ISO22301 | การเพิ่มความอยู่รอดของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง

การเพิ่มความอยู่รอดของอาคารและสิ่งปลูกสร้างด้วยการบรรเทาผลกระทบ (Improve Facility and Property Survivability Through Mitigation)


Stephen Flynn ชี้ให้เห็นว่า "เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกาที่ใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน พื้นที่ที่พวกเขาอาศัยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว, ภูเขาไฟระเบิด, ไฟป่า, พายุเฮอร์ริเคน, น้ำท่วม และอันตรายจากกระแสลมแรง ในระดับปานกลางถึงระดับสูง"1
ผู้ควบคุมดูแลอาคารและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ในด้านการรักษาและป้องกันอาคารและสิ่งปลูกสร้างจากภัยพิบัติ ความพยายามในการบรรเทาผลกระทบสามารถช่วยในเรื่องความอยู่รอดของโครงสร้างในระหว่างและหลังจากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติผ่านพ้นไป กรอบของอาคาร (building envelope) คือส่วนที่มีความสำคัญที่สุดที่ต้องให้ความสนใจเนื่องจากส่วนนี้สามารถเสียหายได้ง่าย สภาพอากาศ(ลมและน้ำ)สามารถทำให้เกิดความเสียหายได้ บริเวณที่เสียหายง่ายนี้ประกอบด้วย หน้าต่าง, ระบบหลังคา, และระบบป้องกันฟ้าผ่า

หน้าต่าง

หน้าต่างเป็นส่วนที่มีความเปราะบางในช่วงที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะกระจกหน้าต่างสามารถปลิวเข้าหรือออกและแตกละเอียดได้ กระจกที่แตกในลักษณะของเศษกระจกหรือที่กระเด็นออกไป สามารถสร้างความอันตรายให้แก่ผู้ที่เดินผ่านไปมาหรือทรัพย์สินอื่นๆได้ เมื่อหน้าต่างได้รับความเสียหายหรือหายไป จะทำให้เกิดช่องเปิดว่าง สภาพอากาศที่เลวร้ายสามารถผ่านเข้ามาและทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ มีสองวิธีที่สามารถบรรเทาความอันตรายจากเศษกระจกที่กระเด็นไปมาได้: คือการติดตั้งฟิล์มติดหน้าต่าง (window film) หรือติดตั้งผ้าม่านป้องกันการระเบิด (blast curtain)
1. ฟิล์มติดหน้าต่าง (Window film) ฟิล์มติดหน้าต่างส่วนใหญ่จะเป็นฟิล์มพลาสติกใส ซึ่งติดเข้ากับด้านในของกระจก ฟิล์มนี้สามารถย้อมสีได้เพื่อเพิ่มการป้องกันจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต นอกจากนี้ ฟิล์มนี้ยังมีประโยชน์ช่วยประหยัดสาธารณูปโภค ด้วยการลดความร้อนและภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของฟิล์มนี้คือสามารถยับยั้งการกระเด็นของเศษแก้วจากการแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ
2. ผ้าม่านป้องกันการระเบิด (Blast curtains) ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงสูง ผ้าม่านป้องกันการระเบิดอาจจะดูเหมือนกับผ้าม่านทั่วๆไป แต่วัสดุที่ใช้ผลิตสามารถดูดซับและยับยั้งการกระเด็นของเศษกระจกที่อาจจะคร่าชีวิตได้ ผ้าม่านชนิดนี้ติดตั้งและถอดออกได้ง่าย จึงสามารถใช้งานในอาคารแบบเช่าได้และมีราคาไม่แพง ผ้าม่านชนิดนี้ยังให้การป้องกันที่ดีกว่าฟิล์มติดหน้าต่าง เนื่องจากมันสามารถทนทานต่อแรงระเบิดที่รุนแรง

ระบบหลังคา (Roofing Systems)

สภาพอากาศที่เลวร้ายสามารถสร้างความเสียหายให้กับหลังคาได้ ความเสียหายนี้ทำให้น้ำและลมเข้ามาภายในและอาจจะทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง สำหรับหลังคาแบบเรียบ (flat roof) กระแสลมสามารถดึงรอยต่อหลังคาทำให้น้ำซึมเข้าไปได้ หลังคาเรียบสามารถถูกเจาะได้จากการล่วงหล่นของกิ่งไม้ซึ่งทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปได้ ท่อระบายน้ำและทางไหลของน้ำบนหลังคาควรได้รับการตรวจสอบก่อนเกิดพายุซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพื่อทดสอบว่าใช้งานได้หรือไม่ ท่อที่อุดตันจะทำให้เกิดน้ำขังปริมาณมากซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลให้น้ำรั่วไหลหรืออาจจะเกิดการพังพลายลงมา ทำการซ่อมแซมชั่วคราวหากเป็นไปได้ แต่โปรดระวังเรื่องความปลอดภัย ควบคุมการกระจายของน้ำไว้จนกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านระบบหลังคาจะทำการซ่อมแซมอย่างถาวร
การตรวจดูระบบหลังควรทำเป็นระยะๆตามกำหนดเวลา ซึ่งจะส่งผลต่อรายการการซ่อมแซมที่แนะนำหรือการดำเนินการแก้ไข คำแนะนำนี้สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายและรวมในค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณถัดไปของผู้ควบคุมดูแลอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
องค์กรควรมีโปรแกรมการบำรุงรักษาระบบหลังคาในเชิงป้องกันเป็นประจำ การบำรุงรักษาต่อไปนี้ควรถูกนำไปปฏิบัติเป็นประจำตามตารางเวลา หรือ อาจจะทำปีละสองครั้ง
1. ทำความสะอาด เศษขยะ, กิ่งไม้, ใบไม้, ต้นไม้ และ วัตถุแปลกปลอมอื่นๆ จากหลังคา มากกว่าสองครั้งต่อปี
2. ตัดแต่งต้นไม้ที่ใกล้กับหลังคาและต้นไม้ที่สามารถสร้างเศษขยะไว้บนหลังคา
3. ทำความสะอาดท่อและทางระบายน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้
4. ตรวจสอบความมั่นคงของหลังคาและเพิ่มเติมจุดที่โล่ง/ซ่อมแซมจุดที่รั่ว
5. ทดสอบแผ่นกันความชื้นหลังคา (roof membrane) ว่าฉีกขาดหรือเป็นรูหรือไม่
6. อัพเดทฐานข้อมูลการตรวจสอบหลังคาองค์กร

ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection Systems)

จุดประสงค์ของระบบป้องกันฟ้าผ่า คือ การทำให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของอาคารและผู้ใช้งาน ในกรณีที่ฟ้าผ่าลงมาที่โครงสร้าง ระบบป้องกันมีเส้นทางที่ทำให้สายฟ้าที่ผ่าลงมาเคลื่อนที่ไปที่พื้นดิน ในกรณีที่ไม่มีการป้องกันนี้ เมื่อฟ้าผ่าลงมีที่ตึกกระแสไฟฟ้าจะไหลไปยังเส้นทางต่างๆ, หรือตามตัวนำไฟฟ้าและไปยังพื้นดิน เส้นทางหรือตัวนำไฟฟ้าเหล่านี้ประกอบด้วย สายไฟ, ท่อน้ำ, ท่อแก๊ส, สายโทรศัพท์, สายเคเบิลต่างๆ หรือแม้กระทั้งตะปูภายในผนัง ระบบป้องกันฟ้าผ่าควรได้รับการตรวจสอบเป็นระยะๆตามกำหนดเวลาทั้งด้านการทำงานและการสูญหาย ขั้วของระบบป้องกันที่ติดตั้งไม่ดีจะแกว่งไปตามกระแสลมแรง และสามารถสร้างความเสียหายให้กับหลังคาได้ ขั้วและสายเคเบิลของระบบป้องกันฟ้าผ่าทำจากทองแดงซึ่งเป็นโลหะที่มีมูลค่าอาจจะสูญหายได้