหตุร่วมกัน เป็น ต้น
ข้อมูลต่างๆที่สนับสนุนว่าได้มีการดำเนินการจริงนั้นคือเป็นบันทึกที่ถือว่าเป็นการสื่อสาร ไมว่าจะเป็นรายงานการประชุม ผลตรวจต่างๆ
 
 
 

บทความใกล้เคียง

Online

มี 16 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์