ผู้บริหารสูงสุดต้องแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำและความมุ่งมั่นต่อระบบการบริหารคุณภาพโดย:
หมายเหตุ: อ้างอิงคำว่า “ธุรกิจ “ ตามมาตรฐานสากลฉบับนี้สามารถตีความกว้างหมายรวมถึง กิจกรรมใดๆที่ซึ่งเป็นหลักของการดำรงคงอยู่ขององค์กร ไม่ว่าองค์กรจะเป็น ภาครัฐ เอกชน สำหรับทำกำไรและไม่ทำกำไร
……………………………..
ใครคือผู้บริหารระดับสูง
ตามนิยาม ผู้บริหารระดับสูงคือ คนหรือกลุ่มคนที่ซึ่งสั่งการและควบคุมองค์กรในระดับสูงสุด (person or group of people who directs and controls an organization at the highest level)
มาตรฐานต้องการให้ ผู้บริหารสูงสุดต้องแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ....... ต่อระบบการบริหารคุณภาพ(5.1.1ทั่วไป)
ความเป็นผู้นำเป็นข้อกำหนดใหม่ที่มาตรฐานกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงต้องปฏิบัติ
การแสดงข้อผูกพัน การมุ่งมั่น และการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้บริหารสูงสุดอย่างเอาการเอางาน คือ หัวใจสำคัญในการพัฒนาและคงไว้ซึ่งระบบบริหารคุณภาพที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อบรรลุถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ทำให้องค์กรมีความยั่งยืน แข่งขันได้ และเพิ่มความพึงพอใจแก่ลูกค้า เพื่อให้บรรลุถึงผลประโยชน์นี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องใส่ใจกับระบบการบริหารคุณภาพ
สิ่งที่ผู้บริหารสูงสุดควรพิจารณางานในส่วนตนเอง มีหลากหลายเช่น
มากกว่านั้น ไม่มีใครควรรับผิดชอบต่อองค์กรมากกว่าผู้บริหารระดับสูง ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารสูงสุดควรเป็นผู้ริเริ่มใส่ใจในการกำหนด วิธีการวัดสมรรถนะขององค์กร เพื่อพิจารณาว่าวัตถุประสงค์ที่วางแผนไว้บรรลุผลสำเร็จหรือไม่ซึ่งวิธีการวัดสมรรถนะนี้อาจประกอบด้วย
ไม่มีใครควรรับผิดชอบต่อองค์กรมากกว่าผู้บริหารระดับสูง |
การวัดภายนอก เช่น เทียบกับผู้ที่ดีที่สุด และประเมินโดยหน่วยงานที่สาม
สารสนเทศที่ได้มาจากการวัดและการประเมินผลเหล่านั้นควรได้รับการพิจารณาใช้เป็นข้อมูลป้อนเข้าสู่การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า การปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่องคือ แรงขับเคลื่อนการพัฒนาสมรรถนะขององค์กร
สำหรับผู้บริหาร ประเด็นที่นำมาพิจารณาเมื่อมีการพัฒนา การนำไปปฏิบัติ และการบริหารระบบบริหารคุณภาพขององค์กร ผู้บริหารสูงสุดควรแสดงออกถึงการนำ และ ข้อผูกพันต่อกิจกรรมดังต่อไปนี้
นอกเหนือไปจากการปรับปรุงเพียงเล็กน้อยหรือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสูงสุดควรพิจารณาการเปลี่ยนแปลงกระบวนการอย่างก้าวกระโดดในฐานที่เป็นแนวทางหนึ่งของการปรับปรุงสมรรถนะขององค์กร ระหว่างการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวฝ่ายบริหารต้องดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า มีทรัพยากร และ การสื่อสารที่จำเป็นเพื่อคงรักษาการทำหน้าที่ของระบบริหารคุณภาพ
เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ผู้บริหารสูงสุดควรระบุถึง กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ขององค์กร ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้บริหารสูงสุดควรระบุถึงกระบวนการสนับสนุนซึ่งมีผลต่อทั้งประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายบริหารควรสร้างความเชื่อมั่นว่ากระบวนการดำเนินการในลักษณะข่ายงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ฝ่ายบริหารควรวิเคราะห์และทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกัน หมายรวมทั้งที่เป็นกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และกระบวนการสนับสนุน
สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงควรกระทำในเรื่องเหล่านี้ คือ :
- สร้างความเชื่อมั่นว่า ขั้นตอนและความเกี่ยวข้องของกระบวนการได้รับการออกแบบเพื่อให้บรรลุผลตามที่ตั้งใจไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- สร้างวามเชื่อมั่นว่าปัจจัยป้อนเข้า กิจกรรมที่ทำและผลลัพธ์ถูกกำหนดไว้ชัดเจน และมีการควบคุม
- เฝ้าติดตามปัจจัยป้อนเข้า และผลลัพธ์ เพื่อทวนสอบว่าแต่ละกระบวนการมีการเชื่อมต่อกันและดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
- ระบุและบริหารความเสี่ยง และแสวงหาผลประโยชน์จากโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะ
- ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
- ระบุผู้เป็นเจ้าของกระบวนการและมอบหมายอำนาจและความรับผิดชอบเต็ม
- บริหารแต่ละกระบวนการให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการ และ
- ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
มาตรฐานต้องการให้ ผู้บริหารสูงสุดต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อระบบการบริหารคุณภาพ(5.1.1ทั่วไป)
อะไรคือความมุ่งมั่น
ความมุ่งมั่นเป็นภาระผูกพันที่บุคคล(หรือบริษัท)ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะมีได้ต่อเมื่อมีข้อตกลง ประกาศว่าว่าจะทำสิ่งใดและได้ทำสิ่งนั้นจริง การมุ่งมั่นในใจที่ไม่แจ้งบอกกล่าวให้ผู้อื่นทราบจะไม่มีข้อผูกพันใดที่จะต้องปฏิบัติตามและอาจหลงลืมตามเวลาการตรวจสอบวามีความมุ่งมั่นนั้นหรือไม่นั้นง่ายต่อการตรวจสอบและทดสอบจากผลจากการกระทำที่ผ่านมา คนส่วนมากที่ไม่มีความมุ่งมั่นคือยุ่งอยู่กับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยหวังว่าปัญหาอาจหายไปในวันใดวันหนึ่ง โดยไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรกระทำอย่างตั้งใจเพียงพอ
การกระทำสิ่งที่ท่านต้องทำเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์กร ไม่ว่า ทำสิ่งที่ท่านพูดว่าท่านจะทำ ไม่ยอมรับผลการทำงานต่ำที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่จัดส่งสินค้าที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่แก้ปัญหาไปวันๆ ไม่มองข้ามข้อผิดพลาด การปรับปรุงกระบวนการ การยึดถือตามแผนงาน กระบวนการ นโยบาย และ สัญญา
มุ่งมั่นต่อระบบการบริหารคุณภาพ
ระบบการบริหารคุณภาพคือ กิจกรรมในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ นโยบาย เป้าหมาย กระบวนการ เพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
ในเมื่อหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงคือการสั่งการควบคุมองค์กรในระดับสูงสุด
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องใส่ใจ สั่งการ ติดตาม ดูแลระบบการบริหารคุณภาพ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ บรรลุสมรรถนะตามต้องการ
สิ่งที่สามารถแสดงว่าผู้บริหารระดับสูงมีความมุ่งมั่นต่อระบบการบริหารคุณภาพเช่น
5.1 a) เป็นผู้มีภาระรับผิดชอบต่อประสิทธิผลของระบบการบริหารคุณภาพ
การเป็นผู้มีภาระรับผิดชอบ (Accountability) เป็นมากกว่าความรับผิดชอบตามหน้าที่ ( Responsibility) เป็นจิตสำนึกในความรับผิดชอบ
การกระทำแบบขอไปที 'เช้าชามเย็นชาม' การแสดงอาการไม่รู้ไม่ชี้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับตัวเอง การกระทำอย่างนี้เรียกว่าไม่มีภาระรับผิดชอบ
คนที่ไม่มีภาระรับผิดชอบจะเป็นคนประเภทที่ชอบโทษว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นต่างๆ ในองค์กรมาจากตัวองค์กรเอง และมาจากผู้อื่นซึ่งไม่ได้เกิดมาจากตนเอง หรือมีประเภทที่มักปฏิเสธงานโดยอ้างว่าไม่มีความรู้ ไม่เคยทำงานนั้นมาก่อน หรือเรียกง่ายๆ ว่าโบ้ย มากกว่านั้นคนที่ไม่มีภาระรับผิดชอบมักจะมีความคาดหวังและแสดงความต้องการที่จะได้รับสิ่งต่างๆอยู่เสมอ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นสภาพความเป็นจริงหรือผลงานที่ตัวเองทำ
ภาระต่อประสิทธิผลของระบบการบริหารคุณภาพ แปลว่า ห้ามแสดงอาการไม่รู้ไม่ชี้ต่อระบบการบริหารคุณภาพว่าจะได้ผลหรือไม่ได้ผล หากระบบการบริหารคุณภาพไม่ได้ผลก็เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องจัดการให้ได้ผลตามประสงค์
ประสิทธิผลของระบบการบริหารคุณภาพ จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่องค์กรนั้นๆว่าคาดหวังผลอะไรจากระบบการบริหารคุณภาพ ผลที่ต้องการจากระบบการบริหารคุณภาพจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารขององค์กรต้องทำการกำหนด เพื่อวางระบบให้บรรลุตามเป้าประสงค์นั้น ตัวอย่างผลที่ต้องการจากระบบการบริหารคุณภาพ ดังต่อไปนี้ เป็นต้น
5.1 b) มั่นใจว่านโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์คุณภาพ ได้มีกำหนดขึ้นสำหรับระบบการบริหารและ สอดรับ (compatible) กับทิศทางกลยุทธ์ และ บริบทขององค์กร
นิยามนโยบายคุณภาพคือ เจตนาและคำสั่งการโดยรวมที่เป็นทางการโดยผู้บริหารระดับสูง คงเป็นเรื่องพิกลที่ผู้บริหารระดับสูงจะไม่ใส่ใจ หรือไม่ได้เป็นผู้จัดกำหนดสาระของนโยบายนี้
นโยบายนี้กำหนดขึ้นสำหรับระบบการบริหาร จึงจำต้องเป็นนโยบายที่เป็นการเฉพาะสำหรับกำหนดทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไป สิ่งที่องค์กรต้องการที่จะบรรลุจากระบบการบริหารของตน
หลักฐานอาจจะหมายถึงการที่ผู้บริหารคับสูงอธิบายได้ ว่าทำไมถ้อยแถลงนโยบายถึงต้องเป็นอย่างที่เป็นอยู่ อะไรที่ต้องการบรรลุจากนโยบาย และเกี่ยวพันกับกลยุทธ์องค์กรอย่างไร เหมาะสมกับองค์กรด้านไหน มีความสอดคล้องกับนโยบายด้านอื่นๆอย่างไร เป็นต้น รายละเอียดในเรื่องนโยบายคุณภาพจะกล่าวอีกที่ในภายหลัง
5.1 C) มั่นใจว่ามีการบูรณาการข้อกำหนดของระบบการบริหารคุณภาพเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร
กระบวนการทางธุรกิจคือกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ เป็นที่น่าสนใจว่าทำไม มาตรฐาน ISO9001 ไม่ใช้คำว่ากระบวนการที่จำเป็นในระบบการบริหารคุณภาพ แต่ใช้คำว่ากระบวนการทางธุรกิจ
กรณีที่ท่านมิได้ใช้ระบบการบริหารคุณภาพในงานประจำวันของบริษัท มีกระบวนการ มีงานที่นอกการควบคุมของระบบการบริหารคุณภาพ เช่นหากในการดำเนินธุรกิจท่านได้กระทำการวางแผนทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด การวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เทียบเคียงกับคู่แข่ง แต่ไม่ได้ครอบคลุมควบรวมในระบบการบริหารคุณภาพ ผู้บริหารระดับสูง คงต้องมีเหตุผลที่ดีในการที่ให้มีกระบวนการทางธุรกิจให้อยู่นอกเหนือระบบการบริหารคุณภาพ
5.1 d) ส่งเสริมความตระหนักในเรื่องการจัดการเชิงกระบวนการและความคิดเชิงความเสี่ยง
มาตรฐานต้องการให้ผู้บริหารระดับสูงทำการส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีความตระหนัก ความตระหนักต่างจากความรู้ ความตระหนักเป็นเรื่องของพฤติกรรมส่วนบุคคลในการตัดสินใจกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง กระบวนการสร้างให้บุคลากรมีความตระหนักจะต่างจากกระบวนการในการเสริมสร้างให้มีความรู้
ตระหนักในเรื่องการจัดการเชิงกระบวนการ
เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องทำให้พนักงานในองค์กรมีอุปนิสัยในการยึดเป้าหมายเป็นตัวตั้งเพื่อการจัดการ
การจัดการเชิงกระบวนการคือ การจัดการกับ”กลุ่มของกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ในการใช้ปัจจัยเข้าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเจตนา”
เป็นการจัดการที่นำผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการเป็นตัวตั้ง ทำให้เป็นภาพที่ชัดเจนถึงผลลัพธ์และทำการระบุผลลัพธ์ที่ต้องการออกมาให้ชัดเจน ซึ่งหากผลลัพธ์ที่ต้องการได้ชัดเจนก็จะสามารถแปลมาเป็นวิธีการที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้นได้ง่าย เพราะจะเห็นว่าสิ่งใดที่จะทำให้มุ่งสู่เป้าหมายได้และสิ่งใดไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่เราต้องการได้อย่างรวดเร็วและไม่หลงทาง
ตระหนักในเรื่อง ความคิดเชิงความเสี่ยง
เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องทำให้พนักงานในองค์กรมีอุปนิสัยในการป้องกันปัญหาก่อนที่ปัญหาจะเกิด ซึ่งคำว่าปัญหาในที่นี้หมายรวมถึงการไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดต่างๆรวมลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย การไม่บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายของกระบวนการ และของผลิตภัณฑ์
ความคิดเชิงความเสี่ยงเป็นเรื่องของการปฏิบัติการป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิด โดยการกำหนดมาตรการ วิธีการในการขจัดสาเหตุของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด สิ่งที่ทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายองค์กรที่ซ่อนแฝงอยู่ เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆ การไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เป้าหมายต่างๆขององค์กร โดยองค์กรต้องทำการค้นหาสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่อาจจะเกิดขึ้นและสาเหตุ และทำการประเมินความจำเป็นในการป้องกันการเกิดของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายขององค์กร
อธิบายท้ายบท
อะไรคือ "ความคิดเชิงความเสี่ยง"
มาตรฐาน ISO9001 กำหนดให้องค์กรต้องทำความเข้าใจบริบทองค์กรตามข้อ 4.1 และให้ทำการพิจารณาความเสี่ยงเพื่อเป็นพื้นฐานในการวางระบบการบริหารคุณภาพ โดยการจัดทำ กำหนดมาตรการควบคุมและนำกระบวนการไปปฏิบัติ (4.4) และช่วยให้องค์กรสามารถใช้ความเสี่ยงนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าอะไรบ้างที่ต้องจัดทำให้เป็นเอกสารสารสนเทศ
ระบบการบริหารคุณภาพเป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการ และเป็นเครื่องมือเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่มีข้อกำหนดสำหรับกิจกรรมการป้องกันเป็นการเฉพาะ เพราะกิจกรรมการป้องกันได้ถูกนำมาใช้ในชื่อ”ความคิดเชิงความเสี่ยง” ในการจัดวางระบบการบริหารคุณภาพ
ความคิดเชิงความเสี่ยงนี้ทำให้มาตรฐานสามารถลดข้อกำหนดเชิงบังคับให้น้อยลง และทดแทนด้วยข้อกำหนดที่เน้นสมรรถนะแทน ซึ่งทำให้มาตรฐาน ISO9001 มีความยืดหยุ่นกว่าในอดีต ไม่ว่าเรื่อง กระบวนการ เอกสาร และ ความรับผิดรับชอบ
ข้อกำหนด 6.1 กำหนดว่าองค์กรต้องวางแผนในการจัดการกับความเสี่ยง แต่ไม่มีข้อกำหนดสำหรับการประเมินความเสี่ยงที่เป็นทางการแต่อย่างไร องค์กรจึงสามารถกำหนดเองได้ว่าต้องการให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงหรือไม่ มากน้อยซับซ้อนเพียงใด
กระบวนการแต่ละกระบวนการในระบบการบริหารคุณภาพ ไม่มีระดับความเสี่ยงที่เท่ากันต่อองค์กรในการบรรลุวัตถุประสงค์ และผลกระทบของความไม่แน่นอนย่อมไม่เท่ากันในแต่ละองค์กรแม้เป็นเรื่องเดียวกันก็ตาม ข้อกำหนดข้อ 6.1 ให้องค์กรใช้หลักการเชิงความเสี่ยงและจัดการกับความเสี่ยงแต่ไม่ได้กำหนดให้ต้องเก็บบันทึกเพื่อเป็นหลักฐานการพิจารณาความเสี่ยงแต่อย่างใด