Login Form

ISO/TS 16949 Product Audit

ISO/TS 16949 Product Audit

 
ข้อกำหนดข้อไหนที่กล่าวถึง product audit

ข้อกำหนดข้อ 8.2.2.3  ระบุว่า องค์กรต้องตรวจประเมินผลิตภัณฑ์ ในสายการผลิตและการส่งมอบ ตามขั้นตอนและความถี่ที่เหมาะสม เพื่อทวนสอบความสอดคล้องกับทุกข้อกำหนดที่ได้กำหนดไว้ เช่น มิติของผลิตภัณฑ์(product dimension) หน้าที่การทำงาน(functionality) การบรรจุภัณฑ์(packaging) ฉลาก(labeling) ตามความถี่ที่ระบุไว้

 
เมื่อไหร่เราถึงทำการ prodcut audit

ปกติแล้วการกระทำการตรวจประเมินผลิตภัณฑ์ จะกระทำกับผลิตภัณฑ์ที่พร้อมจะทำการส่งมอบ (delivery-ready products) ตามแผนที่กำหนดไว้ โดยเทียบกับ เอกสารทางเทคนิค, แบบงาน, specification, standards, legal requirement .

การกระทำการ product audit นี้จะทำกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มากตัวอย่าง แต่มีการประเมินเชิงลึกโดยมองจากมุมมองลูกค้า

ในบางกรณี การกระทำการ product audit สามารถใช้กับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ prototypes หรือผลิตภัณฑ์ที่ถูกตีคืน

(เอกสารทางเทคนิค อาจหมายถึง drawing, spec sheet, FMEA, production process plan, process description, inspection and tersting spec, limit sample, material sheet, standard, delivery agreement,standard.... etc)

 
อะไรคือวัตถุประสงค์ของ product audit

เพื่อให้ทราบความเบี่ยงเบนและการยืนยันการสอดคล้องกับ เอกสารทางเทคนิค, แบบงาน, specification, standards, legal requirement .

 
อะไรคือความแตกต่างในแง่ความถี่ของชนิดของการตรวจประเมินต่างๆและinpection

Product Audit
8.2.2.3

ตามแผนงาน โดยปกติควรมีการกระทำหลายครั้งต่อปี

QMS audit
8.2.2.1

ตามแผนงาน โดยปกติจะกระทำปีละ  1- 2 ครั้ง

Manu process audit
8.2.2.2

ตามแผนงาน ตามความจำเป็น
100% inspection, measureing and testing ต่อเนื่อง
Final Inspection... ต่อเนื่อง
 
อะไรคือความแตกต่างในเรื่องคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน / ตรวจสอบ ที่มีนัยยะ

Product Audit
8.2.2.3

ความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์, กระบวนการผลิต และ ข้อกำหนดลูกค้า

QMS audit
8.2.2.1

ข้อกำหนด TS 16949 และ ข้อกำหนด กฏระเบียบขององค์กร

Manu process audit
8.2.2.2

ความรู้ในเรื่องกระบวนการการผลิต (Manufacturing Process )
100% inspection, measureing and testing

ความรู้ในเรื่อง charactic ของผลิตภัณฑ์ และ เครื่องมือที่ใช้

Final Inspection... ความรู้ในเรื่อง charactic ของผลิตภัณฑ์ และ เครื่องมือที่ใช้ รวมทั้งความรู้ในความต้องการของลูกค้า

ในส่วนรายละเอียดคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมินที่ทำการproduct audit ควรมีดังนี้

ความรู้ในเรื่องวัตถุประสงค์ของ product audit, ความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์และคุณลักษณะทางคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆ, ความรู้ในเรื่อง spec ของการตรวจสอบ ทดสอบ, เทคนิคการตรวจสอบทดสอบ, ความรู้ในเรื่องกระบวนการผลิต ปัญหาของผลิตภัณฑ์ก่อนหน้า , ในบางกรณีอาจรวมถึงความเหมาะสมทางด้านกายภาพเช่น สภาพสายตา

 
อะไรคือความแตกต่างในเรื่องวัตถุประสงค์ของการตรวจประเมิน / ตรวจสอบ ที่มีนัยยะ

Product Audit
8.2.2.3

พิสูจน์ว่าแผนควบคุมมีประสิทธิผล

เน้นที่ product characteristic โดย ใช้ข้อกำหนดของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อประเมินความสามารถในการสอดคล้อง

QMS audit
8.2.2.1

เน้นการพิสูจน์การสอดคล้องกับข้อกำหนด ISO/TS16949 และข้อกำหนดของระบบคุณภาพอื่นๆ

Manu process audit
8.2.2.2

เน้นที่กระบวนการผลิต manufacturing process เพื่อประเมินความสามารถของกระบวนการผลิต (line 1, bay2, mold area, injection area...etc) ในการบรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ของพื้นที่หรือกระบวนการนั้นๆ
100% inspection, measureing and testing เน้นที่การตรวจสอบ ทดสอบผลิตภัณฑ์ ตามแผนคุณภาพ
Final Inspection... เน้นที่การตรวจสอบ ทดสอบผลิตภัณฑ์ ตามแผนคุณภาพ
 
ข้อควรระวัง
 
  • ในรายงานการตรวจประเมิน product audit ควรมีการระบุและมี บันทึกในเรื่อง จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ทำการตรวจประเมิน, สถานะของผลิตภัณฑ์ ,ชื่อลูกค้า มาตรฐานที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ , คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการประเมิน functional charactic, material charactic,quantitative & qualitative charactic...etc. พร้อมทั้งผลสรุปการproduct audit ในแง่ประเด็นการสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และโอกาสในการปรับปรุงต่างๆในระยะ ยาว(Man machine method, material, environement, techniqe etc)  จำนวนความไม่สอดคล้องพร้อมระดับความรุนแรง
  • ในการเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อทำการ product audit ควรคำนึงถึง lot size, ข้อกำหนดลูกค้า, สายการผลิต , กะงาน
  • ในการเตรียมการเพื่อตรวจประเมินระหว่าง product audit กับ system audit มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแง่ checklist  ที่ซึ่ง system audit จะใช้ในการทวนสอบความรุ้ ความเข้าใจ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลากรต่างๆ ในแง่ความเข้าใจและการนำระบบไปประยุกต์ใช้ ในส่วนของ product audit จะเน้นในส่วนผลิตภัณฑ์ว่า meet & fullfill ตามspec ของลูกค้าหรือไม่
  • ในการกระทำการ product audit ต้องกระทำโดยบุคคลที่เป็นอิสระต่องานนั้นๆ โดยปกติมักจะเป็นบุคลากรที่มาจากหน่วยงานประกันคุณภาพหรือส่วนงานวิศวกรรม แล้วแต่ความเหมาะสม
  • เนื่องจากระหว่างการตรวจประเมินจะมีการสุ่ม ผลิตภัณฑ์ ดังนั้นให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ แต่ไม่ควรให้หน่วยงานอื่นๆเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อการสุ่ม หรือทราบกำหนดการในการสุ่มล่วงหน้านานๆ
  • ชิ้นงานที่สุ่มออกมาเพื่อทำการ product audit ควรให้มีการชี้บ่ง hold เพื่อป้องกัน โดยเฉพาะเมื่อสุ่มจากlot เพื่อป้องกันการสับสนหรือการนำไปใช้ผิด การนำผลิตภัณฑ์เพื่อคืนกลับที่เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษหรือมีมาตรการ ควบคุมเฉพาะ
  • ในกรณีที่พบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดโดยเฉพาะคุณลักษณะด้านsafety feature ต้องมีการแก้ไขปัญหาโดยทันที พร้อมทั้งขยายผล
  • เนื่องจากการกระทำการ product audit เพื่อทำการทวนสอบ เฝ้าติดตามผลิตภัณฑ์ตามช่วงเวลาและใช้ผลการทำproduct audit นี้เพื่อการปรับปรุง องค์กรในการผลิตผลิตภัณฑ์ ข้อมูลการทำ product audit นี้ ควรใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการทำการ manufacturing process audit.
  • การระบุความไม่สอดคล้องที่พบระหว่างการกระทำการ product audit ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ในแง่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ดังนันจึงมีความต้องใส่ใจในการระบุและให้ความสำคัญ ในการแก้ไข
  • รายงานการตรวจประเมินผลิตภัณฑ์ product audit ควรมีการแจกจ่ายให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการผลิต
  • ในการแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่พบ ระหว่างการกระทำการ product audit ควรมีการระบุอย่างชัดเจน เช่น ประเภทร้ายแรง ไม่ว่าชิ้นส่วนนั้นที่ผลิตสำเร็จหรือระหว่างกระบวนการต้องถูกกักกันโดยทันที หรือทำการหยุดผลิต ในส่วนที่ไม่ร้ายแรง ผลกระทบจากสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดอาจต้องร้องขอลูกค้าในการ concession ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในคลังหรือที่ส่งมอบไปแล้ว

Online

มี 69 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์