Login Form

การตีความข้อกำหนด ISO14001:2015 ข้อ 10

2020-12-09 15-05-16

 

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี่

 

10 การปรับปรุง

10.1 ทั่วไป /  10.2 สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและกิจกรรมการแก้ไข

 

ทั่วไป

 

ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของความไม่สอดคล้องซึ่งองค์กรต้องจัดทำระเบียบปฏิบัติเพื่อพิจารณาถึงความสอดคล้องกับระบบฯ ที่องค์กรได้กำหนดขึ้น องค์กรอาจจะมีการกำหนดแผนอย่างกว้างๆ ในการจัดการกับปัญหาที่พบ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเป็นกิจกรรมการแก้ไขในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งต้องเหมาะสมกับระดับปฏิบัติต่างๆ

ข้อบกพร่องคืออะไร

มีข้อบกพร่องในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมคำกล่าวนี้ไม่มีองค์กรใดต้องการได้ยินจากผู้ตรวจประเมินหรือผู้จัดการ จะเห็นได้ว่าไม่มีใครจงใจจะทำให้เกิดข้อบกพร่อง แต่ว่าถ้ามองใน   แง่บวกการค้นพบข้อบกพร่องคือโอกาสที่องค์กรจะได้ปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและ ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยรวม ในมุมมองของผู้ตรวจประเมิน

ข้อบกพร่องมี 2 ชนิด คือข้อบกพร่องหลักและข้อบกพร่องเล็กน้อย

ข้อบกพร่องหลัก

เป็นข้อบกพร่องที่ทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อความมั่นคงและความมีประสิทธิผลของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มีตัวอย่างดังนี้ :

  • ข้อกำหนด ISO 14001 ที่ไม่ได้นำไปปฏิบัติ เช่น ขาดแผนงานการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างมีประสิทธิผล หรือความล้มเหลวของการจัดทำเอกสารกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • ไม่ได้จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน เช่น ไม่มีขั้นตอนการตอบข้อซักถามและข้อร้องเรียนจากหน่วยงานภายนอก หรือขาดขั้นตอนการควบคุมเอกสารที่มีประสิทธิผล
  • ความล้มเหลวในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่อง
  • ข้อบกพร่องเล็กน้อยหลายๆข้อรวมกัน

 

ข้อบกพร่องเล็กน้อย

เป็นข้อข้อบกพร่องที่ไม่ส่งผลเสียหายรุนแรงต่อการดำเนินงานของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น :

  • มีบุคคลจำนวน 1 คนหรือ2-3 คน(จากจำนวนมาก)ที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้องซึ่งอาจส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือทำให้การปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ทันสมัยตามกำหนดการขององค์กรล้มเหลว
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ต้องการการปรับปรุงอีกเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เกิดประสิทธิผล เช่น ไม่มีการปรับปรุงรายการกฎหมาย ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา หรือผู้รับเหมาไม่ได้รับข้อมูลตามข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • การบันทึกไม่สมบูรณ์ เช่น บันทึกการซ่อมบำรุงเครื่องจักรบำบัดกากของเสียขาดหายไป (แต่ไม่มีหลักฐานว่าเครื่องจักรนั้นเสีย ซึ่งหากเครื่องจักรเสียก็จะเป็นข้อบกพร่องหลัก) หรือการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมเรื่องความตระหนักในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สมบูรณ์ (แต่ได้จัดการฝึกอบรม มิฉะนั้นแล้วจะกลายเป็นข้อบกพร่องหลัก)

 

การดำเนินการป้องกันและแก้ไขคืออะไร

การแปลความหมายนิยามของการป้องกันและการแก้ไขมีที่แตกต่างกันอยู่เล็กน้อย ความหมายอย่างเป็นทางการตามมาตรฐาน ISO การปฏิบัติการแก้ไข คือการกระทำหลังจากเกิดความบกพร่องหรือเกิดอุบัติการณ์ทางสิ่งแวดล้อมหรือเหตุฉุกเฉินขึ้น เป็นการกระทำเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์เดิมซ้ำหรือเกิดข้อบกพร่องหรือสถานการณ์ฉุกเฉินซ้ำอีก ส่วนการปฏิบัติการป้องกัน ตามความหมายของ ISO หมายถึง การกระทำล่วงหน้าเพื่อป้องกันข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น

สำหรับคำนิยามที่มีผู้อื่นให้ไว้กล่าวว่า การปฏิบัติการแก้ไขคือการปฏิบัติทันทีหลังค้นพบข้อบกพร่องหรืออุบัติการณ์หรือเหตุฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและควบคุมสถานการณ์ให้ได้ ส่วนการปฏิบัติการป้องกัน คือ การดำเนินตามขั้นตอนเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาและนำไปเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อกำจัดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาซ้ำ การปฏิบัติการป้องกันอาจเป็นการกำจัดต้นตอข้อบกพร่องหรืออุบัติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกับคำนิยามของ ISO 14001

คำนิยามทั้งสองกลุ่มนั้นมีความมุ่งหมายเหมือนกันคือ การปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขนั่นคือ :

  • เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • ต้องกระทำทันที
  • ต้องอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบและความเข้าใจสาเหตุของปัญหา

จะทำการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขอย่างไร

ขั้นตอนต่อไปนี้สามารถใช้ระบุ สืบสวนและวิเคราะห์หาสาเหตุ แล้วทำการตัดสินใจและนำไปปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขสำหรับข้อบกพร่องในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

  1. ระบุข้อบกพร่องในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมจากการตรวจตราเป็นประจำ หรือการติดตามตรวจสอบ การตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์แนวโน้ม การสังเกตของพนักงานหรือผู้บริหาร ข้อร้องเรียน ประสบการณ์หรือวิธีการอื่นๆ
  2. สืบสวนปัญหาโดยทีมงานที่มีความรู้รวมทั้งพนักงานที่ปฏิบัติการใกล้ชิดกับเหตุการณ์ในพื้นที่มีปัญหา และบุคคลที่มีอำนาจและนำวิธีการแก้ไขปัญหาไปปฏิบัติ การสืบสวนเป็นการค้นหาสาเหตุของปัญหา แจกแจงปัญหาอย่างเป็นระบบ และไม่ยึดติดอยู่กับอาการปัญหาภายนอกหรือ แก้ไข(อย่างรวดเร็ว)โดยวิธีทางวิศวกรรม
  3. วิเคราะห์ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและถูกต้อง ตรวจสอบวิธีการแก้ปัญหาหลายๆวิธี แล้วเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลและยืนนานมากที่สุด จากข้อกำหนด ISO 14001 เสนอว่าการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขต้องมีน้ำหนักเพียงพอที่จะสามารถแก้ไขปัญหาใหญ่ๆได้และต้องมีขอบเขตกว้างขวางเพียงพอที่จะลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมใดๆได้(กล่าวคือ เหมาะสมกับความรุนแรงของปัญหาและลักษณะของผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ในแง่ของกฎหมาย การป้องกันและแก้ไขเป็นเรื่องของความขยันหมั่นเพียร กล่าวโดยสรุปวิธีการแก้ไขปัญหาควรแก้ที่สาเหตุซึ่งจะทำให้ปัญหาหมดไป
  4. นำแผนปฏิบัติการและหมายกำหนดการไปใช้ในการแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยกำหนดบุคคลที่รับผิดชอบ แผนปฏิบัติการนี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานการจัดการสิ่งแวดล้อม
  5. ต้องติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอถึงความก้าวหน้าในการนำการป้องกันและการแก้ไขไปปฏิบัติที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
  6. การเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการปฏิบัติงานใดๆที่เป็นผลมาจากการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต้องจัดทำเป็นเอกสารและบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องได้รับทราบและได้ฝึกอบรมขั้นตอนการปฏิบัติงานใหม่นี้

 

ข้อบกพร่องในมุมมองของผู้ให้ใบรับรอง ISO14001

ถ้าหากมีการตรวจพบข้อบกพร่องหลักในระหว่างการตรวจประเมิน ก็จะเลื่อนการออกใบรับรอง ISO 14001 ออกไปจนกว่าจะได้แก้ไขข้อบกพร่องนั้น การแก้ไขและการตรวจประเมินต้องทำภายใน 90 วัน มิฉะนั้นแล้วจะต้องทำการตรวจประเมินใหม่ทั้งหมด ทำให้ยืดระยะเวลาการได้รับใบรับรองออกไปอีก สำหรับข้อบกพร่องเล็กน้อย ผู้ตรวจประเมินจะขอให้เขียนเป็นแผนงานการแก้ไขปัญหาภายใน 60 วัน ถ้าแผนนั้นส่งภายในกำหนดและเป็นที่พอใจ ผู้ตรวจประเมินอาจให้ดำเนินการออกใบรับรอง ISO 14001 ต่อไป ส่วนการตรวจสอบว่าได้มีการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขแล้วจะดำเนินการในการตรวจประเมินครั้งต่อไป โดยปกติคือ ภายใน 6 เดือน

การพิจารณาข้อบกพร่องขั้นสุดท้าย

โดยธรรมชาติแล้วระบบเป็นเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ความล้มเหลวหรือมีจุดอ่อนที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบจะส่งผลกระทบถึงส่วนอื่นๆไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การแก้ไขความบกพร่องของข้อกำหนดข้อหนึ่งของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างทันการณ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการคงอยู่ของทั้งระบบ โดยปกติแล้วปัญหาหนึ่งจะชักนำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา ความล้มเหลวของการจัดการกับปัญหาอย่างทันทีอาจจะทำให้ระบบล้มเหลวด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สรุปประเด็นสำคัญ

องค์กรควรบ่งชี้โอกาสในการปรับปรุงตามผลที่ได้จาก

$1o   การสังเกตการณ์ การวัดผล การวิเคราะห์และการประเมินเกี่ยวกับประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง(ดูที่ข้อ 9.1);

$1o   การตรวจติดตามระบบบริหารสิ่งแวดล้อม (ดูที่ข้อ 9.2)

$1o   การทบทวนของฝ่ายบริหาร (ดูที่ข้อ 9.3)

ข้อบกพร่องคือการล้มเหลวในการบรรลุข้อกำหนดที่กล่าวถึงเกี่ยวกับระบบบริหารสิ่งแวดล้อมหรือในด้านประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อส่วนหนึ่งของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมไม่สามารถทำหน้าที่ตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่สามารถบรรลุข้อกำหนดด้านประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมได้

ตัวอย่างของสถานการณ์ดังกล่าวจะรวม

$1·        ข้อบกพร่องด้านประสิทธิผลการทำงานของระบบบริหารสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น

— ไม่ได้มีการประเมินประเด็นสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ในด้านนัยสำคัญ

— ไม่ได้มีการมอบหมายความรับผิดชอบสำหรับการตระเตรียมและตอบสนองกรณีฉุกเฉิน

— ความล้มเหลวในการประเมินการบรรลุพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นระยะ ๆ

$1·        ข้อบกพร่องด้านประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น

— ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์การลดพลังงาน

— ไม่สามารถดำเนินการตามข้อกำหนดการบำรุงรักษาตามตาราง

— ไม่สามารถบรรลุเกณฑ์การดำเนินงาน (ตัวอย่างเช่น ข้อจำกัดที่ได้รับอนุญาต)

$1·        กระบวนการตรวจติดตามภายในตามที่อธิบายในข้อ 9.2 เป็นแนวทางหนึ่งในการบ่งชี้ข้อบกพร่องเป็นระยะ ๆ อีกแนวทางหนึ่งคือการมอบหมายความรับผิดชอบในการบ่งชี้ข้อบกพร่องและรายงานความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาจริงแก่บุคลากรทั้งหมดที่ทำงานภายใต้การควบคุมขององค์กร

$1·        ทันทีที่พบข้อบกพร่อง ควรมีการตรวจสอบเพื่อตัดสินสาเหตุเพื่อให้การปฏิบัติการแก้ไขจะสามารถมุ่งเน้นไปที่ส่วนของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ในการพัฒนาแผนสำหรับการค้นหาข้อบกพร่อง องค์กรควรพิจารณาปฏิบัติการอะไรที่ควรลงมือเพื่อแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงอะไรที่ควรทำเพื่อแก้ไขสถานการณ์และฟื้นฟูการดำเนินงานตามปกติรวมถึงอะไรที่ควรทำเพื่อกำจัดสาเหตุและป้องกันการเกิดซ้ำหรือเกิดขึ้นที่อื่น ลักษณะและเวลาของปฏิบัติการดังกล่าวควรเหมาะสมกับหลักธรรมชาติและขนาดของข้อบกพร่องรวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

$1·        หากมีการพบปัญหาที่เป็นไปได้แต่ไม่มีข้อบกพร่องจริงอยู่ การปฏิบัติการสามารถลงมือกระทำเพื่อป้องกันการเกิดข้อบกพร่อง ปัญหาที่เป็นไปได้นี้สามารถค้นพบได้โดยใช้วิธี (อาทิเช่น) การคาดการณ์ปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องจริงในพื้นที่ที่ใช้งานอื่น ๆ ที่เกิดกิจกรรมเหมือนกัน การวิเคราะห์แนวโน้มหรือการศึกษาการทำงานที่มีความเสี่ยงและโอกาสที่กำหนดไว้ในข้อ 6.1.1

$1·        เมื่อปฏิบัติการต่าง ๆ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบบริหารสิ่งแวดล้อม จึงควรมีการอัพเดตเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องและความต้องการความชำนาญ เมื่อมีการนำไปใช้ควรมีการสื่อสารการเปลี่ยนแปลงถึงผู้ที่จำเป็นต้องทราบ ฝ่ายบริหารควรทำให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการปฏิบัติการแก้ไขและปฏิบัติการในการป้องกันปัญหาก่อนเกิดขึ้น และว่ามีการทบทวนอย่างเป็นระบบรวมถึงการติดตามเพื่อทำให้มั่นใจในประสิทธิผลของปฏิบัติการที่ลงมือ

$1·        องค์กรควรเก็บรักษาเอกสารข้อมูลเป็นหลักฐานของหลักธรรมชาติของข้อบกพร่องรวมถึงปฏิบัติการต่อมาที่ดำเนินการ และผลการปฏิบัติการแก้ไขที่ดำเนินการ

  • การสื่อสารเกี่ยวกับข้อบกพร่องอย่างเปิดเผยและทันเวลาโดยไม่กลัวการถูกทำโทษเป็นสิ่งจำเป็น
  • บุคคลที่มีอำนาจในการริเริ่มและดำเนินการตามการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นใดๆต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไข
  • ต้องมีการสืบสวนทั้งอาการและรากเหง้าสาเหตุของข้อบกพร่องอย่างทั่วถึง
  • บุคคลทุกระดับที่รับผิดชอบและมีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากข้อบกพร่องควรมีส่วนเกี่ยวข้องในการสืบสวนข้อบกพร่อง
  • ต้องกำหนดวิธีการที่ถาวรในการแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้เกิดปัญหาซ้ำอีกและนำไปปฏิบัติโดยทันที
  • วิธีการแก้ไขปัญหาควรเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นพื้นฐานของปัญหา (กล่าวคือการปรับปรุงระบบ) ไม่ใช่เพียงแค่จัดการกับอาการของปัญหา
  • การนำวิธีการแก้ไขปัญหาไปปฏิบัติต้องมีการติดตามตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่ต้องการ
  • ต้องปรับเปลี่ยนเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไข รวมทั้งต้องแจ้งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบและได้รับการฝึกอบรม

การตรวจประเมิน

  1. สุ่มตรวจ สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด กิจกรรมการแก้ไข ป้องกัน ไม่ว่าจากผลการตรวจติดตาม ตรวจวัด ตรวจประเมิน การสอบinspection ว่าได้รับการจัดอย่างเหมาะ กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสภาพปัญหานั้นๆหรือไม่
  2. ทบทวน เอกสารระเบียบปฏิบัติ และ ตรวจสอบว่า มีการกระทำตามวิธีการที่ระบุหรือไม่ หรือวิธีที่ระบุไว้เพียงพอเหมาะสมหรือไม่
  3. มีการจัดการกับ สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด กิจกรรมการแก้ไข ป้องกันที่ล่าช้า ไม่สมเหตุสมผลหรือไม่ การสืบสวน หาสาเหตุได้มีการกระทำอย่างจริงๆ จังๆ หรือทำแบบขอไปที


10.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นคุณลักษณะสำคัญของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยสามารถทำให้บรรลุได้ด้วยการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและการยกระดับระบบบริหารสิ่งแวดล้อมทั้งหมดหรือส่วนประกอบใด ๆ องค์กรสามารถกระตุ้นพนักงานทุกคนให้สนับสนุนความคิดในการปรับปรุง

องค์กรควรประเมินประสิทธิผลการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและประสิทธิผลการทำงานของกระบวนการระบบบริหารสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อหาโอกาสในการปรับปรุง ฝ่ายบริหารสูงสุดควรเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการประเมินนี้ผ่านกระบวนการทบทวนของฝ่ายบริหาร

การบ่งชี้ข้อบกพร่องของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมยังให้โอกาสสำคัญสำหรับการปรับปรุง เพื่อตระหนักถึงการปรับปรุงดังกล่าว องค์กรควรรู้สิ่งบกพร่องอะไรที่ยังคงอยู่และเข้าใจสาเหตุที่ยังคงอยู่โดยสามารถทำให้บรรลุได้ด้วยการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของข้อบกพร่องในระบบบริหารสิ่งแวดล้อม

แหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์บางแหล่งสำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะรวม

— ประสบการณ์ที่ได้รับจากข้อบกพร่องและปฏิบัติการแก้ไขที่เกี่ยวข้อง

— การเปรียบเทียบภายนอกในด้านการปฏิบัติที่ดี

— สมาคมการค้าและกลุ่มเพื่อน

— กฎหมายใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงที่นำเสนอสำหรับข้อบังคับที่มีอยู่

— ระบบบริหารสิ่งแวดล้อมและผลการตรวจติดตามอื่นๆ

— การประเมินและการวิเคราะห์ผลจากการสังเกตการณ์และการวัดผล

— บทความด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ

— มุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวมพนักงาน ลูกค้าและผู้จัดหา (ซัพพลายเออร์)

การดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อพบโอกาสในการปรับปรุง ควรมีการประเมินเพื่อตัดสินว่าอะไรที่ควรลงไม้ลงมือ และมีการวางแผนปฏิบัติการสำหรับการปรับปรุง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารสิ่งแวดล้อม

การปรับปรุงต่างๆ ไม่จำเป็นต้องดำเนินการในทุกเรื่องพร้อมกัน การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของระบบบริหารสิ่งแวดล้อมสามารถกลายเป็นความยากต่อการบรรลุในการยกระดับสมรรถนะ หรือ ทำได้แต่ไม่คุ้มค่า ตัวอย่างปฏิบัติการปรับปรุงมีอยู่ในกรอบข้างล่างนี้

ตัวอย่างการปรับปรุง

$1    การตั้งกระบวนการสำหรับการประเมินวัสดุใหม่เพื่อสนับสนุนการใช้วัสดุที่มีอันตรายน้อย

$1    การปรับปรุงการฝึกอบรมพนักงานในด้านวัสดุและการเคลื่อนย้ายเพื่อลดการเกิดของเสียขององค์กร

$1    การเริ่มกระบวนการบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เกิดการใช้น้ำใหม่อีกครั้ง

$1    การดำเนินการเปลี่ยนแปลงค่าเริ่มต้นของเครื่องมือผลิตใหม่อีกครั้งให้มีการพิมพ์เอกสารเป็นสองหน้าที่สำนักงานการพิมพ์

$1    การออกแบบเส้นทางขนส่งใหม่เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิลโดยบริษัทขนส่ง

$1    การตั้งวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อดำเนินการทดแทนพลังงานในการปฏิบัติงานของหม้อต้มและลดการปล่อยก๊าซอนุภาค

$1    การพัฒนาวัฒนธรรมการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร

$1    การพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

$1    การพิจารณาการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร

END

บทความใกล้เคียง

Online

มี 43 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์