Login Form

เครื่องตรวจจับโลหะ สำหรับผู้ขอการรับรอง BRC

เครื่องตรวจจับโลหะ สำหรับผู้ขอการรับรอง BRC

หลักจากมีการปรับเปลี่ยน Issue เป็น Version 6 มีหลายๆส่วนที่เปลี่ยนแปลง เรื่องที่มองมาเป็นเรื่องใหญ่พอสมควรสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือ เรื่องเครื่องตรวจจับโลหะ ซึ่งหลายที่มองว่าค่อยยิ้มได้หน่อยสำหรับในทางปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นส่วนไหนลองมาเริ่มดูกัน

1.    การควบคุมโลหะ (ข้อกำหนด 4.9.2)

เริ่มจากข้อกำหนดบอกว่า สิ่งที่โรงงานใช้ซึ่งมีลักษณะแหลมคม เช่น มีด เข็ม ลวดเย็บหรือคลิปหนีบต่างๆ ต้องมีการจัดทำนโยบายและบันทึกเพื่อลดโอกาสในการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ ด้านการแตกหักเสียหายใดๆ หรือการปนเปื้อนเศษโลหะได้ ซึ่งนโยบายหรือมาตรการดังกล่าวรวมถึง

  • การควบคุมภายในพื้นที่ผลิต
  • ขั้นตอนการตรวจสอบสภาพและการรายงานการสูญหาย
  • การควบคุมอื่น ๆ เช่น ใบมีดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต อุปกรณ์และเครื่องมือของช่างซ่อมบำรุง ประแจซ่อมเครื่องหากไม่ได้นำออก ต้องมีการเก็บแบบล็อค

ลวดเย็บและคลิปหนีบกระดาษต้องไม่ใช้ในพื้นที่เปิด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีการควบคุมและจัดการกับความเสี่ยงต่ออันตรายดังกล่าว ต้องมีการสื่อสารไปยังฝ่ายจัดซื้อให้รับทราบ

2 เครื่องมือการคัดแยกและตรวจจับสิ่งแปลกปลอม (ข้อกำหนด 4.10)

ชนิด, ที่ตั้ง และความไวของการตรวจจับต้องระบุเป็นเอกสาร โดยตำแหน่งที่วางเครื่องเป็นส่วนที่สำคัญ เนื่องจากมีผลต่อการตรวจจับ ซึ่งควรอยู่ในตำแหน่งสุดท้ายของของกระบวนการผลิตซึ่งรวมถึงขั้นตอนการ pack ด้วยเพื่อที่จะได้คลอบคลุมทั้งกระบวนการนั่นเอง ส่วนชิ้นทดสอบต้องประกอบด้วย ferrous, non-ferrous and stainless ขนาดตามแต่ ลักษณะส่วนผสม,วัตถุ , ผลิตภัณฑ์ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการบรรจุแล้ว ความถี่ในการตรวจจับสิ่งแปลกปลอมให้พิจารณาจาก

•ข้อกำหนดลูกค้า

•ความสามารถขององค์กรในการชี้บ่ง กัก และ ป้องกันการปล่อยวัสดุที่ได้รับผลกระทบจากเครื่องตรวจจับเมื่อเกิดการล้มเหลว

สำหรับการทวนสอบตามข้อกำหนด สามารถทำได้โดยการตรวจสอบความไว ณ สถานที่ตั้งนั้น นั่นเอง

3. รายละเอียดเครื่องตรวจจับโลหะ ( ข้อกำหนด 4.10.3.3)

สำหรับ Issue 6 นั้น เครื่องตรวจจับโลหะต้องมีระบบการ Reject อัตโนมัติ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เมื่อเกิดเหตุการไม่ปกติ โดยใช้ระบบการหยุดสายพาน ระบบการเตือนเมื่อเจอสิ่งผิดปกติ ซึ่ง

•หากเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็ก ต้องมีระบบการคัดออกแบบอัตโนมัติ ต้องแยกผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนออกจากสายการผลิตภัณฑ์ หรือแยกไปอยู่ในพื้นที่เฉพาะซึ่งเข้าถึงได้โดยบุคคลกรที่มีอำนาจหน้าที่เท่านั้น

•หากเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหญ่ Reject แบบอัตโนมัติไม่ได้ ใช้ระบบหยุดของสายพานพร้อมกับสัญญาณเตือน

•เมื่อมีการตรวจจับผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อน ต้อง มีการชี้บ่งสถานที่จัดเก็บและคัดแยกอย่างมีประสิทธิภาพ

หากเครื่องตรวจจับโลหะรวมกับสายพาน

•ชุดทดสอบต้องผ่านที่ตำแหน่งตรงกลางของสายพาน และเป็นไปได้ต้องใช้ชุดทดสอบใส่ด้านในตัวอย่างของถุงผลิตภัณฑ์ในขณะที่ทำการทดสอบ

•เมื่อเครื่องตรวจจับโลหะเป็นแบบ in line ผลิตแบบต่อเนื่องต้องใส่ชุดทดสอบในระบบการไหลของผลิตภัณฑ์

บริษัทต้องจัดทำและประยุกต์ใช้ปฏิบัติการแก้ไขรวมถึงระบบรายงาน เมื่อการทดสอบพบว่าเครื่องตรวจจับโลหะทำงานล้มเหลว  การแก้ไขต้องมีระบบการแยก การกักกัน และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ซ้ำจากการทดสอบครั้งล่าสุดด้วย

4.การใช้เครื่องตรวจจับโลหะตามข้อกำหนด(ข้อกำหนด 4.10.3.1)

ข้อกำหนดบอกว่า ต้องมีเครื่องตรวจจับโลหะ ยกเว้นแต่จะมีการประเมินความเสี่ยงไว้ว่าไม่ได้ช่วยปรับปรุงการป้องกันการปนเปื้อนโลหะจากผลิตภัณฑ์สุดท้าย นั้นแสดงให้เห็นว่าข้อกำหนดไม่ได้บังคับให้มีเครื่องตรวจจับโลหะ ว้าว.... ยิ้มเลยใช่ไหม แต่อย่าดีใจจนออกนอกหน้า คุณยังต้องประเมินความเสี่ยงหรือ ต้องมีอุปกรณ์อื่น, วิธีอื่นที่มีประสิทธิผลกว่า หรือวิธีในการป้องกัน (เช่น การใช้เอ็กซเรย์, การคัดขนาดละเอียด หรือการกรองผลิตภัณฑ์) ถ้าทำแล้วหรือมีเตรียมไว้แล้วเราก็สบายใจ.......

 

Online

มี 23 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์