Login Form

BRC Food Safety ข้อ 4 มาตรฐานสถานประกอบการ Part-2

ข้อกำหนด BRC Global Standard for Food Safety Ver 6 พร้อมแนวทางการเตรียมรับการตรวจประเมิน (จะทะยอยลง จนกว่าจะครบนะคะ แล้วรวมเล่มให้ ดาวน์โหลดที่หลังคะ)

บทความโดย This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

4.5

Utilities – water, ice, air and other gases สาธารณูปโภค น้ำ, น้ำแข็ง, อากาศ และ ก๊าซอื่น ๆ

of Intent

Utilities used within the production and storage areas shall be monitored to effectively control the risk of product contamination.

สาธารณูปโภคที่ใช้ในพื้นที่ผลิตและพื้นที่การจัดเก็บต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างมีประสิทธิผลในการควบคุมความเสี่ยงการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์

4.5.1

All water used as a raw material in the manufacture of processed food, the preparation of product, or for equipment or plant cleaning shall be supplied in sufficient quantity, be potable at point of use or pose no risk of contamination according to applicable legislation. The microbiological and chemical quality of water shall be analysed at least annually. The sampling points and frequency of analysis shall be based on risk, taking into account the source of the water, on-site storage and distribution facilities, previous sample history and usage.

น้ำที่ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการแปรรูปอาหาร, การเตรียมผลิตภัณฑ์, สำหรับเครื่องจักร หรือสำหรับการทำความสะอาดสถานประกอบการ ต้องมีปริมาณที่เพียงพอ ,เหมาะสมต่อการบริโภค ที่จุดใช้งาน หรือ ไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนตามกฎหมายที่ประยุกต์ใช้.การวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาและเคมีของน้ำต้องกระทำอย่างน้อยปีละครั้ง.จุดสุ่มตัวอย่างและความถี่ในการวิเคราะห์ ต้องอยู่บนพื้นฐานความเสี่ยง, โดยพิจารณาจากแหล่งที่มาของน้ำ,อุปกรณ์การจัดเก็บและแจกจ่าย, ประวัติของการตรวจตัวอย่างและการใช้.

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • ขอดูหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าน้ำที่ใช้ในโรงงานได้มาตรฐานตามที่กำหนด
  • การเก็บน้ำและส่งเข้ากระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • ผลวิเคราะห์น้ำด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ
  • มาตรฐานน้ำบริโภค

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ป้องกันการปนเปื้อนจากน้ำอื่นๆ เช่น น้ำที่ใช้ในห้องน้ำ
  • ท่อน้ำดื่มและท่อน้ำใช้ต้องได้รับระบุอย่างชัดเจนทั่วโรงงาน
  • ปลายท่อต้องไม่เป็น Dead end
  • ถังต้องทำจากวัสดุและขนาดที่เหมาะสม ไม่ให้น้ำที่เก็บขังนิ่ง

ป้องกันแสงและสัตว์พาหะได้

  • ต้องมีการทำความสะอาดถังตามความถี่แล้วแต่การประเมิน
  • ระบบการป้องกันการไหลย้อนกลับ
  • หากเป็นน้ำจากแหล่งส่วนตัวควรส่งวิเคราะห์ทุก 6 เดือน

4.5.2

An up-to-date plan shall be available of the water distribution system on site, including holding tanks, water treatment and water recycling as appropriate. The plan shall be used as a basis for water sampling and the management of water quality.

แผนที่เป็นปัจจุบันต้องมีอยู่สำหรับระบบการแจกจ่ายน้ำในสถานประกอบการ , รวมถึงถังจัดเก็บ,การปรับปรุงคุณภาพน้ำ และระบบการหมุนเวียนน้ำ ตามความเหมาะสม.แผนต้องใช้เป็นพื้นฐานในการสุ่มตัวอย่างน้ำและการจัดการคุณภาพน้ำ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินดูระบบน้ำที่ใช้ภายในโรงงาน ที่เก็บน้ำ

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แผนผังระบบน้ำ การแจกจ่าย และการเก็บ
  • แผนการสุ่มตัวอย่างน้ำ และผังจุดจ่ายน้ำ

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • หากมีน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ต้องผ่านการ treat เช่น น้ำหล่อเย็นกระป๋อง

4.5.3

Where legislation specifically permits the use of water which may not be potable for initial product cleaning (e.g. for the storage/washing of fish), the water shall meet the designated legal requirement for this operation.

หากข้อกฎหมายยอมรับการใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำดื่มในการทำความสะอาดผลิตภัณฑ์เบื้องต้น (เช่น สำหรับการจัดเก็บ/ล้างปลา), น้ำนั้นต้องสอดคล้องกับตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • ดูลักษณะและประเภทน้ำที่ใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องตามกฏหมาย

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • กฏหมายเรื่องน้ำที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • หากไม่ใช่น้ำที่เป็นน้ำดื่มต้องมีระบบการtreat เบื้องต้นที่เหมาะสม เช่น น้ำประปา เป็นต้น

4.5.4

Air, other gases and steam used directly in contact with or as an ingredient in products shall be monitored to ensure this does not represent a contamination risk. Compressed air used directly in contact with the product shall be filtered.

อากาศ, ก๊าซอื่น และไอน้ำที่สัมผัสโดยตรงหรือเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ต้องได้รับการเฝ้าระวังเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน.อากาศอัดที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์โดยตรงต้องได้รับการกรอง

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • ในการผลิตมีการใช้ อากาศ,ก๊าซอื่น หรือไอน้ำไหม หากมีควบคุมอย่างไร

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • Spec ของตัวกรอง
  • บันทึกการทำความสะอาดตัวกรอง

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • น้ำที่ใช้ผลิตไอน้ำต้องเป็นน้ำบริโภค
  • หากเป็นก๊าซที่สัมผัสกับอาหารโดยตรงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

หมายเหตุ: ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก British Compressed Air Socity (www.bcas.org.uk) และEuropean Industrial Gases Association (www.eiga.org)

4.6

Equipment เครื่องมือ อุปกรณ์

of Intent

All food processing equipment shall be suitable for the intended purpose and shall be used to minimise the risk of contamination of product.

อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ต้องได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมตามวัตถุประสงค์การใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์

4.6.1

All equipment shall be constructed of appropriate materials. The design and placement of equipment shall ensure it can be effectively cleaned and maintained.

อุปกรณ์เครื่องมือต้องสร้างจากวัสดุที่เหมาะสม การออกแบบและการจัดวางต้องมั่นใจว่าสามารถทำความสะอาดและการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินดู อุปกรณ์ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการผลิต

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ผิวต้องเรียบ ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ทนต่อการกัดกร่อน รอยต่อเรียบ ไม่สะสมของจุลินทรีย์ ง่ายแก่การทำความสะอาด
  • ไม่มีเหลี่ยม ไม่มีมุม หรือที่อับ
  • ถ้าเป็นโต๊ะต้องสูงจากพื้น 60 เซนติเมตร
  • การวางต้อง เข้าด้านล่าง ด้านใน และรอบ ๆ เพื่อทำความสะอาดและซ่อมบำรุง
  • อุปกรณ์ไม่วางไว้ใกล้อ่างล้างมือ,ถังขยะหรือ สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ

4.6.2

Equipment which is in direct contact with food shall be suitable for food contact and meet legal requirements where applicable.

อุปกรณ์ที่สัมผัสโดยตรงกับอาหารต้องเหมาะสมและสอดคล้องตามกฎหมาย

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินดู อุปกรณ์ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อเทียบกับ Cer/Spec

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • Certificate หรือ Specification ของวัสดุที่ใช้ เป็น food contract หรือ เป็นเกรดที่เหมาะสม เช่น สแตนเลส เป็นต้น

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • อุปกรณ์ที่สัมผัสอาหาร เช่น ถาด สายพาน เขียง เครื่องมือต้องสอดคล้องตาม material and articles intended to come in contact with food Regulation (EC) 1935/2004 หรือเทียบเท่า
  • หากไม่ออกแบบมาเป็น food contrac โดยเฉพาะ เช่น พลาสติก ต้องมีผล migration test

4.7

Maintenance การบำรุงรักษา

of Intent

An effective maintenance programme shall be in operation for plant and equipment to prevent contamination and reduce the potential for breakdowns.

โปรแกรมซ่อมบำรุงที่มีประสิทธิภาพต้องจัดการโรงงานและอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และลดการปนเปื้อนจากการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นได้

4.7.1

There shall be a documentedplanned maintenance schedule or condition monitoring system which includes all plant and processing equipment. The maintenance requirements shall be defined when commissioning new equipment.

ต้องมีแผนการซ่อมบำรุงที่ได้จัดทำเป็นเอกสาร หรือระบบการเฝ้าระวังสภาวะทั้งโรงงานและอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต ข้อกำหนดการซ่อมบำรุงต้องกำหนดรวมถึงเมื่อมีการใช้เครื่องจักรใหม่

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินดูเครื่องจักรหน้างาน + แผนและการทำตามแผน PM

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • แผน PM + บันทึกการซ่อมบำรุงที่ครอบคลุม
  • ประวัติของเครื่องจักรและข้อมูลแนวโน้มที่ผ่านมา
  • บันทึกการบำรุงและตามแผน PM

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • โครงสร้าง,ส่วนประกอบของอาคาร และเครื่องมือเครื่องจักรต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซม

4.7.2

In addition to any planned maintenance programme, where there is a risk of product contamination by foreign bodies arising from equipment damage, the equipment shall be inspected at predetermined intervals, inspection results documented and appropriate action taken.

นอกเหนือจากแผนการซ่อมบำรุงเพื่อการป้องกันแล้ว ในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์โดยสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ จากเครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีปัญหา เครื่องจักร อุปกรณ์ต้องถูกตรวจสอบตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด ผลการตรวจสอบต้องได้รับการบันทึก และมีการดำเนินการที่เหมาะสมกับเครื่องจักรอุปกรณ์ดังกล่าว

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • หากเกิดการเสียหายหรือไม่สามารถใช้การได้ของเครื่องจักรทำ?

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • ใบแจ้งซ่อม
  • ระเบียบปฏิบัติในการแจ้งซ่อม ข้อกำหนดเวลาในการซ่อม
  • บันทึกการซ่อม

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • งานซ่อมที่ค้างอยู่ เวลาในการซ่อมอย่านาน

4.7.3

Where temporary repairs are made, these shall be controlled to ensure the safety or legality of product is not jeopardised. These temporary measures shall be permanently repaired as soon as practicable and within a defined timescale.

ในกรณีที่มีการซ่อมชั่วคราว ต้องได้รับการควบคุมเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความถูกต้องตามกฎหมายของอาหารมาตรการซ่อมชั่วคราวนี้ ต้องได้รับการดำเนินการให้แล้วเสร็จทันทีที่เป็นไปได้ และต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการแล้วเสร็จ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • ดูเรื่องการซ่อมแบบฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถใช้งาน หรือรักษาสภาพในช่างเวลาหนึ่ง

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ต้องควบคุมการซ่อมชั่วคราว ไม่ให้เสี่ยงต่อผลิตภัณฑ์
  • อุปกรณ์ ต้องเหมาะสม เช่น ไม่ใช้เทปกาว
  • เริ่มซ่อมแบบถาวรทันที่ทำได้

4.7.4

The company shall ensure that the safety or legality of product is not jeopardised during maintenance and subsequent cleaning operations. Maintenance work shall be followed by a documented hygiene clearance procedure, which records that product contamination hazards have been removed from machinery and equipment.

บริษัทต้องมั่นใจว่าความปลอดภัยหรือความสอดคล้องตามกฎหมายของผลิตภัณฑ์ ต้องไม่เกิดผลกระทบจากการซ่อมบำรุงและการทำความสะอาด งานซ่อมบำรุงต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติสุขอนามัยและบันทึกการปนเปื้อนอันตรายที่ขจัดออกจากเครื่องจักรและอุปกรณ์

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • สังเกตุการซ่อมถ้ามี หรือขอดูมาตรการที่ใช้ในการควบคุมการซ่อม

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • ระเบียบปฏิบัติในการซ่อมบำรุง+เมื่อช่างเข้าไลน์
  • บันทึกการอนุมัติให้เข้าพื้นที่ที่จำเป็นต้องควบคุม
  • บันทึกการตรวจเช็คเครื่องมือ/อะไหล่ ก่อนและหลังเข้าไลน์
  • บันทึกการทำความสะอาดหลังซ่อม

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • การซ่อมและการบำรุงรักษาต้องทำโดยวิศวกรที่ได้รับการฝึกอบรมหรือผู้รับเหมาที่ผ่านการอนุมัติ หรือจากผู้ผลิตอุปกรณ์นั้น และได้รับการชี้แจงถึงมาตรการควบคุมภายในโรงงานแล้ว
  • ไม่ว่าช่างซ่อมบำรุงใดๆก่อนเข้าไลน์ต้องปฏิบัติตามหลัก GMP
  • กิจกรรมของช่างต้องได้รับการควบคุม ประเมินความเสี่ยงก่อนเริ่มงาน
  • ต้องมีการอนุมัติให้เข้าทำงานในพื้นที่ ซึ่งงานซ่อมนั้นมีความเสี่ยงต่อผลิตภัณฑ์ เช่น เชื่อม ตัด หรือเสี่ยงต่อผู้ช่อม เช่น พื้นที่อับอากาศ
  • ต้องไม่เชื่อม เจาะ ตอก หรือ บัดกรี กับอุปกรณ์ เครื่องจักรที่กำลังผลิต หรือติดกับพื้นที่ผลิต หากเลี่ยงไม่ได้ต้องมีการกั้นที่ถูกสุขลักษณะ
  • ก่อนนำเครื่องจักรเข้าพื้นที่ผลิต ต้องมีการทำความสะอาดหรือหุ้มก่อน หากเป็นพื้นที่ high risk ต้องฆ่าเชื้อก่อนเข้า

4.7.5

Materials used for equipment and plant maintenance and that pose a risk by direct or indirect contact with raw materials, intermediate and finished products, such as lubricating oil, shall be food grade.

วัสดุที่ใช้ในการซ่อมบำรุงและซ่อมแซมโรงงานที่มีอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น น้ำมันหล่อลื่น ทั้งหมดต้องเป็นเกรดอาหาร

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินดูวัสดุต่างๆ ที่มีหรือใช้ในการซ่อมบำรุง

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • Cer / ข้อมูลที่บอกว่าวัสดุนั้นเหมาะสมกับการใช้กับอาหาร
  • List วัสดุที่ใช้ในการซ่อมบำรุง

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • เครื่องมือที่ใช้ต้องสะอาด ได้รับการบำรุงรักษา เปลี่ยนเมื่อจำเป็น
  • น้ำมันหล่อลื่น จารบี สเปรย์กันสนิม ฯลฯ ต้องเป็นชนิดใช้กับโรงงานอาหาร

4.7.6

Engineering workshops shall be kept clean and tidy and controls shall be in place to prevent contamination risks to the product (e.g. provision of swarf mats at the entrance/exit of workshops).

พื้นที่ทำงานของหน่วยงานวิศวกรรมต้องสะอาด, เป็นระเบียบ และ ต้องได้รับการควบคุมเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์ เช่น จัดให้มีที่รองเศษโลหะในพื้นที่ที่เปิดตรงสู่บริเวณผลิตอาหาร

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินตรวจเช็คในห้องช่างซ่อมบำรุง

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • บันทึกการตรวจเช็คความสะอาดห้องช่าง

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • พื้นที่ทำงานของช่างและพื้นที่เก็บ โครงสร้างต้องถูกสุขลักษณะ และสะอาด อยู่ในโปรแกรมควบคุมสัตว์พาหะ และต้องไม่ใช้เก็บภาชนะบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์
  • ควรห่างจากพื้นที่ผลิต ถ้าทำไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับพื้นที่ผลิตต้องมีการจำกัดการเข้าออก
  • ควรมีพื้นที่และจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการล้างมือโดยเฉพาะสำหรับช่างภายในโรงงาน
  • ควบคุมเครื่องมือและอะไหล่ มีการบ่งชี้ และสอบสวนเมื่อพบเครื่องมือและอะไหล่สูญหาย
  • ระวังเครื่องมือและชิ้นส่วนเล็กๆ ต้องเก็บให้เป็นสัดส่วน และขณะนำเข้าไลน์ อาจทำเครื่องหมาย กระดานหรือถาดแม่เหล็ก เพื่อลดความเสี่ยง
  • จัดกล่องโลหะ/พลาสติกปิดล็อคได้เพื่อเก็บเครื่องมือการซ่อม

4.8

Staff facilities   สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพนักงาน

of Intent

Staff facilities shall be sufficient to accommodate the required number of personnel, and shall be designed and operated to minimise the risk of product contamination. The facilities shall be maintained in good and clean condition.

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพนักงานต้องมีปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนพนักงาน และต้องได้รับการออกแบบและดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลในสภาพที่ดีและสะอาด

4.8.1

Designated changing facilities shall be provided for all personnel, whether staff, visitor or contractor. These shall be sited to allow direct access to the production, packing or storage areas without recourse to any external area. Where this is not possible, a risk assessment shall be carried out and procedures implemented accordingly (e.g. the provision of cleaning facilities for footwear).

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายต้องได้รับการออกแบบและจัดให้มีไว้สำหรับพนักงานทุกคน รวมทั้งผู้เยี่ยมชมหรือผู้รับจ้าง โดยต้องอยู่ในพื้นที่ที่ให้มีการเข้าสู่พื้นที่ผลิต บรรจุหรือจัดเก็บได้โดยไม่กลับออกสู้ภายนอกอีกในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามนี้ได้ต้องมีการประเมินความเสี่ยงและมีระเบียบปฏิบัติในการดำเนินการ เช่น จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดรองเท้า เป็นต้น

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินดูและตรวจเช็คความเหมาะสมของอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนเข้าไลน์

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • กฏระเบียบในการปฏิบัติ สำหรับพนักงาน ผู้เยี่ยมชม และผู้รับจ้างช่าง

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • เตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องพัก ห้องน้ำ ตู้ล็อกเกอร์ และห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ให้เพียงพอ สะอาดและถูกสุขลักษณะ
  • แยกสิ่งอำนวยความสะดวกกับพื้นที่เสี่ยง เช่น พนักงานโรงเชือด พนักงานในไร่ เป็นต้น
  • ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าต้องไม่ทำให้พนักงานต้องเดินออกนอกไลน์หลังเปลี่ยนเสื้อและรองเท้าแล้ว สำหรับผู้เยี่ยมชม และผู้บริหารควรเป็นพื้นที่เดียวกัน
  • ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าควรมีอุปกรณ์สะท้อนเงา เพื่อให้พักงานตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกาย เช่น กระจกเงาที่ไม่ทำจากแก้ว เป็นต้น

4.8.2

Storage facilities of sufficient size to accommodate personal items shall be provided for all personnel who work in raw material handling, preparation, processing, packing and storage areas.

ที่เก็บของสำหรับพนักงานต้องมีขนาดพอเพียงสำหรับการจัดเก็บ และต้องจัดให้มีสำหรับพนักงานทุกคนที่ทำงานในพื้นที่จัดการวัตถุดิบ พื้นที่ผลิต จัดเตรียม บรรจุ และพื้นที่จัดเก็บ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินและตรวจเช็คตู้ล็อคเกอร์ ตู้เก็บอาหาร
  • การนำของใช้ส่วนตัวของพนักงานเข้ากระบวนการผลิต

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ต้องมีการจัดหาพื้นที่สำหรับการจัดเก็บของส่วนตัวแก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม เช่น ตู้ล็อคเกอร์
  • ที่เก็บของนั้น ควรอยู่ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือเก็บแล้วไม่เดินออกนอกไลน์ผลิต เก็บของแล้วจะได้เข้าสายการผลิตได้ทันที
  • ต้องสะอาด เป็นระเบียบ สภาพดี และไม่ใช้เก็บอาหาร
  • ควรลาดเอียงด้านบนและต้องยกสูงจากพื้น เพื่อป้องกันการสะสมขยะและทำความสะอาดง่าย
  • มีการตรวจเช็ค ตรวจประเมิน เป็นระยะ เพื่อป้องกันการนำอาหาร หรือเสื้อผ้าใส่ในกระบวนการผลิตเก็บในล็อกเกอร์
  • ต้องทำให้มั่นใจว่าปลอดภัยเพียงพอสำหรับเก็บของใช้ส่วนตัวได้

4.8.3

Outdoor clothing and other personal items shall be stored separately from work wear within the changing facilities. Facilities shall be available to separate clean and dirty work wear.

เสื้อผ้าพนักงานและสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวต้องได้รับการจัดเก็บแยกจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า สิ่งอำนวยความสะดวกต้องแยกระหว่างชุดสะอาดและสกปรก

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • พื้นที่แขวนเสื้อพนักงาน + ล็อกเกอร์พนักงาน

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • อยู่ในสภาพสะอาดและถูกสุขลักษณะ
  • จัดที่เก็บเสื้อผ้าที่ใส่แล้วหรือสกปรกให้เหมาะสมตามจำนวนพนักงาน
  • ตะขอแขวนเสื้อผ้าเข้าสู่กระบวนการผลิตต้องอยู่นอกล็อกเกอร์

4.8.4

Where an operation includes a high-care area, personnel shall enter via a specially designated changing facility with arrangements to ensure that protective clothing will not be contaminated before entry to the high-care area. The changing facilities shall incorporate the following requirements:

•clear instructions for the order of changing into dedicated protective clothes to prevent the contamination of clean clothing

•dedicated footwear, by exception shoe coverings shall be provided for visitors only to be worn in the high-care area

•an effective system shall be provided to segregate areas for wearing high-care from other footwear (e.g. a barrier or bench system) or there shall be an effective boot wash on entrance to the high-care area

•protective clothing shall be visually distinctive from that worn in lower risk areas and shall not be worn outside of the high-care area

•hand-washing during the changing procedureshall be incorporated to prevent contamination of the clean protective clothing

•on entry to high-care areas,hand-washing and disinfection shall be provided.

พื้นที่ high care การออกแบบห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าต้องมั่นใจว่าเสื้อผ้าดังกล่าวไม่ปนเปื้อนก่อนเข้าพื้นที่, ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกดังต่อไปนี้

ระเบียบปฏิบัติของการเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อป้องกันการปนเปื้อนไปยังเสื้อผ้าที่สะอาด

รองเท้า หรือที่ครอบรองเท้าต้องเตรียมไว้สำหรับผู้เยี่ยมชม เพื่อใส่ในพื้นที่ high care เท่านั้น

ต้องแบ่งแยกพื้นที่การสวมรองเท้าของ high care ออกจากการสวมรองเท้าอื่นๆ เช่นการใช้ม้านั่งกั้น หรือต้องมีการล้างรองเท้าที่มีประสิทธิภาพก่อนเข้าพื้นที่

เสื้อผ้าต้องมีลักษณะที่แตกต่าง แยกจากพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ และ ห้ามสวมนอกพื้นที่ high care

ต้องมีการล้างมือระหว่างการเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อป้องกันการปนเปื้อนไปยังเสื้อผ้าที่สะอาด

ทางเข้าพื้นที่ high careต้องมีอุปกรณ์การล้างมือ และการฆ่าเชื้อมือ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • กฏระเบียบก่อนเข้นพื้นที่ high care

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • เน้นการล้างมือ ในพื้นที่ high care ระหว่างเปลี่ยนเสื้อผ้า มีเพิ่มการฆ่าเชื้อมือ
  • แยกเสื้อผ้ากับพื้นอื่น เช่น แยกโดยสีเสื้อ สีหมวก หรือเครื่องแต่งกายที่ต่างกัน
  • รองเท้าต้องเป็นแบบไม่เปิดปลายหรือส้นเท้าและต้องดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ
  • มีแผนในการทำความสะอาดรองเท้าอย่างน้อยทุกวัน อาจเพิ่มด้วยการตรวจสอยโดยใช้สายตา หรือ swab test
  • รองเท้าต้องไม่เป็นแบบใช้เชือกผูก และต้องไม่ใส่แบบชั่วคราว(เหยียบส้นรองเท้า)
  • ถ้าเป็นบูท ควรเป็นแบบ wellington
  • เครื่องล้างเท้าอัตโนมัติ หรืออ่างจุ่มบู้ทต้องมีการทำความสะอาด มีการตรวจเช็คความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ล้างเท้าด้วย
  • ไม่ควรใช้อ่างจุ่มเท้า หากเลี่ยงไม่ได้ต้องไม่เสี่ยงต่อผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการเช่น แยกพื้นที่ จุ่มแล้วไม่เดินบนทางเดินที่อยู่เหนือผลิตภัณฑ์ กำหนดและเปลี่ยนน้ำ,สารฆ่าเชื้อ ตามเวลาที่กำหนด พร้อมตรวจสอบประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อ

4.8.5

Where an operation includes a high-risk area, personnel shall enter via a specially designated changing facility at the entrance to the high-risk area. The changing facilities shall include the following requirements:

•clear instructions for the order of changing into dedicated protective clothes to prevent the contamination of clean clothing

•dedicated footwear shall be provided to be worn in the high-risk area

•an effective system shall be provided to segregate areas for wearing high-risk and other footwear, e.g. a barrier or bench system

•protective clothing shall be visually distinctive from that worn in other areas and shall not be worn outside of the high-risk area

•hand-washing during the changing procedureshall be incorporated to prevent contamination of the clean protective clothing

•on entry to high-risk areas, hand-washing and disinfection shall be provided.

พื้นที่ high risk area การออกแบบห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าต้องมั่นใจว่าเสื้อผ้าดังกล่าวไม่ปนเปื้อนก่อนเข้าพื้นที่ สิ่งอำนวยความสะดวกห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าต้องประกอบด้วย

ระเบียบปฏิบัติของการเปลี่ยนเสื้อผ้าต้องป้องกันการปนเปื้อน

จัดหารองเท้าที่ชี้บ่งชัดเจน สำหรับใส่ในพื้นที่ high risk เท่านั้น

ต้องแบ่งแยกพื้นที่การสวมใส่รองเท้าที่ใส่ในบริเวณ high risk ออกจากการสวมรองเท้าพื้นที่อื่น เช่น การใช้สิ่งกีดขวางหรือใช้ม้านั่งกั้น

เสื้อผ้าป้องกันต้องมีลักษณะพิเศษ แยกจากพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ และ ห้ามสวมนอกพื้นที่ high risk

ล้างมือระหว่างการเปลี่ยนเสื้อผ้า ต้องถูกประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันการปนเปื้อน

ทางเข้าพื้นที่ high risk ต้องมีอุปกรณ์การล้างมือ และการฆ่าเชื้อมือ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • พื้นที่ผลิตที่ผ่านการประเมินแล้วว่าเป็น high risk area ต้องได้รับการควบคุมเป็นพิเศษ

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ต้องไม่ใช้ที่ครอบเท้าบริเวณพื้นที่นี้
  • การล้างมือต้องมีการฆ่าเชื้อ
  • รองเท้าต้องเป็นแบบไม่เปิดปลายหรือส้นเท้าและต้องดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ
  • มีแผนในการทำความสะอาดรองเท้า
  • แยกเสื้อผ้ากับพื้นอื่น เช่น แยกโดยสีเสื้อ สีหมวก หรือเครื่องแต่งกายที่ต่างกัน
  • รองเท้าต้องเป็นแบบไม่เปิดปลายหรือส้นเท้าและต้องดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ
  • มีแผนในการทำความสะอาดรองเท้าอย่างน้อยทุกวัน อาจเพิ่มด้วยการตรวจสอยโดยใช้สายตา หรือ swab test
  • รองเท้าต้องไม่เป็นแบบใช้เชือกผูก และต้องไม่ใส่แบบชั่วคราว(เหยียบส้นรองเท้า)
  • ถ้าเป็นบูท ควรเป็นแบบ wellington
  • เครื่องล้างเท้าอัตโนมัติ หรืออ่างจุ่มบู้ทต้องมีการทำความสะอาด มีการตรวจเช็คความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ล้างเท้าด้วย
  • ไม่ควรใช้อ่างจุ่มเท้า หากเลี่ยงไม่ได้ต้องไม่เสี่ยงต่อผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการเช่น แยกพื้นที่ จุ่มแล้วไม่เดินบนทางเดินที่อยู่เหนือผลิตภัณฑ์ กำหนดและเปลี่ยนน้ำ,สารฆ่าเชื้อ ตามเวลาที่กำหนด พร้อมตรวจสอบประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อ

4.8.6

Suitable and sufficient hand-washing facilities shall be provided at access to, and at other appropriate points within, production areas. Such hand-wash facilities shall provide as a minimum:

•sufficient quantity of water at a suitable temperature

•liquid soap

•single use towels or suitably designed and located air driers

•water taps with hand-free operation

•advisory signs to prompt hand-washing.

ต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือที่เหมาะสมและพอเพียง ณ จุดที่จะเข้าสู่พื้นที่การผลิตทุกจุด โดยอย่างน้อยต้องมีสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

มีน้ำในปริมาณที่เพียงพอและอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสม

มีสบู่เหลว

มีผ้าเช็ดมือที่ใช้เพียงครั้งเดียว หรือเครื่องเป่ามือ

มีก๊อกน้ำที่เปิด ปิด โดยไม่ใช้มือสัมผัส

ป้ายแสดงคำแนะนำในการล้างมือ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้สำหรับการล้างมือบริเวณทางเข้ากระบวนการผลิตทุกจุด

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ป้ายล้างมือต้องเป็นภาษาที่พนักงานทุกคนอ่านออก หรือเป็นรูปภาพเพื่อเข้าใจได้ง่าย
  • หากใส่กระดาษเช็ดมือ ต้องมีถังขยะควบคู่ด้วย
  • กระดาษที่ใช้ต้องไม่ยุ่ยติดมือ และมีสีที่ต่างจากผลิตภัณฑ์ เช่น สีน้ำเงิน
  • ติดตั้งอ่างล้างมือในบริเวณที่เอื้อต่อการล้างมือของพนักงาน ไม่เข้าถือได้ยาก ควรเป็นทางผ่านก่อนเข้ากระบวนการผลิต
  • อุณหภูมิในการล้างมือไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ซึ่งจะทำให้พนักงานไม่อยากล้างมือ (ประมาณ 37 องศาเซลเซียส)
  • สบู่เหลวที่ใช้ควรเป็นสูตรกำจัดแบคทีเรีย และไม่มีกลิ่น
  • ก็อกน้ำเป็นระบบไม่ใช้มือเปิด เช่น ใช้ศอก เข่า เท้าเหยียบ หรือระบบ senser
  • หากมีห้องอาบน้ำ ต้องมีการตรวจเช็คฝักบัว ไม่ให้มีการสะสมสิ่งสกปรกปนเปื้อนแก่พนักงานได้

4.8.7

Toilets shall be adequately segregated and shall not open directly into production, packing and storage areas. Toilets shall be provided with hand-washing facilities comprising:

•basins with soap and water at a suitable temperature

•adequate hand-drying facilities

•advisory signs to prompt hand-washing.

Where hand-washing facilities within toilet facilities are the only facilities provided before re-entering production, the requirements of 4.8.6 shall apply and signs shall be in place to direct people to hand-wash facilities before entering production.

ห้องน้ำต้องแยกและต้องไม่เปิดตรงสู่ พื้นที่ผลิต บรรจุ และ จัดเก็บ และต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือดังนี้

มีอ่างล้างมือที่มีสบู่ และน้ำที่อุณหภูมิที่เหมาะสม

มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำมือให้แห้งอย่างเพียงพอ

มีป้ายบอกการล้างมือ รวมทั้งต้องเป็นป้ายที่มีภาษาที่พนักงานอ่านออก

ในกรณีที่สิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือภายในห้องน้ำเป็นชุดเดียวกันกับสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือก่อนเข้าพื้นที่ผลิต ต้องนำเอาข้อกำหนด 4.8.6มาประยุกต์ใช้ และ สัญญลักษณ์ต้องถูกนำมาใช้เพื่อแจ้งให้ล้างมือก่อนเข้าพื้นที่ผลิต

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • อ่างล้างบริเวณหน้าห้องน้ำทุกจุด หากเป็นชุดเดียวกับเข้าไลน์ผลิต ตรวจเหมือน 4.8.6

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ห้องน้ำต้องเหมาะสมแก่การใช้งานของพนักงานแต่ละเชื้อชาติ
  • ประตูห้องน้ำต้องสามารถเปิดเองได้ กั้นแยกจากพื้นที่ผลิต หรือที่เก็บ ด้วยประตูอย่างน้อย 2 ชั้น ระยะห่างพอที่จะระบายอากาศระหว่างกันได้
  • ต้องมีการหมุนเวียนอากาสที่ดี
  • ตะขอแขวนเสื้อพนักงานต้องอยู่นอกห้องน้ำ เพื่อให้พนักงานเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าห้องน้ำ

4.8.8

Where smoking is allowed under national law, designated controlled smoking areas shall be provided which are both isolated from production areas to an extent that ensures smoke cannot reach the product and fitted with sufficient extraction to the exterior of the building. Adequate arrangements for dealing with smokers’ waste shall be provided at smoking facilities, both inside and at exterior locations.

ในกรณีที่การสูบบุหรี่สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมายท้องถิ่น ต้องมีพื้นที่สูบบุหรี่ที่ออกแบบและควบคุมโดยแยกจากพื้นที่ผลิตเพื่อให้มั่นใจว่าควันบุหรี่ไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ และต้องมั่นใจว่ามีการกำจัดควันสู่ภายนอกอย่างเพียงพอต้องมีการจัดการอย่างเพียงพอสำหรับขยะที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ณ จุดสูบบุหรี่ทั้งภายในและภายนอก

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • การกำหนดพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะ รวมทั้งอุปกรณ์ในพื้นที่ดังกล่าว

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • พื้นที่สูบบุหรี่ต้องสะอาด มีถังรองเศษหรือก้นบุหรี่ ป้องกันการติดพื้นรองเท้าเข้าไลน์ ไม่พบตกหล่นบนพื้นโดยตรง
  • ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนออกสู่พื้นที่ดังกล่าว

4.8.9

All food brought into manufacturing premises by staff shall be appropriately stored in a clean and hygienic state. No food shall be taken into storage, processing or production areas. Where eating of food is allowed outside during breaks, this shall be in suitable designated areas with appropriate control of waste.

อาหารที่พนักงานนำเข้ามาในโรงงานต้องได้รับการจัดเก็บในพื้นที่ที่สะอาดและถูกสุขลักษณะ ต้องไม่มีการนำอาหารเข้าพื้นที่จัดเก็บหรือพื้นที่ผลิต การกินอาหารต้องกินในพื้นที่ที่ออกแบบไว้รวมถึงต้องมีการกำจัดการขยะที่เหมาะสม

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • สถานที่เก็บอาหารที่พนักงานนำมาจากนอกโรงงาน

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ไม่นำอาหารเก็บในล็อกเกอร์
  • ต้องมีที่เก็บที่มีอุปกรณ์ทำความเย็นที่ถูกสุขลักษณะเพื่อให้พนักงานจัดเก็บอาหารที่ตัวเองนำมา รวมถึงมีการเฝ้าระวังอุณหภูมิดังกล่าว
  • ถ้ามีการใช้อุปกรณ์ในการเตรียมอาหารให้พนักงาน เช่น จาน ช้อน เตาไมโครเวฟ กาน้ำร้อน ต้องมีการดูแลความสาดของอุปกรณ์ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องเก็บและเตรียมอาหารในพื้นที่นี้เท่านั้น ป้องกันการปนเปื้อน เช่น เศษอาหาร ขยะ หรือ allergen

4.8.10

 

Where catering facilities are provided on the premises, they shall be suitably controlled to prevent contamination of product (e.g. as a source of food poisoning or introduction of allergenic material to the site).

ต้องมีการควบคุมการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์จากโรงอาหารอย่างเหมาะสม เช่น อาหารที่เป็นพิษ หรืออาหารที่เป็นสารก่อภูมิแพ้

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • การสะสมของเศษอาหาร เศษขยะ หรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • หากมีการเหลือของอาหารในตู้เก็บ ต้องมีการนำไปทิ้ง และทำความสะอาดอย่างเหมาะสม
  • ต้องมีการกำหนดการทิ้งขยะจาก เศษอาหาร ขยะ หรือสิ่งปฏิกูล ในถังขยะของพื้นที่ดังกล่าวอย่างเหมาะสม
  • มีแผนการทำความสะอาดที่จัดเจน สม่ำเสมอ อาจรวมถึงการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม

4.9  

Raw material handling, preparation, processing, packing and storage areas การควบคุมการปนเปื้อนทางเคมีและกายภาพสู่ผลิตภัณฑ์

Appropriate facilities and procedures shall be in place to control the risk of chemical or physical contamination of product.

สิ่งอำนวยความสะดวกและระเบียบปฏิบัติอย่างพอเพียงต้องมีอยู่เพื่อควบคุมความเสี่ยงของการปนเปื้อนทางกายภาพและเคมีสู่ผลิตภัณฑ์

4.9.1

Chemical control การควบคุมสารเคมี

4.9.1.1

Processes shall be in place to manage the use, storage and handling of non-food chemicals to prevent chemical contamination. These shall include as a minimum:

•an approved list of chemicals for purchase

•availability of material safety data sheets and specifications

•confirmation of suitability for use in a food processing environment

•avoidance of strongly scented products

•the labelling and/or identification of containers of chemicals at all times

•segregated and secure storage with restricted access to authorised personnel

•use by trained personnel only.

กระบวนการต้องมีอยู่ เพื่อจัดการกับการใช้, การจัดเก็บและการเคลื่อนย้ายสารเคมีที่ไม่ใช้สารเคมีสำหรับอาหาร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสารเคมี.สิ่งนี้ ขั้นต่ำ ต้องประกอบด้วย:

ทะเบียนสารเคมีที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการจัดซื้อ

มีเอกสารความปลอดภัย MSDSและ spec

ยืนยันความเหมาะสมสำหรับการใช้ในสภาพแวดล้อมการผลิตอาหาร

หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกลิ่นแรง

การติดฉลาก และ/หรือ การชี้บ่งบรรจุภัณฑ์สารเคมีไว้ตลอดเวลา

การแยกจัดเก็บและการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ในพื้นที่เฉพาะสำหรับพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เท่านั้น

ใช้โดยพนักงานที่ได้รับการอบรม

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินสำรวจและสุ่มสารเคมีที่มีการใช้งาน ทั้งใช้ในอาหารและสารเคมีทั่วไป

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • ทะเบียนรายชื่อสารเคมี
  • MSDS และ Spec สารเคมีที่มีการใช้
  • บันทึกการฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • สารเคมีที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับการผลิตอาหาร
  • ต้องมีการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัย อย่างเคร่งครัด
  • ต้องเก็บในพื้นที่เฉพาะ สามารถระบายอากาศได้ดี และต้องมีการปิดล็อค เพื่อป้องกันการเข้าถึง
  • พื้นที่จัดเก็บควรมีร่องหรือคันกั้น เพื่อป้องกันกรณีสารเคมีหกหรือรั่วไหล
  • คารจัดเก็บแยกชนิดกันเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เช่น สารเคมีที่เป็นกรด หรือ ครอรีน พร้อมทั้งติดป้ายชี้บ่งที่ชัดเจน ของสารเคมีแต่ละชนิด
  • หากมีการเก็บไว้ในกระบวนการผลิตเพื่อใช้งานต้องเป็นปริมาณแต่เพียงน้อยเท่านั้น
  • ถังสารเคมีต้องมีฉลากระบุรายละเอียดสารเคมีที่ถูกต้องและนำไปใช้งานตามที่ระบุเท่านั้น

4.9.1.2

Where strongly scented or taint-forming materials have to be used, for instance for building work, procedures shall be in place to prevent the risk of taint contamination of products.

เมื่อต้องใช้วัสดุที่มีกลิ่นแรงหรือวัสดุที่ทำให้เปรอะเปื้อนง่าย, สำหรับงานอาคาร, ขั้นตอนการปฏิบัติ ต้องจัดให้มี เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์.

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • มีการใช้วัสดุที่ส่งกลิ่นรุนแรงมีผลต่อผลิตภัณฑ์หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนได้

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • ขั้นตอนสำหรับการควบคุมวัสดุที่มีกลิ่นและปนเปื้อนได้ง่าย

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ขั้นตอนการปฏิบัติเป็นรูปแบบใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นเอกสาร
  • ไม่ควรใช้สารสังเคราะห์จาก Phenol เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำที่มีกลิ่น หากมีใช้ต้องได้รับการควบคุม

4.9.2

Metal control การควบคุมโลหะ

4.9.2.1

There shall be a documented policy for the control of the use of sharp metal implements including knives, cutting blades on equipment, needles and wires. This shall include a record of inspection for damage and the investigation of any lost items. Snap-off blade knives shall not be used.

ต้องมีนโยบายที่ได้จัดทำเป็นเอกสารสำหรับการควบคุมการใช้โลหะที่มีความแหลมคมรวมถึง มีด, ใบมีดตัดบนอุปกรณ์, เข็มและลวด.สิ่งนี้ต้องมีบันทึกการตรวจสอบสำหรับการเสียหาย และ สืบสวนการหายใดๆ ใบมีดที่หักออกได้ต้องห้ามนำมาใช้.

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • ระบบการควบคุมโลหะที่มีประสิทธิภาพ

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโลหะในพื้นที่ผลิต
  • ทะเบียนควบคุมเครื่องมือที่ทำจากโลหะ
  • บันทึกการควบคุม+การตรวจสอบสภาพก่อนและหลังใช้
  • บันทึกเหตุการณ์ผิดปกติ

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ใบมีดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต อุปกรณ์และเครื่องมือของช่างซ่อมบำรุง ประแจซ่อมเครื่องหากไม่ได้นำออก ต้องมีการเก็บแบบล็อค
  • มีการควบคุม เช่น ตรวจสอบจำนวน ตรวจสอบสภาพ
  • การลับมีดต้องทำนอกพื้นที่ผลิต กลับเข้ามาต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์
  • แท่งโลหะสำหรับลำมีดหากใช้ต้องไม่ลับเหนือสินค้า
  • ไม่เก็บมีดหรือใบมีดในล็อกเกอร์ส่วนตัว

4.9.2.2

The purchase of ingredients and packaging which use staples or other foreign-body hazards as part of the packaging materials shall be avoided. Staples and paper clips shall not be used in open product areas. Where staples or other items are present as packaging materials or closures, appropriate precautions shall be taken to minimise the risk of product contamination.

การจัดซื้อส่วนผสมอาหารและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ลวดเหล็กเย็บ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ ต้องห้าม.ลวดเย็บและคลิปหนีบกระดาษ ห้ามใช้ในการผลิตแบบเปิด.เมื่อใช้ลวดเย็บ หรือ อื่นๆ ในวัสดุบรรจุภัณฑ์หรือฝาปิด,ข้อควรระวังต้องมีการจัดทำเพื่อลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • การปนเปื้อนโลหะจากการติดมากับวัตถุดิบ

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ลวดเย็บและคลิปหนีบกระดาษต้องไม่ใช้ในพื้นที่เปิด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีการควบคุมและจัดการกับความเสี่ยงต่ออันตรายดังกล่าว
  • ต้องมีการสื่อสารไปยังฝ่ายจัดซื้อให้รับทราบ

4.9.3

Glass, brittle plastic, ceramics and similar materials แก้ว, พลาสติกเปราะ, เซรามิก และ วัสดุใกล้เคียง

4.9.3.1

Glass or other brittle materials shall be excluded or protected against breakage in areas where open products are handled or there is a risk of product contamination.

แก้ว หรือวัสดุแตกหักง่าย ต้อง ไม่ใช้ หรือป้องกันการแตกกระจายในพื้นที่ผลิตแบบเปิด หรือ ที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • เดินตรวจตราในกระบวนการผลิตพร้อมสังเกตสภาพวัสดุต่างๆที่เป็นแก้ว และพลาสติกแข็ง

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่เป็นแก้ว หากไม่สามารถทำได้แก้วนั้นต้องถูกควบคุม
  • ต้องมีการป้องกันการแตกกระจาย และป้องกันการปนเปื้อนต่อผลิตภัณฑ์ เช่น หลอดไฟต้องมีฝาครอบ หรือใช้ฟิล์มหุ้ม เทอร์โมมิเตอร์แบบ MIG ต้องมีปลอกสำหรับหุ้มตลอดเวลาที่ใช้งาน เป็นต้น

4.9.3.2

Documentedprocedures for handling glass and other brittle materials shall be in place and implemented to ensure that necessary precautions are taken. Procedures shall include as a minimum:

•a list of items detailing location, number, type and condition

•recorded checks of condition of items, carried out at a specified frequency that is based on the level of risk to the product

•details on cleaning or replacing items to minimise potential for product contamination.

ระเบียบปฏิบัติที่เป็นเอกสาร สำหรับการจัดการแก้ว และ วัตถุเปราะอื่นๆ ต้อง มีอยู่ และ มีการนำไปปฏิบัติเพื่อทำให้มั่นใจว่ามีการกระทำอย่างระมัดระวัง.

ขั้นตอนต้องประกอบด้วย ขั้นต่ำ:

มีรายการวัสดุมีรายละเอียดของตำแหน่ง, จำนวน, ชนิดและสภาพ

มีบันทึกการตรวจเช็คสภาพของวัสดุ, ตามระยะเวลาการตรวจเช็คที่กำหนดไว้โดยขึ้นกับการประเมินความเสี่ยง

รายละเอียดสำหรับการทำความสะอาดหรือการเปลี่ยนวัสดุเหล่านี้เพื่อลดนัยยะในการปนเปื้อน

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • ตรวจประเมินสภาพอุปกรณ์ที่ขึ้นทะเบียนตามความถี่ที่เหมาะสม

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • ระเบียบปฏิบัติการควบคุมแก้ว และพลาสติกแข็ง
  • รายการหรือทะเบียนแก้วและพลาสติกแข็งในพื้นที่ผลิตและพื้นที่จัดเก็บ
  • แผนผังตำแหน่งแก้วและพลาสติกแข็ง
  • บันทึกการตรวจสอบสภาพ แก้วและพลาสติกแข็ง เช่น ยังใช้ได้ แตกหักแต่ยังใช้งานได้ หรือไม่เสียหายแต่ใช้งานไม่ได้

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • การบันทึกการตรวจสอบสภาพ แก้วและพลาสติกแข็ง เช่น ยังใช้ได้ แตกหักแต่ยังใช้งานได้ หรือไม่เสียหายแต่ใช้งานไม่ได้
  • ปากกาที่ใช้ในกระบวนการผลิตหรือพื้นที่เก็บ ต้องเป็บแบบชิ้นเดียว(ไม่มีปลอกปากกา) ไม่มีส่วนใส มีสีต่างจากผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทคอยจัดหาให้เท่านั้น
  • หากจำเป็นต้องใช้เครื่องคิดเลขหรือไม้บรรทัดที่ทำจากพลาสติก ต้องมีสีที่ต่างจากผลิตภัณฑ์
  • ป้ายสัญลักษณ์ต้องปลอดภัยและแนบกับกำแพง ป้องกันการแตกหักและสะสมฝุ่น

4.9.3.3

Documentedprocedures detailing the action to be taken in case of breakage of glass or other brittle items shall be implemented and include the following:

•quarantining the products and production area that were potentially affected

•cleaning the production area

•inspecting the production area and authorising to continue production

•changing of workwear and inspection of footwear

•specifying those staff authorised to carry out the above points

•recording the breakage incident.

ระเบียบปฎิบัติเป็นเอกสาร ซึ่งระบุรายละเอียดการจัดการในกรณีที่พบว่ามีการแตกของแก้วหรือวัสดุเปราะอื่น ๆ ต้องได้รับการนำไปปฏิบัติ และรวมถึงข้างล่างนี้:

การแยกกักกันผลิตภัณฑ์และพื้นที่ผลิตที่มีโอกาสปนเปื้อน

การทำความสะอาดพื้นที่ผลิต

การตรวจสอบพื้นที่ผลิตและการอนุญาตให้มีการผลิตต่อได้

การเปลี่ยนเครื่องแต่งกายและการตรวจสอบรองเท้า

กำหนดพนักงานที่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้น

การบันทึกเหตุการณ์การแตก

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • สอบถามและตรวจสอบบันทึกกรณีมีการแตกของแก้วมีการปฏิบัติอย่างไร

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • ระเบียบการจัดการกับกรณีเกิดแก้วแตก
  • บันทึกการแตกและการจัดการกับผลิตภัณฑ์
  • บันทึกการทำงานของพื้นที่หลังเกิดการแตก
  • บันทึกการตรวจสอบพื้นที่ในการผลิตและการอนุมัติการมีการผลิตต่อได้

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ต้องมีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมการแตก/สูญหายของแว่นตาหรือคอนเเทคเลนส์
  • ควรมีการฝึกอบรมพนักงานใหม่ ผู้จัดการฝ่ายผลิต ฝ่ายสุขอนามัย และช่างซ่อมบำรุง เกี่ยวกับการปฏิบัติเมื่อแก้วแตก

ควรระบุรายละเอียดต่างๆในระเบียบปฏิบัติการแตกของแก้ว ดังนี้

  • การหยุดกระบวนการผลิต
  • การป้องกันการเข้าถึงเมื่อมีแก้วแตก เช่น กั้นแยกพื้นที่
  • การคัดแยกวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ
  • การทำความสะอาดเศษที่แตกและอุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาด
  • การนำเศษแก้วแตกออกจากพื้นที่ผลิต
  • การซ่อมแซมหรือทดแทนอุปกรณ์ที่แตก
  • การเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย,รองเท้าหรือถุงมือของพนักงานที่อยู่ในพื้นที่การแตก
  • การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดและการอนุญาติให้เริ่มผลิตอีกครั้ง โดยผู้รับผิดชอบ
  • การจัดการกับเศษแก้วที่แตกและนำออกนอกไลน์แล้ว
  • การแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ

4.9.3.4

Products packed into glass or other brittle containers   ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์แก้วหรือภาชนะบรรจุอื่นๆที่เป็นวัสดุเปราะแตกง่าย

4.9.3.4.1

The storage of the containers shall be segregated from the storage of raw materials, product or other packaging.

การจัดเก็บภาชนะบรรจุต้องแยกจากการจัดเก็บวัตถุดิบ, ผลิตภัณฑ์ หรือ บรรจุภัณฑ์อื่นๆ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • สำรวจบริเวณสำหรับเก็บบรรจุภัณฑ์

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • หากมีการใช้บรรจุภัณฑ์แบบแก้วต้องเก็บแยก ไม่รวมกันกับบรรจุภัณฑ์อื่นไม่ได้

4.9.3.4.2

Systems shall be in place to manage container breakages between the container cleaning/inspection point and container closure. This shall include, as a minimum, documented instructions which ensure:

•the removal and disposal of at-risk products in the vicinity of the breakage; this may be specific for different equipment or areas of the production line.

•the effective cleaning of the line or equipment which may be contaminated by fragments of the container. Cleaning shall not result in the further dispersal of fragments, for instance by the use of high pressure water or air.

•the use of dedicated, clearly identifiable cleaning equipment (e.g. colour coded) for removal of container breakages. Such equipment shall be stored separately from other cleaning equipment.

•the use of dedicated, accessible lidded waste containers for the collection of damaged containers and fragments.

•a documented inspection of production equipment is undertaken following the cleaning of a breakage to ensure cleaning has effectively removed any risk of further contamination.

•authorisation is given for production to re-start following cleaning.

•the area around the line is kept clear of broken glass.

ระบบต้องมีอยู่เพื่อจัดการเมื่อการแตกของภาชนะบรรจุระหว่างการทำความสะอาด/จุดตรวจสอบ และฝาปิด.

สิ่งนี้ต้องรวมถึง,อย่างต่ำ,ข้อแนะนำในการทำงานเป็นเอกสาร เพื่อทำให้มั่นใจว่า:

การเคลื่อนย้ายแก้วแตกออกจากพื้นที่ และการทำลาย ต้องจัดการในขอบเขตจำกัดซึ่งอาจมีการระบุเครื่องจักรหรือสายการผลิตที่แตกต่างกัน

การทำความสะอาดไลน์หรืออุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเศษแก้วต้องไม่ส่งผลให้เกิดการกระจายของเศษแก้ว เช่น ใช้น้ำที่มีแรงดัน หรือแรงดันอากาศ

อุปกรณ์ทำความสะอาดแก้วแตกต้องมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน อาจใช้รหัสสี แยกจากอุปกรณ์ทำความสะอาดปกติ

แก้วที่แตกต้องจัดเก็บในภาชนะที่มีฝาปิด

เอกสารการตรวจสอบเครื่องจักรหลังจากที่ได้ทำความสะอาดเพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการกำจัดอย่างมีประสิทธิผลและได้กำจัดความเสี่ยงใดๆที่จะก่อให้เกิดปนเปื้อน

การอนุมัติดำเนินการผลิตหลังการทำความสะอาด

พื้นที่โดยรอบพื้นที่ดังกล่าวต้องไม่มีชิ้นส่วนที่แก้วแตกหักตกค้าง

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • ดูบริเวณเครื่องล้างขวดแก้ว หากแตกมีการจัดการอย่างไร

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • ขั้นตอนการล้างภาชนะบรรจุ
  • เอกสารการตรวจสอบเครื่องจักรเมื่อทำความสะอาด ก่อนเริ่มปฏิบัติงานใหม่
  • เอกสารการอนุมัติดำเนินการผลิตหลังทำความสะอาดแล้ว

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • ต้องมีการกำหนดการรับเข้าบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้ว
  • การนำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้วไปใช้งานหลังการล้าง
  • ต้องมีการจัดการกรณีพบแก้วแตกในสายการผลิตโดยเฉพาะที่มีเครื่องบรรจุอัตโนมัติ

4.9.3.4.3

Records shall be maintained of all container breakages on the line. Where no breakages have occurred during a production period, this shall also be recorded. This record shall be reviewed to identify trends and potential line or container improvements.

บันทึก ต้องมีการจัดทำ สำหรับการแตกของบรรจุภัณฑ์ในสายการผลิต.

ในกรณีที่ไม่มีการแตกเกิดขึ้น ก็ต้องมีการบันทึกเช่นกัน.

บันทึกดังกล่าวต้องได้รับการทบทวนเพื่อชี้แนวโน้มและสายการผลิตที่มีนัยยะ หรือ ปรับปรุงภาชนะ

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • สำรวจกระบวนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้วในกระบวนการผลิต

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • บันทึกสภาพของบรรจุภัณฑ์ในสายการผลิต(แตก/ไม่แตก) และการวิเครารห์แนวโน้ม

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • บันทึกทั้งการแตกและไม่แตกของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้ว

4.9.4

Wood ไม้

4.9.4.1

Wood should not be used in open product areas except where this is a process requirement (e.g. maturation of products in wood). Where the use of wood cannot be avoided, the condition of wood shall be continually monitored to ensure it is in good condition and free from damage or splinters which could contaminate products.

ไม้ ไม่ควร ใช้ในพื้นที่ผลิตแบบเปิดเว้นแต่ว่าเป็นข้อกำหนดกระบวนการ(เช่น การอบบ่มในไม้).ในกรณีที่ไม่ สามารถหลีกเลี่ยงการใช้, สภาพของไม้ต้องเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในสภาพที่ดี และปราศจากการเสียหาย หรือ แตกเป็นเสี้ยน ที่ซึ่งอาจปนเปื้อนผลิตภัณฑ์

อะไรที่ผู้ตรวจควรมองหา

  • การใช้ไม้ในพื้นที่ต่างๆ

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • หลีกเลี่ยงการใช้ไม้ในที่ผลิตและพื้นที่เก็บ เช่น คลิบบอร์ด ไม้กวาด ดินสอ เฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องมือต่างๆ
  • หากทำไม่ได้จำเป็นต้องใช้ เช่น ไม้เสียบเนื้อย่าง ถังไม้หรือถ่านไม้ไว้รมควัน ต้องใช้เท่าที่จำเป็น และต้องควบคุม ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบตอนรับเข้า การตรวจสอบสะภาพฉีกขาดเสียหาย และมีระเบียบปฏิบัติหากพบการเสียหายของไม้

บทความใกล้เคียง

Online

มี 28 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์