Login Form

กระบวนการออกแบบ - B การวางแผนในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

 

B การวางแผนในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

1.0 เลือกงานที่จะออกแบบ

ให้ทำการกำหนด พื้นที่ ขอบเขต งานที่จะออกแบบ เพื่อทำให้มั่นใจว่า เลือกผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วน หรือส่วนประกอบ ที่จะทำการออกแบบพัฒนา การออกแบบนั้นจะเป็นไปตามแผน

สิ่งที่ต้องทำ
a. ตัดสินใจกำหนดผู้รับผิดชอบในส่วนงานนั้นๆ
b. มอบหมายหน้าที่ ในงานแต่ละส่วนตามทักษะ ความสามารถ
c. กำหนดตัวแทน ผู้ที่จะทำการควบคุมสถานะ ความหน้าของแผนงานออกแบบ
d. อบรมพนักงานออกแบบให้มีทักษะตามต้องการ

ในการเลือกงานที่จะออกแบบนี้ มีข้อควรพิจารณาดังนี้

 พนักงานออกแบบควรเป็นผู้มีหน้าที่หลักในการติดตาม งานออกแบบ
 หากงานออกแบบไม่เป็นไปตามแผน ต้องทำให้มั่นใจว่า ทุกคนจะหาสาเหตุก่อนที่จะปรับเปลี่ยนแผนงานใดๆ
 ผู้ที่รับผิดชอบควรเตรียมพร้อมเสมอและตอบสนอบทันที ในกรณีที่มีการร้องขอให้ทำการเปลี่ยนแบบ เมื่อได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากลูกค้าผู้มีอำนาจ

Figure 2a Chart for role and share of design work (air conditioning equipment design dept.)

2.0 จัดทำมาตรฐานการออกแบบ

1. จัดทำมาตรฐานการออกแบบ โดยครอบคลุมทุกกิจกรรมในการออกแบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดความแตกต่างที่เกิดจากการการทำงานออกแบบของผู้ออกแบบแต่ละคน ป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำไม่ว่าจากคำร้องเรียนลูกค้าหรือปัญหาจากสายการผลิต
2. ในการจัดทำมาตรฐานการออก แบบ ท่านควร กำหนดว่า

 แผนกงานใด ส่วนงานใดบ้าง ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่า ในองค์กร หรือจ้างงานภายนอก
 การแยกประเภท ของมาตรฐานการออกแบบ รวมถึงเอกสารทางเทคนิค
 กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานในองค์กร กับ ข้อกำหนดกฎหมายและมาตรฐานระดับชาติ
 วิธีการกำหนดรูปแบบ รหัส และ หมายเลข

Figure 2b. Constitutive elements for design standards and procedures for allocating those elements

3.0 กำหนดผู้รับผิดชอบในการออกแบบให้ชัดเจน

ทำแผนโครงการที่ระบุอำนาจ หน้าที่ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ และกระจายเอกสารนี้ให้กับส่วนงานต่างๆ

4.0 ตรวจสอบว่า มีปัญหามีปัญหามากน้อยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบในแต่ละปี

ในแต่ละปี ส่วนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้องทำการเก็บ และ วิเคราะห์ข้อมูล ในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ไม่ว่าเป็นปัญหาจาก คำร้องเรียนลูกค้า ในสายการผลิต จากผู้รับเหมาช่วง เพื่อให้เห็นภาพรวมของปัญหา ข้อมูลต้องได้รับการวิเคราะห์ทั้งจากภายนอกและในองค์กร

a. สำหรับคำร้องเรียนลูกค้า ให้ทำการแยกลำดับความร้ายแรง และ คำนวณมูลค่าเสียหายทำการ
b. สำหรับปัญหาภายใน จากการผลิตFor manufacturing defects, get
i. อัตราส่วนการเกิดของเสีย และ การทำ rework ต่อจำนวนส่องออก
ii. อัตราการเกิดของเสีย ที่ผลิตของดีโดยไม่ต้องมีการทำ rework ในแต่ละแผนก
c. สำหรับ งานที่ว่าจ้างภายนอก ให้หาอัตราส่วนของเสียต่อการตรวจรับ และของเสียที่ตรวจพบหลังการส่งมอบ
d. จำนวนการเปลี่ยนแบบ หลังจากการทดลองผลิตครั้งแรก และ หลังจากเริ่มทำการผลิตแบบ mass-production.
e. วิเคราะห์แต่ละปัญหาเพื่อกาสาเหตุ
สิ่งที่ต้องทำ:
a. ทำการแยกประเภท จัดกลุ่ม สรุป วิเคราะห์ข้อมูล ว่าเป็นประเด็น ปัญหาภายใน/ คำร้องเรียนลูกค้า และ ระหว่างแยกตามผลิตภัณฑ์/แต่ละโมเดล
b. กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละข้อมูลที่จัดเก็บ รวมถึงการกระจายข้อมูลที่ได้รวบรวม วิเคราะห์
c. กำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบ ติดตาม ปัญหา
d. ทำการติดตามประสิทธิภาพของกระบวนการในการจัดการกับปัญหา ไม่ว่าระยะสั้นหรือ ระยะยาว

 

5.0 จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อพบปัญหา

ในแต่ละครั้งที่เกิดปัญหา ส่วนงานออกแบบพัฒนาต้องรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น และทำการปรับเปลี่ยนแบบงาน ให้จัดทำระเบียบปฏิบัติในการดำเนินการที่กำหนด
a. การหาสาเหตุของปัญหา
b. การจัดทำมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้นและระยะยาว
c. ทำการปรับเปลี่ยน สเป็คและแบบงาน
d. ทำการตรวจสอบคุณภาพ หลังจากการปรับเปลี่ยน สเป็ค/แบบงาน

6.0 จัดทำขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนการออกแบบ

เมื่อผลิตภัณฑ์มีการปรับปรุง มาตรฐานการออกแบบต้องเปลี่ยนแปลงด้วย ให้จัดทำระเบียบ กฎเกณฑ์ในการปรับเปลี่ยน:

a. จัดทำเอกสารระเบียบปฏิบัติ:
i. สำหรับการเปลี่ยนมาตรฐานการออกแบบ แบบงาน และ สเป็ค
ii. สำหรับการร้องขอการเปลี่ยนแปลงแบบ
iii. สำหรับการจัดเก็บบันทึกการเปลี่ยนแปลง
iv. สำหรับทำให้มั่นใจว่า แบบงานเดิมได้มีการจัดเก็บ ก่อนที่แบบงานใหม่มีการแจกจ่าย
b. เอกสารระเบียบปฏิบัตินี้ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจ ก่อนนำไปปฏิบัติ
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Online

มี 14 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์