การทบทวนคือ การมองซ้ำ การมองย้อน การมองอีกครั้งในมุมที่แตกต่าง
เป็นการพิจารณาใหม่ คิดใหม่ ไตร่ตรองใหม่
การทบทวนจึงไม่ใช่การมองปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อแก้ไข
แต่เป็นการมองปัญหา โดยการมองย้อนกลับไปในอดีต
ในห้วงช่วงเวลาที่สนใจ เพื่อดูแนวโน้ม สาเหตุ ต่างๆ
โดยเฉพาะ สาเหตุแห่งปัญหาที่มาจากระบบ
ปัญหาเชิงระบบ !!
ปัญหาที่เกิดชึ้นซ้ำๆ เกิดแล้วเกิดอีก เกิดแบบไม่น่าเกิด
ล้วนเป็นปัญหาเชิงระบบครับ
จึงต้องปรับแก้ที่ระบบ ไม่ใช่แก้ที่ปัญหา ( คม มั้ย ............ )
คำนิยามของ management System ตามข้อกำหนด ISO 9000 ; 3.2.2 management system
กำหนดว่า คือ " system (3.2.1) to establish policy and objectives and to achieve those objectives"
จะเห็นได้ว่า ระบบการจัดการ เป็นระบบเพื่อให้ ผู้บริหารระดับสูง กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย นโยบาย และทำให้สิ่งที่ตนเองกำหนดบรรลุ
หากผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนด นโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมายไว้
จึงไม่ควรแปลกใจว่า
ทำไมต้องให้ผู้บริหารระดับสูงต้องใจใส่ สนใจในการทบทวนระบบ
ที่ส่งผลให้ได้ตามที่ตนเองอยากได้ ใคร่ที่จะมี
กำหนดกรอบเวลาในการทบทวนอย่างไรดี
ท่านอาจกำหนดเป็นรายเดือน รายสามเดือน รายปี
ความถี่นี้ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของข้อมูลและธรรมชาติขององค์กร
หากข้อมูลเช่นสมรรถนะของกระบวนการผลิต ยอดขาย มีการสรุปเป็นรายเดือน
แต่ท่านทำการทบทวนข้อมูลนี้ ปีละครั้ง คงดูตลกๆ
ความถี่ วิธีการในการทบทวนนี้สามารถปรับลดหรือเพิ่มได้ ตามความจำเป็นกับธุรกิจในช่วงเวลานั้นๆ
วิธีการทบทวนต้องให้เหมาะต่อข้อมูลประเด็นทีี่่ท่านสนใจทบทวน โดยวิธีการไม่ต้องเหมือนกัน เช่นบางครั้งใช้การประชุม
บางครั้งทบทวนจากรายงาน สารสนเทศที่สรุปรายงานตามสายงาน
วัตถุประสงค์ของการทบทวนฝ่ายบริหาร เพื่อทำการมองหาความจำเป็นในการปรับปรุง
หรือ ความจำเป็นที่ต้อง ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบ กระบวนการ ของระบบ ไม่ว่าคน เกณฑ์ วิธีการ ทรัพยากร .....
ผู้บริหารระดับสูงจึงต้องดูข้อมูลที่ได้จาก ผลการประกอบการ
ผลจากระบบปัจจุบัน ว่าได้ผลตามที่อยากให้เป็นไปหรือไม่
ธรรมชาติของข้อมูลที่องค์กรมี จะมีลักษณะต่างกัน
เช่นข้อมูลบางเรื่องเป็นข้อมูลประจำเดือน บางเรื่องรายสามเดือน บางเรื่องอาจต้องรอเป็นปี
บางเรื่องก็ต้องทบทวนทันทีทันใด เช่นการวางตลาดใหม่ๆ ลูกค้าใหม่ๆ การร้องเรียนที่มี
จะรอเป็นปี ค่อยทบทวนคงไม่ได้
ท่านควรทำการทบทวนฝ่ายบริหาร ผ่านกลไกต่างๆที่มี
ไม่ว่าการประชุมประจำเดือน การทบทวนเป้าหมาย เป้าขาย
การดูรายงานสมรรถนะต่างๆที่ส่งมาตามสายงาน
รวมถึงการประชุมเฉพาะเรื่องเช่น ข้อมูลย้อนกลับจากลูกค้า
หรือมีเหตุการณ์ผิดปกติซึ่งทำให้ต้องเรียกประชุม หรือ มีการสั่งการนอกรอบปกติ
ส่วนประจำปี อาจเป็นการประชุมใหญ่ เพื่อทำการทบทวนเป้าหมายประจำปี กลยุทธฺ์ แผนธุรกิจใหม่ๆ ในปีถัดไปเป็นต้น
อย่างไรเรียกว่า ระบบบริหารคุณภาพยังคงความเหมาะสม มีความเพียงพอ และยังมีประสิทธิผล
การทบทวนเป็นการเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์
หากท่านทำการทบทวนประสิทธิผลของระบบจัดการคุณภาพ
ท่านต้องจำให้ได้ว่าทำระบบจัดการคุณภาพไปทำไม
อะไรเป็นสิ่งทึ่ท่านต้องการอะไรจากระบบของท่าน ( รู้ไหมนี่ ว่าทำระบบไปทำไม?)
หากท่านไม่มีเป้าหมายว่าทำระบบจัดการไปทำไม ท่านทำการทบทวนไม่ได้หรอก
การทบทวนของฝ่ายบริหาร เป็นการทบทวนเพื่อพิจารณาประเมินว่า
บันทึกของการทบทวน คือ บันทึกว่าท่านได้ทบทวนอะไร ท่านได้อะไรจากการทบทวน
ด้วยเหตุผลนี้
จึงต้องมีบันทึกทั้งเกณฑ์ที่ใช้
และ หลักฐานข้อมูลที่ใช้ไม่ว่าจะเป็น กราฟ ตัวเลข สถิติ รายงาน ....
บันทึกสรุปปัญหาต่างๆ ที่ท่านใช้ในการตัิดสินความเหมาะสม ความมีประสิทธิผล ความเพียงพอของระบบ
ใครที่ทำการตัดสินใจ รายละเอียดของ ผลการตัดสินใจ
อะไรที่สั่งการไป ใครรับคำสั่งการ หลักฐานการสั่งการ
ข้อมูลดิบ คำสั่ง เป็นหลักฐาน ที่ท่านแสดงว่าท่านได้ทบทวน ( จริงๆ)
ตัวอย่าง
ข้อมูลนำเข้าสำหรับการทบทวน คือข้อมูลที่ท่านใช้ในการชงเรื่อง สนับสนุนในการชงเรื่้องเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือ คงไว้
ข้อมูลนำเข้าเป็นวัตถุดิบในการชงครับ
ชงว่า ทำไมระบบนั้นระบบนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ถึงเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
ชงว่าทำไมระบบถึงเพียงพอหรือไม่เพียงพอ
ชงว่าระบบทำไมถึงมีประสิทธิผลหรือไม่มี
กับระบบ งาน กระบวนการ ที่ท่านสนใจทบทวน
ท่านต้องทบทวนตามวัตถุดิบที่มี สำหรับ การชง รอบนั้นๆครับ
สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจคือ
มาตรฐาน ISO 9001 ต้องการให้ท่านทำการทบทวนระบบครับ ไม่ใช่ทบทวนข้อมูลนำเข้า
ข้อกำหนดข้อนี้ ต้องการให้ท่านทำการตัดสินใจ หรือสั่งการว่า
ต้องกลับมาว่าใครควรเป็นคนชงเรื่อง ใครเป็นคนเสนอเรื่อง ใครเป็นคนตั้งเรื่องให้ตัดสินใจ
ปกติแล้ว คนที่รู้เรื่องระบบนั้นๆดี ย่อมเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ
หรือเป็นแม่งาน process owner ในเรื่องนั้นๆ
เช่น ระบบงานจัดซื้่อ ย่อมควรจะเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้่อ
ในการชงเรื่องว่างานของตนนั้น มีประสิทธิผลหรือไม่มีประสิทธิผล
มีความเพียงพอ หรือไม่เพียงพอ ต้องการเพิ่มเติมหรือลดในเรื่องอันใด
ก็ดูเรื่องซิครับ ว่ามีใครต้องชงเรื่องบ้าง ในการทบทวนรอบนั้นๆ
ผู้ที่หน้าที่หลักๆ ที่ต้องดูแลเรื่องนี้คือ ตัวแทนฝ่ายบริหารครับ
หน้าที่คงคล้ายๆกับเลขาในเรื่องนี้
ที่ต้อง รวบรวม สรุป แนะนำ ประสาน สนับสนุน เกริ่นนำ ให้กับฝ่ายบริหาร
เพราะหนึ่งในหน้าที่ของตัวแทนผู้บริหาร คือต้องรายงานสมรรถนะของระบบจัดการ และโอกาศในการปรับปรุง ครับผม !
สำหรับผู้ที่เป็น ตัวแทนฝ่ายบริหาร
ต้องทำตัวให้เก่งในการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้บริหารสนใจ
วิธีการในการนำเสนอ ไม่ว่ารูปภาพ การชงประเด็น วิธีการนำเสนอ เป็นทักษะที่ ตัวแทนผู้บริหารต้องพัฒนา หากต้องการให้สิ่งที่ตัวเองนำเสนอได้รับความสนใจพัฒนา
อย่ามัวแต่บ่นว่าผู้บริหารระดับสูงครับ เขาไม่โง่หรอก เขาไม่แย่หรอก หากท่านกำลังบ่นกำลังตำหนิใึครบางคน ให้ท่านรีับมองหากระจกครับผม หากท่านเสนอความคิดแต่มักไม่มีใครฟัง หรือ ท่านนำเสนอแต่มักไม่ค่อยมีคนเห็น(ด้วย)
ท่านคงต้องหันกลับไปมองที่คนชงหลักๆในองค์กรท่านครับ
เล่นที่ ตัวแทนฝ่ายบริหารก่อนเลยครับ
ว่าชงเป็นไหม เคยชงบ้างไหม รู้หน้าทีตัวเองหรือไม่
มีจริต ฝีมือ ทักษะ ในการชงเรื่องขนาดใด !
ส่วนจะเป็นปีชง ดวงชง แ้ก้ชง กันอย่างไร ก็ตัวใึครตัวมันครับผม
ว่าแต่ว่า ชงมาอร่อยแล้ว อย่าลืมกินนะครับ ท่านผู้บริหารระดับสูง ไม่งั้นคนชงจะงอนเอา
:D
แน่นอนครับ
หากผู้บริหารของท่านพูดเก่ง บริษัทท่านมักจะชอบใช้การประชุมเพื่อการทบทวน
เพราะใครจะคุยเก่งและได้พูดมากกว่าท่าน ท่านจะได้พูดตามที่อยากพูด
ดังนั้นอย่าลืมที่จะให้ท่านพูด ให้ท่านออกความเห็น
อย่าให้มานั่งเหงา มานั่งฟัง มานั่งเศร้า มานั่งเซ็งๆกับ ISO
ซักพักท่านเลยไม่สนใจจะฟัง และปลีกตัว.....
เพราะผู้บริหารระดับสูง ในประเทศเรา คงชอบพูดมั้ง
จึงมักใช้การประชุมเพืื่อการทบทวนฝ่ายบริหาร
ทั้งที่มาตรฐาน ISO 9001:2008 ไม่ได้กำหนดเช่นนั้น
ท่าน........ จึงควรทำความเข้าใจกับคำว่าประชุม
แลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริง ระหว่างผู้เข้าประชุมภายในเวลาสั้น
กำหนดสรุป นโยบาย กลยุทธ์ แนวทางในทางปฏิบัติ
หาทางแก้ปัญหาและหาข้อยุติหรือทางเลือกที่ดีที่สุด โดยการตัดสินใจร่วมกัน
เพื่อปรึกษาหารือ ระดมความคิดสร้างสรรค์ ประสานงานระหว่างบุคคล
ประเมินความก้าวหน้าของกิจกรรมที่ดำเนินการ
ทำให้เกิดความคิดร่วมกัน โดยการนำเสนอความคิดมาเสนอให้ที่ประชุมและทำให้มีโอกาสเลือกความคิดที่ดีไปใช้
เกิดความรอบคอบในการตัดสินใจ เนื่องจากต้องมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยให้เหตุผลข้อมูลประกอบ เพื่อให้การตัดสินใจแต่ละเรื่องรอบคอบรัดกุม
ช่วยให้กระจายข่าวสารเรื่องราวต่างๆไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยประสานงาน ประสานความคิด และสร้างความเข้าใจได้ดีระหว่างผู้เข้าประชุม เกิดความร่วมมือซึ่งกันและกันถ้อยทีถ้อยอาศัย สร้างความสัมพันธภาพกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
คุยในเรื่องวิธีการดำเนินการแก้ปัญหาในมุมมองที่ต่างกัน ทำให้เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
ทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆ กระบวนการใหม่ๆ จากการเสนอความคิดในห้องประชุม
ช่วยในการมอบหมายงาน และติดตามความคืบหน้าในการทำงาน การประชุมมีการจดบันทึกและทำให้สามารถติดตามมความคืบหน้าได้ และหากมีปัญหาอุปสรรคจะได้ช่วยกันแก้ไข
วัตถุประสงค์การประชุม |
|
การประชุมเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร |
ทำเพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ วิธีการทำงาน ใช้เวลาสั้นๆ ก่อนอาหาร หรือ หลังเลิกงาน |
การประชุมเพื่อระดมความคิด |
ร่วมกันวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไข เพื่อระดมค้นหาวิธีในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การลดค่าใช้จ่าย วิธีเพิ่มกำไร ใช้กับทุกระดับ คนประมาณ 10 คน |
การประชุมเพื่อร่วมกันตัดสินใจ |
ผู้นำการประชุมเป็น TOP สมาชิกเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีอำนาจตัดสินใจสั่งการในระดับปฏิบัติตามต่างๆ ต้องตัดสินใจ แก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ การเลือกระบบ ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานเป็นทีม เรียนรู้ซึ่งกันและกัน |
การประชุมเพื่อสอนงานและการฝึกอบรม |
ค่าใช้จ่ายสุง เสียเวลา อบรม |
ประชุมในหน่วยงาน meeting staff meeting |
พบปะหารือกันในหน่วยงานเป็นการภายใน เพื่อกำหนดการทำงานหรือปรับปรุงแก้ไขปัญหาของหน่วยงาน ซึ่งนำการประชุมโดยหัวหน้างาน |
ประชุมปรึกษาหารือ conference |
หาแนวทางปฏิบัตัติยุติ เพื่อแถลงผลปฏิบัติการ รวบรวมองค์ความรุ้ |
ประชุมสัมมนา seminar |
แลกเปลี่ยนความรู้ แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ มีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ |
ประชุมเชิงปฏิบัติการ workshop อภิปรายกลุ่ม panel discussion |
มีผุ้ให้ความรู้ ชี้แนะ ตั้งประเด็น ให้คนในกลุ่มเสนอแสดงความคิด ความรู้ใหม่ๆ เรื่องที่ตนเชี่ยวชาญ |
5.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร
5.6.1 บททั่วไป
ผู้ บริหารระดับสูงต้องทำการทบทวนระบบบริหารคุณภาพขององค์กรตามระยะเวลาที่กำหนด ไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบบริหารคุณภาพยังคงความเหมาะสม มีความเพียงพอ และยังมีประสิทธิผล การทบทวนของฝ่ายบริหารนี้ต้องครอบคลุมถึงการประเมิน โอกาสในการปรับปรุง และ ความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนระบบบริหารคุณภาพ ซึ่งรวมถึงนโยบายคุณภาพ และ วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ บันทึกของการทบทวนของฝ่ายบริหารต้องมีการเก็บรักษา (ดูข้อ 4.2.4)
5.6.2 ข้อมูลสำหรับการทบทวน (Review input)
ข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาการทบทวนของฝ่ายบริหารประกอบด้วย
5.6.3 ผลจากการทบทวน (Review output)
ผลจากการทบทวนของฝ่ายบริหาร ต้องรวมถึง การตัดสินใจ และ การดำเนินการ ที่เกี่ยวกับ
-END-