หากมีคำถามว่าอะไรคือความแตกต่างหลักระหว่าง มาตรฐาน ISO9001:2015 ก้บ มาตรฐาน ISO 9001:2008
แนะนำให้ท่านพิจารณาข้อกำหนดหลัก ซึ่งข้อกำหนดหลักข้อหนึ่งในการวางระบบ QMS คือข้อกำหนด ISO9001:2015 ในข้อ 4.4.2 ซึ่งก็คือข้อ 4.1 ของ ISO9001:2008 แต่เดิม ข้อกำหนด 4.4.2 เป็นข้อกำหนดที่เทียบเคียงของเดิม คือ ข้อกำหนด 4.1 ที่ใช้เป็นข้อกำหนดทั่วไปในการวางระบบ
ดังนั้นหากท่านทำการเปรียบเทียบระหว่าง สอง ข้อกำหนด ตามที่คัดลอกมาให้ด้านล่างนี้
ท่านจะพบว่ามีอยู่ 3 ประเด็น ที่ดูเป็นเรื่องเป็นราว!
ความเห็น : ข้อกำหนดระบุเช่นนี้ ทำให้ท่านจำเป็นต้องกำหนด output หรือ วัตถุประสงค์ของกระบวนการไว้อย่างชัดเจน และต้องวัดผลได้ด้วย
กล่าวคือคงต้องมีตารางสรุปกระบวนการ หรือ กำหนดในเอกสารใดเอกสารหนึ่ง ถึงเป้าหมายที่ต้องการให้บรรลุในทุกๆกระบวนการที่จำเป็น ที่ซึ่งมาตรฐาน ISO9001:2008 ไม่ได้กล่าวเฉพาะเจาะจงอย่างนี้
ความเห็น : มาตรฐานเพิ่มเติมในส่วนคำว่า พิจารณากำหนดความเสี่ยง เข้ามาซึ่งเิิดิมไม่มี
การพิจารณาความเสี่ยงนี้มีอยู่สองประเด็น ซึ่งคือ การสอดคล้องกับสินค้าและบริการ + ความพึงพอใจลูกค้า ท่านจำเป็นต้องวิเคราะห์ความเสียงในแต่ละกระบวนการ ซึ่งน่าจะรวมทั้ง core process และ support process ทั้งหมด เป็นอย่างน้อย ท่านจำต้องมีระบบเฉกเช่น FMEA/Hazop หรือบางอย่างที่ใก้ลเคียงในรูปแบบ risk assesmment ซึ่งของเดิมไม่ีมี
ใครที่คุ้นเคยในเรื่อง ความรุนแรง x โอกาสการเกิด x ความสามารถในการควบคุม คงมองเห็นว่าการที่ข้อกำหนดเขียนอย่างนี้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในการวางระบบ
ความเห็น : ทุกๅกระบวนการที่เป็น core และ support ที่ส่งผลต่อ สินค้าและบริการ + ความพึงพอใจตอ้งมีเกณฑ์เป้าหมายกำหนด ในการชี้บ่งดัชนีวัดสมรรถนะ ไม่สามารถทำนิดๆทำหน่อยๆ ทำพอเป็นพิธีแบบเดิมไม่ได้แล้ว มาตรฐาน iso9001:2015 CD เขียนไว้อย่างชัดเจนมากจน ไม่น่าจะมี CB ใดหรือองค์กรใดละเลยเมินเฉยการใช้ประโยชน์จาก KPI Mangement ได้อีก
สรุป
เพียงข้อนี้ ข้อเดียว
พอจะทำให้ท่านเห็นภาพระบบ QMS ที่เปลี่ยนไปหรือไม่ครับ
ระบบที่ยึดโยงกับการบริหารความเสี่ยง ระบบที่มีการติดตามสมรรถนะ
ใครที่ทำระบบ TS16949 , AS9100 , OHSAS18001, ISO13485, ISO22000 น่าจะพอยิ้มได้
น่าจะพอมองเห็นเค้ารางของระบบ ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
ไว้ติดตามข้ออื่นๆกันนะครับ
....................................
ข้อกำหนด ISO9001:2015 CD Stage
4.4.2 การจัดการเชิงกระบวนการ องค์กรต้องใช้การจัดการเชิงกระบวนการกับระบบบริหารคุณภาพ องค์กรต้อง: a) พิจารณากำหนดกระบวนการจำเป็นสำหรับระบบการจัดการคุณภาพและการประยุกต์ที่ใช้ทั่วทั้งองค์กร b) พิจารณากำหนดปัจจัยการผลิตที่จำเป็นและผลที่คาดหวังจากแต่ละกระบวนการ c) พิจารณากำหนดลำดับขั้นและปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการเหล่านี้ d) พิจารณากำหนดความเสี่ยงเพื่อให้สอดคล้องของสินค้าและบริการ และความพึงพอใจลูกค้า หากผลไม่ได้ตามตั้งใจ หรือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนไม่มีประสิทธิผล e ) พิจารณากำหนดเกณฑ์ วิธีการ การวัด และตัวบ่งชี้สมรรถนะที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินการและควบคุมกระบวนการเหล่านี้มีมีประสิทธิผล f ) พิจารณากำหนดทรัพยากรและทำให้มั่นใจถึงการมีอยู่ g ) มอบหมายความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ สำหรับสำหรับกระบวนการ h ) ดำเนินการที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ตามที่วางแผนไว้ I ) เฝ้าติดตาม วิเคราะห์ และเปลี่ยนแปลง, ถ้าจำเป็น, กระบวนการเหล่านี้เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงส่งผลลัพธ์ตามที่ตั้งใจ และ j) ทำให้มั่นใจมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของกระบวนการเหล่านี้ |
ข้อกำหนด ISO 9001:2008
4.1 ข้อกำหนดทั่วไปองค์การต้อง จัดทำ, จัดทำเอกสาร, นำไปปฏิบัติใช้ และ ธำรงรักษาระบบบริหารคุณภาพ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิผลของระบบอย่างต่อเนื่อง ตามข้อกำหนดในมาตรฐานสากลนี้. องค์กรต้อง
|