Login Form

การออกแบบระบบตรวจเฝ้าระวัง HACCP (MONITORING SYSTEM) - ใครจะตรวจเฝ้าระวัง ( Monitoring)?

ใครจะตรวจเฝ้าระวัง ( Monitoring)?

 ในการจัดทำแผน HACCP ต้องมีการกำหนดความรับผิดชอบในการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring) บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ในการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring) CCPs นี้อาจเป็น :

 

  • บุคลากรในสายการผลิต
  • ผู้ควบคุมอุปกรณ์การผลิต
  • หัวหน้างาน
  • พนักงานซ่อมบำรุงรักษา
  • ผู้ตรวจสอบ

ทันที ที่ได้กำหนดให้ผู้ใดมีหน้าที่ในการตรวจเฝ้าติดตาม CCP ต้องมีการกำหนด :

  •  ต้องได้รับการอบรมอย่างเพียงพอใน เทคนิคการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring) สำหรับ CCP นั้นๆ
  • ต้องเข้าใจ ตระหนักถึง ความสำคัญของการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring)
  • มีอำนาจเต็ม ในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการตรวจเฝ้าระวังนั้นๆ
  • มีหน้าที่ในการรายงานผลการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring) อย่างตรงไปตรงมา
  • มีหน้าที่ในการกระทำการสิ่งใด กรณีที่เกิดการเบี่ยงเบน ตามที่กำหนดในแผน HACCP
  • เมื่อพบการเบี่ยงเบน ค่าวิกฤติ ( Critical Limit) ต้องรายงานโดนทันที  

สิ่งสำคัญในเรื่องนี้ คือบุคคลที่รับผิดชอบ ต้องรายงานสภาพที่เกิดขึ้น ไม่ว่าสภาพที่ผิดปกติ หรือการเกิดการเบี่ยงเบนจากค่าวิกฤติ ( Critical Limit)โดยทันที เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการและการดำเนินการแก้ไขใน เวลาที่เหมาะสม
ต้องมีการบันทึกผลการตรวจเฝ้าระวัง ( monitoring) และผลสืบเนื่องกับ CCPs บันทึกนี้ ต้องได้รับการตรวจทานลงนามโดยผู้ทีมีอำนาจอีกชั้นหนึ่ง (verify)

สรุป

การ monitoring ระบบ จัดเป็นขั้นตอนสำคัญที่ให้มั่นใจว่าระบบเดินไปตามแผน ที่วางไว้และสามารถกำกับดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้ค่าวิกฤติ เบี่ยงเบนไปจากค่าที่กำหนด หากระบบนี้เข้มแข็งโอกาสที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งองค์กรต้อง

  1. ต้องมีการกำกับดูแลทุกจุดที่เป็น CCP ไม่ให้ค่าเกินวิกฤติที่กำหนดไว้
  2. ต้องมีการจดบันทึก และลงนามโดยผู้ปฏิบัติ รวมถึงการทวนสอบโดยผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นหลักฐานการกำกับดูแล
  3. การ monitoring นีั้ต้องใช้วิธีการที่สะดวกรวดเร็ว เช่นการวัดค่า pH การวัดอุณหภูมิ เวลาในการฆ่าเชื้อ การใช้ rapid test kit ซึ่งทำให้ทราบค่าตรงนั้นอย่างรวดเร็ว
  4. การ monitor ควรมีข้อแนะนำแนวทางที่ชัดเจนในลักษณะ 4W+1H อะไร ที่ไหน อย่างไร ใครเป็นผู้ทำ ความถี่แค่ไหน เพื่อให้แน่ใจว่าจุดวกฤติอยู่ภายใต้การควบคุม
  5. ระบบทีดีจะมีการตั้งค่า monitor เป็น operation limit (OL) ซึ่งเป็นค่าปลอดภัยกว่าค่า CL เล็กน้อย เืพื่อลดความเสี่ยง
  6. หัวใจสำคัญอยู่ที่บุคลากรที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวข้อง ต้องได้รับการอบรมในเป้าหมายการปฏิบัติงานตรงนั้น การบันทึีก รวมถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติกรณีเกิดการเบี่ยงเบน
  7. ธรรมชาติของการ monitor แตกต่างกันตามลักษระ CCP เช่นหากเป็น metal detector อาจเป็นทุกๆครึ่งชั่วโมง ในขณะที่ pesticide ในผักผลไม้ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล อาจทดสอบตามช่วงฤดูกาล เป็นต้น
  8. เครื่องมือที่ใช้ monitor ต้องได้รับการสอบเทียบ
  9. การ monitor ที่ดีต้องสามารถ ทำให้ข้อมุลอยู่ในรูปแบบที่สามารถมองเห็นแนวโน้มของการเสียการควบคุมที่จุดวิกฤติได้ด้วย 
     

วิธีการจัดทำการจุดติดตาม


1 จัดทำโปรแกรมการสังเกตและการตรวจวัด ทั้งนี้ต้องอธิบายวิธีการตรวจวัดอย่างชัดเจน,ความถี่ในการสังเกต หรือการตรวจวัด พร้อมทั้งวิธีการบันทึก
2 การสังเกตและการตรวจวัดนั้น จะต้องสามารถตรวจสอบความล้มเหลวในการควบคุม ณ จุดวิกฤตนั้น ๆ ได้ และมีข้อมูลสำหรับการปรับแก้ไข
3 จะต้องกำหนดความถี่ในการดำเนินการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื้อถือและมีความมั่นใจในการนำไปใช้ปรับแก้ไขได้ต่อไป
4 โปรแกรมดังกล่าวจะต้องเขียนชัดเจนและต้องสามารถตรวจสอบความแม่นยำ ณ จุดวิกฤตนั้น ๆ โดยมีปัจจัยเกี่ยวกับ

(1) ใครเป็นผู้ตรวจสอบหรือตรวจวัด
(2) จะทำการตรวจสอบหรือตรวจวัดหรือสังเกตอะไรบ้าง
(3) จะตรวจสอบ/หรือตรวจวัดเมื่อใด
(4) มีวิธีการดำเนินการอย่างไร

5 การตรวจสอบติดตามจะต้องดำเนินการอย่างเร็ว ไม่ยุ่งยากหรือจะต้องใช้ห้องปฏิบัติการทุกครั้ง เช่น ไม่นิยมวิเคราะห์จุลินทรีย์ในห้องปฏิบัติการเพราะใช้เวลานานเกินไป แต่นิยมใช้วิธีทางกายภาพหรือทางเคมี หรือปราสาทสัมผัสมากกว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบติดตามทางด้านจุลินทรีย์ นอกจากนั้นโปรแกรมต่าง ๆ ที่จัดทำไว้นั้นต้องผ่านการประเมินของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม เพื่อจะได้พิจารณาวิธีการปรับแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ต่อไป

END


 

บทความใกล้เคียง

Online

มี 52 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์