ตัวอย่าง ระเบียบปฏิบัติการวางแผนระบบการบริหารคุณภาพ ( MS Word)
ตัวอย่าง ระเบียบปฏิบัติการบริหารนโยบาย ( MS Word)
ข้อกำหนดนี้ เป็นข้อกำหนดที่มีผู้เข้าใจผิดว่ามาตรฐาน ISO9001:2015 ในส่วน ข้อ 6.1 ระบุให้ต้องมีการประเมินความเสี่ยง !
ทั้งที่มาตรฐานไม่ได้มีกล่าวเรื่อง "การประเมินความเสี่ยง " แต่อย่างไร !!!!
เพียงแต่ใช้ คำว่า กำหนดความเสี่ยง ที่ต้องนำไปจัดการโดยไปจัดวางเป็นระบบการบริหาร
การกำหนดความเสี่ยง กับ การประเมินความเสี่ยง ย่อมแตกต่างกัน
มากกว่านั้นตามกระแสยังมีในเรื่อง ISO 31000 ว่าต้องใช้สำหรับการจัดทำระบบ ISO 9001 ซึ่งไม่มีที่ใดกล่าวถึงเฉกเช่นกัน !
ข้อกำหนดระบุ ว่า " ในการวางแผนสำหรับระบบการบริหารคุณภาพ, องค์กรต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ระบุใน 4.1 และ ข้อกำหนดในข้อ 4.2 และพิจารณากำหนดความเสี่ยงและโอกาสที่จำเป็นที่ต้องจัดการเพื่อ..........."ั
ประธานของประโยคเริ่มด้วยคำว่า การวางแผนระบบการบริหารคุณภาพต้องคำนึงถึงปัจจัย..............
ข้อกำหนดนี้ จึงเป็นเรื่องของ"การวางระบบคุณภาพ" ตามความเสี่ยงต่อปัจจัยในที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ !
ไม่ใช่ให้ทำการประเมินความเสี่ยง !
ท่านมั่นใจหรือไม่ว่า
หลักการของมาตรฐาน 2015 ตามที่แสดงในภาพนี้
กำหนดให้ต้องนำเอาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับองค์กร กับผู้มีส่วนใด้เสีย มาวางระบบการบริหารเพื่อจัดการ
มาตรฐาน ISO9001:2015 มีการให้วางระบบตามความเสี่ยงอยู่ 2 ส่วน
ส่วนแรก
เป็นการกำหนดความเสี่ยงที่ต้องจัดการโดยไปจัดวางระบบการบริหาร กับสถานการณ์ที่
-อาจทำให้องค์กรไม่บรรลุวัตถุประสงค์องค์กร (วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนธุรกิจ แผน3-5 ปี)
-อาจทำให้องค์กรไม่บรรลุข้อกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
-อาจทำให้ระบบไม่ได้ผลตามทีกำหนดไว้
ข้อกำหนดที่เกี่่ยวข้องจะเป็นข้อกำหนด 6.1, 6.2 ,4.4
ส่วนที่สอง
เป็นการกำหนดความเสี่ยงที่ต้องจัดการโดยไปจัดวางระบบการบริหารจัดการกับสถานการณ์ที่ อาจทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ (5.1.2
การมุ่งเน้นลูกค้า , 8.1 การวางแผนและการควบคุมการดำเนินการ, 8.3 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ , กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ product realization และ ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง 7.0,8.0,9.0))
การกำหนดความเสี่ยงแล้วแต่ประเภทขององค์กรท่าน ว่าเป็นองค์กรประเภทใด เช่น เป็นงานแบบโครงการ งานแบบ mass product , งานแบบตามสั่ง เป็นต้น
การกำหนดความเสี่ยงแล้วแต่ผลิตภัณฑ์ขององค์กรท่าน ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทใด เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อความปลอดภัย หรือ ความเสี่ยงต่ำต่อลูกค้าท่าน
หมายเหตุ
ท่านอย่าลืมว่า มาตรฐานไม่ได้กำหนดให้จัดทำเอกสารกระบวนการนี้แต่อย่างใดหากไม่ใช่กระบวนการที่จำเป็นสำหรับองค์กรท่าน
เมื่อจะทำระบบการบริหาร
ก็ต้องทำการวางระบบการบริหาร
เมื่อท่านได้วางระบบแล้วท่านถึงจะได้ระบบ
ระบบการบริหารจะประกอบด้วยกิจกรรม กระบวนการย่อยๆต่างๆ เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการธุรกิจให้บรรลุตามจุดประสงค์
ที่ผ่านมามาตรฐาน ISO 9001:2008 ไม่กำหนดหลักการในการวางระบบการบริหาร
การจัดทำระบบ การวางระบบบริหาร และการนำระบบ ISO ไปใช้ จึงมักสับสน ไร้ทิศทาง
และไม่มีกรอบในการวางมาตรฐานการทำงาน วางเอกสาร
ซึ่งก็ไม่แปลกว่าทำไมจึงมีแต่เด็กๆทำการวางระบบบริหาร ไม่ใช่ให้นักบริหารมาวางระบบ
และนักบริหารแทบไม่มีส่วนร่วมในการวางระบบ !
การวางระบบบริหาร หากไม่ทำเอง ก็อาจว่าจ้างที่ปรึกษา
ซึ่งก็แล้วแต่ที่ปรึกษาจะจัดวาง
ไม่ได้เป็นไปตามกลยุทธ์องค์กร ไม่สะท้อนกับแผนธรุกิจ ขาดการมีส่วนร่วมจากนักบริหารในองค์กร
บางที เวลาทำ ISO ก็ให้พนักงานท่านทำ
ทำระบบกับตามใจ ตามบุญตามกรรม
แล้วอ้างว่าทำตามมาตรฐาน iso9001
ขอให้ได้ใบรับรองตามกำหนดเวลาก็พอ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้อกำหนด ในการออกแบบระบบการบริหาร ของมาตรฐาน iso9001:2008 ไม่มี !!
มาตรฐานฉบับใหม่ ได้ปรับปรุงจุดอ่อนของมาตรฐานฉบับก่อนหน้า (ISO9001:2008)
โดยให้ท่าน ทำการวางแผนระบบการบริหารโดยให้ยึดโยงกับความเสี่ยงขององค์กรในการบรรลุจุดมุ่งหมายทางธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
ความเสี่ยงแต่ละธุรกิจต่างกัน ความไม่แน่นอนขององค์กรไม่เท่ากัน
เป้าหมายธุรกิจต่างกัน ตลาดต่างกัน ลูกค้าเป้าหมายและขนาดธุรกิจก็ไม่เหมือนกัน
ท่านจีงต้องจัดทำระบบการบริหารที่เหมาะกับบริบทองค์กรและความเสี่ยงของท่านเอง
ไม่ว่าในส่วนของ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และ องค์กร
ก่อนอื่นคงต้องมาทำความเข้าใจกรอบในการวางแผนระบบการจัดการกันก่อน
โดยทั่วไปหลักในการวางระบบอาจจะกล่าวได้ว่ามี 3 หนทางในการวางระบบการบริหาร
1. วางระบบอยู่บนพื้นฐานความเสี่ยง
2. วางระบบอยู่บนพื้นฐานของเป้าหมาย
3. วางระบบอยู่บนพื้นฐานของเนื้องาน
การระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ได้มาที่ซึ่งคุณภาพและทำการจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล
โดยจัดทำมาตรการเพื่อกำจัดความเสี่ยง ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์บริการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ไม่เป็นไปตามลูกค้ากำหนด ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์องค์กร
โดยคาดการณ์ถึงปัญหาที่เคยเกิด หรือ คาดว่าอาจจะเกิด แล้วหาทางกำหนดมาตรการ กำหนดวิธี เพื่อป้องกันไว้ก่อน
เพื่อความเข้าใจเรื่องนี้
ท่านต้องเข้าใจว่าระบบที่ท่านมีอยู่ในองค์กรท่านในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ลดความเสี่ยงทั้งสิ้น
ตามตัวอย่างข้างล่างนี้
ชื่อกระบวนการ |
เหตุผลในการมีระบบ |
การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย |
เพื่อลดความเสี่ยงในการส่งมอบของเสียให้ลูกค้า |
การตรวจสอบระหว่างกระบวนการ |
เพื่อลดความเสี่ยงในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ในขั้นต่อไป |
การตรวจรับวัตถุดิบ |
เพื่อ ลดความเสี่ยงในการรับวัตถุดิบ ชิ้นส่วนเข้าสู่กระบวนการ |
การประเมินผู้ส่งมอบ |
เพื่อลดความเสี่ยงในการรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจากผู้ส่งมอบ |
การทบทวนการออกแบบ |
เพื่อไม่ปล่อยแบบงานที่มีปัญหาสู่การผลิต |
การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นผลิตภัณฑ์ |
เพื่อความเสี่ยงที่จะเกิดความล้มเหลวผลิตภัณฑ์ระหว่างใช้งาน |
การทบทวนข้อตกลง |
เพื่อลดความเสี่ยงในการรับงานที่ซึ่งไม่สามาถทำให้บรรลุข้อกำหนดได้ |
การตรวจติดตามภายใน |
เพื่อลดความเสี่ยงจากการเบี่ยงเบนไปจากที่ได้จัดวางไว้ตั้งแต่ครั้งต้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดโอกาสในการปรับปรุง เพื่อลดความเสี่ยงจากไม่ธำรงรักษาระบบให้เหมาะสมกับสภาพการจัดการธุรกิจในปัจจุบัน |
ท่านสามารถกำหนด ความเสี่ยงได้ด้วยการตั้งคำถามกับทีมงาน เพื่อการจัดวางระบบอย่างง่ายๆดังนี้
1. อะไรที่อาจทำให้ไม่บรรลุเป้าหมาย
2. อะไรคือมาตรการที่สามารถจัดการกับความเสี่ยงนี้
3. เรารู้ได้อย่างไรว่าได้จัดการกับความเสี่ยงได้เป็นอย่างดีอยู่
4. เรารู้ได้อย่างไรว่าระบบดักจับใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
5. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความล้มเหลวจะไม่เกิดซ้ำ
การตั้งคำถามง่ายๆจะทำให้สามารถทำการตรวจสอบจุดบกพร่องของปัญหาก่อนที่เข้าสู่กระบวนการถัดไป
คุณภาพไม่ได้เกิดโดยบังเอิญหรือหากเกิด ก็จะไม่เกิดขึ้นบ่อย
ระบบที่มาจากพื้นฐานความเสี่ยงขึ้นอยู่กับความสามารถในการคาดการณ์ถึงความเสี่ยง และบางที่เป็นการเติมเสริมเพิ่มจากงานพื้นฐาน หรือบางที่อยู่ที่ขีดจำกัดในการระบุผลกระทบที่ตามมาของกิจกรรม
จึงมีวิธีการอื่นที่ใช้ในการวางระบบโดยกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ และใช้วิธีปฏิบัติที่น่าจะทำให้เราสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
เช่นการวางแผนสำหรับการจัดการแบบงานโครงการ
เป็นการจัดวางระบบตามสภาพ ณ วันน้้น เพื่อให้สำเร็จเสร็จสิ้นตามเป้าหมายที่ต้องการเป็นหลัก
(มาตรฐาน ISO ใช้คำว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายองค์กรและกำหนดความเสี่ยง)
เป็นระบบที่เริ่มจากศึกษางานที่ทำในปัจจุบัน และ วางระบบตามที่งานนั้นๆในปัจจุบันที่กระทำอยู่
เขียนอย่างไร ก็ ทำอย่างนั้น
เขียนแค่ไหน ก็ทำแค่นั้น
ไม่เขียน ไม่ต้องทำ
หรือ วางระบบตามที่ลูกค้าสั่งให้มี หากลูกค้าไม่สั่งก็ไม่ทำ
หรือวางระบบเลียนแบบ บริษัทอื่นๆทำ
หรือทำตามกฏหมายกำหนดให้ต้องทำ ต้องให้มีเอกสารอะไรก็ทำให้มี ไม่บังคับก็ไม่ทำ
ตัวอย่างกระบวนการตามหน้าที่ เช่น
การตรวจสอบเพื่อแยกของดีออกจากของเสียเพื่อลดของเสียที่ท้ายสายการผลิต จึงต้องทำให้มีการตรวจสอบวัตถุดิบ
การตรวจสอบเพื่อแยกของเสียที่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป จึงต้องมีการตรวจระหว่างกระบวนการ
ซึ่งการวางระบบแบบนี้ เป็นวิธีการที่ใช้ทั่วๆไปในปัจจุบันในการทำระบบ ISO9001
ซึ่งเรียกให้เข้าใจได้ง่ายๆคือ
การวางระบบตามยถากรรม
เป็นการทำตามๆกัน ลอกๆกัน
โดยไม่รู้ว่ามีระบบระเบียบไปทำไม ต้องมีมาตรการควบคุมอะไรบ้าง แล้วทำไมต้องควบคุมสิ่งนั้น
การวางแผนสำหรับระบบการบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO9001
เป็นระบบการบริหารที่ยึดโยงกับความเสี่ยงจากกระบวนการและเป้าหมายขององค์กร
เนื่องจากหลักคิดที่ว่ากระบบการบริหารมีไว้เพื่อลดการเสียหาย สูญเสีย สูญเปล่า เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากขั้น
การวางแผนระบบการบริหารคุณภาพ จึงต้องวางระบบเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร และเพื่อให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามต้องการ
การป้องกันปัญหา(การล้มเหลว เสียหาย การไม่ประสบผลดังหวัง) นี้ มักกระทำระหว่างการวางแผน การตระเตรียมการ การออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการ โครงการอยู่แล้ว
และอาจมีบางส่วนมีเพิ่มเติมจากการเฝ้าระวังติดตามกระบวนการ งานประจำวัน
เพื่อไม่ให้เกิดความล้มเหลวระหว่าง การออกแบบ ผลิต หรือระหว่างการติดตั้ง ใดๆ
ระบบย่อยในการบริหารคุณภาพ ที่ใช้ในการป้องกันปัญหา ความเสียหาย อาจรวมถึง ระบบการวางแผนงานบุคคล ระบบการออกแบบและการจัดการผลิตภัณฑ์ ระบบการออกแบบและจัดการกระบวนการ ตามตัวอย่างนี้
- การวางแผนทางธุรกิจ
- การวางแผนการออกแบบ
- การทดลองการผลิต
- การทดลองประกอบ
- การทดสอบเพื่อรับรองกระบวนการ
- การทำ photo type
- การวางแผนการผลิต
- การวางแผนอัตรากำลังพล
- การประเมินความเสี่ยง
- การวิเคราะห์อันตราย
- การฝึกอบรม
- การวิเคราะห์สมรรถนะ
- การทบทวนการออกแบบ
- การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัยผลิตภัณพ์
- การทบทวนสมรรถนะผู้ส่งมอบ
- การซ่อมบำรุง
การวางแผนป้องกันความเสียหายควรกระทำอย่างเป็นระบบ และควรอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้จากวิธีการที่เหมาะสม
แปลว่าท่านต้องประเมินข้อมูลจากประวัติเพื่อดูแนวโน้มและความวิกฤติเกี่ยวกับสมรรถนะขององค์กรและผลิตภัณฑ์
โดยทำการศึกษาข้อมูลในรูปของปริมาณ ซึ่งข้อมูลที่ท่านอาจมีอยู่แล้ว หรือทำให้มีได้ หรือ สร้างข้อมูลให้มีได้อาจมาจาก
- ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ความเสี่ยง เช่น การวิเคราะห์ฐานนิยมของความผิดพลาดและผลกระทบ
- การทบทวนความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า
- การวิเคราะห์ตลาด
- ผลจากการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
- ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูล
- การวัดความพึงพอใจ
- การวัดกระบวนการ
- ระบบซึ่งรวมแหล่งข้อมูลของลูกค้าหลาย ๆ แหล่งเข้าด้วยกัน
- บันทึกเกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพ
- บทเรียนที่เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต
- ผลของการประเมินตนเอง และ
- กระบวนการเตือนล่วงหน้าเมื่อสภาพของการทำงานออกนอกเขตควบคุม
การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา (การล้มเหลว การไม่ประสบผลดังหวัง) เป็นการกระทำเพื่อหาทางกำจัดสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดปัญหา(การล้มเหลว การไม่ประสบผลดังหวัง)
เป็นการวางระบบเพื่อกำจัดเหตุที่อาจจะเกิด
ท่านต้องระวังว่า บางครั้งเราสามารถคาดเดาปัญหาได้
แต่อาจไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ (ความไม่แน่นอน) นั้นๆได้
นั้นแปลว่าปัญหาก็ยังคงเกิดขึ้นได้ ( แต่น่าจะน้อยลง)
ปัจจัยที่ระบุตามข้อ 4.1 คือ ผลที่ได้จากการทำความเข้าใจและการทำการวินิจฉัยองค์กร
และพิจารณากำหนดปัจจัยภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายขององค์กรและทิศทางกลยุทธ์ และผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ต่อระบบการบริหารคุณภาพ
ปัจจัยใดที่อาจมีผลต่อองค์กรในการทำให้องค์กรบรรลุหรือไม่บรรลุ 3 สิ่งนี้ ( จุดมุ่งหมายขององค์กร , ทิศทางกลยุทธ์ , ผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ต่อระบบการบริหารคุณภาพ)
ต้องได้รับการพิจารณากำหนด
และเมื่อกำหนดแล้วต้องได้รับการกำหนดความเสี่ยงและโอกาสตามต่อมา
เมื่อทราบปัจจัยแห่งความสำเร็จแล้ว
ให้นำมาพิจารณาว่าจะมีสถานการณ์ใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นเพื่อหาหนทาง มาตรการเพื่อป้องกันปัญหา(การล้มเหลว เสียหาย การไม่ประสบผลดังหวัง) ไม่ให้เกิดขึ้น
เหตุผลที่มาตรฐาน ISO9001 กำหนดให้องค์กรต้องทำความเข้าใจบริบทองค์กรตามข้อ 4.0 และให้ทำการพิจารณาความเสี่ยงก็เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางระบบการบริหารคุณภาพ โดยการจัดทำ กำหนดมาตรการควบคุมและนำกระบวนการไปปฏิบัติ (4.4) และ ช่วยให้องค์กรสามารถใช้ความเสี่ยงนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าอะไรบ้างที่ต้องจัดทำให้เป็นเอกสารสารสนเทศเพื่อทำการควบคุมให้องค์กรสู่ความสำเร็จ
ระบบการบริหารคุณภาพเป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการ และเป็นเครื่องมือเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่มีข้อกำหนดสำหรับกิจกรรมการป้องกันเป็นการเฉพาะ เพราะกิจกรรมการป้องกันได้ถูกนำมาใช้ในชื่อ"ความคิดเชิงความเสี่ยง" ในการจัดวางระบบการบริหารคุณภาพ ฉบับใหม่นี้
ความคิดเชิงความเสี่ยงนี้ทำให้มาตรฐานสามารถลดข้อกำหนดเชิงบังคับให้น้อยลง และทดแทนด้วยข้อกำหนดที่เน้นสมรรถนะแทน ซึ่งทำให้มาตรฐาน ISO9001 มีความยืดหยุ่นกว่าในอดีต ไม่ว่าเรื่อง กระบวนการ เอกสาร และ ความรับผิดรับชอบ
ข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่า ข้อกำหนดลูกค้า (ข้อกำหนดลูกค้าอาจรวมถึง ข้อกำหนดผลิตภัณฑ์) ข้อกำหนดของผู้ส่งมอบ ข้อกำหนดผู้ถือหุ้น ข้อกำหนดผู้บริหาร ข้อกำหนดของวัตถุดิบ ข้อกำหนดของรัฐบาล ข้อกำหนดของผู้จัดจำหน่าย ข้อกำหนดของบริษัทแม่ ... เป็นต้น
คำว่า ข้อกำหนดแปลว่า ความจำเป็นหรือความคาดหวัง มาตรฐานต้องการให้องค์กรต้องทำการป้องกันการล้มเหลวต่อการทำให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆเหล่านี้
ตามนิยาม ความเสี่ยง แปลว่า ผลของความไม่แน่นอน (ต่อวัตถุประสงค์)
ดังนั้นการกำหนดความเสียง คือการกำหนดสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น และ มีผลต่อวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดปัญหา ไม่ประสบผลดังหวัง
เมื่อทำการกำหนดสถานการณ์ความไม่แน่นอนได้แล้ว ให้หาหนทางทำให้สถานการณ์นั้นไม่เกิดขึ้น ทำให้องค์กรไม่ประสบปัญหา ล้มเหลว ไม่ว่าจะทำให้ดีขึ้น การป้องกันไม่ให้สถานการณ์นั้นเกิด หรือลดผลกระทบด้านลบ หรือฉกฉวยโอกาสในการสร้างความได้เปรียบ
การคัดเลือก สถานการณ์ความไม่แน่นอนที่ต้องได้รับการจัดการ เป็นเรื่องสำคัญของผู้บริหาร เพราะความน่าจะเป็นของแต่ละสถานการณ์ และ ความสำคัญ จำเป็น ความเร่งด่วน ต่อการบรรลุเป้าหมายที่แตกต่างกัน
เครืองมือที่สามารถใช้เพื่อกำหนดความเสี่ยงเพื่อจัดการ (ผลของสถานการณ์ความไม่แน่นอน) มีความหลากหลาย ในการกำหนด คัดเลือกสถานการณ์ความไม่แน่นอน ดังรูป
ที่มา Table A1 BS 31100 2011
ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ชิ้นส่วน วัตถุดิบ , กระบวนการประกอบด้วย กระบวนการ/กิจกรรมย่อย ดังนั้นผู้ทำการศึกษาปัญหา (การล้มเหลว การเสียหาย การไม่ประสบผลดังหวัง) ก็ควรเป็นคนที่ทำงานนั้น ที่เป็นคนทำการ วินิจฉัยความเสี่ยง การใช้ทีมงานพิเศษอาจไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด
การป้องกันปัญหา เป็นหน้าที่ของผู้ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการ ออกแบบระบบการจัดการ กลุ่มคนนี้เมื่อรู้ปัญหา ก็ต้องหาทางแก้เพื่อป้องกันปัญหา การวิเคราะห์ความเสี่ยงนี้มักเป็นงานครั้งเดียว
การป้องกันปัญหาในระดับองค์กร มัก เป็นผู้จัดการระดับสูงในการวิเคราะห์องค์กร เป็นการมององค์รวม เพื่อดูว่ามีประเด็นอะไรที่อาจทำให้องค์กรไม่ได้ตามวัตถุประสบค์ที่กำหนด
แต่ในส่วนระดับกระบวนการยอ่ยๆ อาจจำเป็นต้องใช้ทีมงานที่ทำงานในระดับกิจกรรม
ในระดับผลิตภัณฑ์ ต้องใช้ผู้ทีทำหน้าที่ในการออกแบบ ทดสอบ ประกอบ ใช้ ผลิตภัณฑ์นั้นๆ
การจัดการกับความเสี่ยงต่อความล้มเหลว อาจกระทำโดยการเปลี่ยนแปลงโดย การดำเนินกิจกรรมใหม่ๆ อาจหมายถึง การต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ การออกแบบเครื่องมือในการผลิตใหม่ๆ การใช้ขั้นตอนใหม่ การใช้เทคนิคผลิตใหม่ การใช้เครืองจักรใหม่ การใช้ค่าพิกัดความเผื่อใหม่ การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการผลิต ซึ่งย่อมต้องมีค่าใช้จ่าย
ประเด็นที่ควรพิจารณาคือความคุ้มค่ากับการป้องกันปัญหานี้ ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการป้องกันโดยทั่วๆไปมักน้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการแก้ไข แต่ก็ควรใส่ใจและดำเนินการจัดการกับความเสี่ยงต่อความล้มเหลว ซึ่งควรใช้คนหลายๆคนช่วยกันคิด การใช้หลายๆคนมาช่วยคิดย่อมดีกว่าเพราะได้ทักษะความรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะมาจากหน่อยงานเดียวหรือหลายหน่อยงานก็ตามเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา
การแก้ปัญหานี้ต้องแล้วแต่ธรรมชาติของปัญหา และต้องไม่ลืมว่าเมื่อนำแผนการไปใช้แล้ว ย่อมต้องมาปรับความเสี่ยง
ความเสี่ยงสัมพันธ์กับการล้มเหลวที่จะทำให้ไม่สอดคล้อง ต่อข้อกำหนดผลิตภัณณ์ วัตถุประสงค์กระบวนการ แผนธุรกิจขององค์กร ในระดับสูง
การระบุความเสี่ยงต้องระวังเพราะอาจป็นการมองปัญหาปัจจุบันของผลิตภัณฑ์ กระบวนการ เท่านั้น
ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการ ยอ่มต้องมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ อะไรทำได้ดีแล้วจะส่งผลต่อความสามารรถในการบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย อะไรที่ทำแล้วอาจทำให้ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ ล้มเหลวในการบรรลุวัตถุประสงค์ อะไรที่อาจเกิดขึ้นได้แล้วงผลด้านลบต่อสมรรถนะ อะไรที่ที่ผู้มีส่วนได้เสียที่พิจารกณาแล้วยอมรับไมได้
การใช้ประสบการณ์ความล้มเหลวเดิมๆมากำหนดความเสี่ยง กำหนดปัญหา เป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่อาจไม่พอ เนื่องจากมักมีเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิด เกิดขึ้นได้ ผู้ที่ทำการกำหนดต้องเป็นผู้ที่เข้าใจในหลักการนี้ การมองเรื่องความความล้มเหลว ควรมองในเรื่องผลกระทบต่อขั้นถัดไปหรือ การส่งผลต่อการล้มเหลวผลิตภัณฑ์ภาพรวม
องค์กรต้องวางแผนดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาสเหล่านี้ วิธีการ, บูรณาการและนำการปฏิบัติการเข้าไปในกระบวนการระบบบริหารคุณภาพ (ดู 4.4), ประเมินประสิทธิผลของการปฏิบัติการเหล่านี้
มาตรการอาจเป็น เป็นเรื่องป้องกันการเกิด ลด หรือ ควบคุมผลกระทบ รวมถึงการมาตรการในการเฝ้าติดตามดักจับ ต้องไม่ลืมว่า การทำการกำหนดความเสี่ยงนี้ เป็นการประเมินดูว่าทำอะไร เปลี่ยนอะไรดี กำหนดอะไรดี เพื่อป้องกันการเกิดของเหตุการณ์ หัวใจคือได้มาตรการการจัดการที่เหมาะสมกับความเสี่ยงต่อการเกิดการเสียหายต่อองค์กร ไม่ว่าระดับ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือองค์กร
กระบวนการของท่านในปัจจุบัน ควรมีป้องกันความเสี่ยงหรือการติดตามอยู่แล้วแม้ว่าไม่เป็นทางการก็ตาม สำหรับกระบวนการระยะยาว ผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิตซ้ำๆ หรือทำบ่อยๆ ท่านอาจต้องการมาตรการควบคุมเพิ่ม โดยมองในมุมมองความล้มเหลวของมาตรการ
ทุกมาตรการมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่นมาตรการป้องกันการเกิด เช่น สำหรับผลิตภัณฑ์ การเผื่อค่า safety fator การมีเครื่องมือ อุปกรณ์สำรอง การใช้ตัวกันตัวโง่ การใช้วัสดุที่มี เสปคดีกว่า
สำหรับกระบวนการ อาจเหมาะภึง การใช้ระบบอัตโนมัติ ระบบการตรวจสอบ การทดสอบ การตรวจประเมิน การชี้บ่ง การติดป้ายเตือน การฝึกอบรม การทำการ peer review การทำการระดมสมอง การใช้แบบฟอร้ม การกำหนดมาตรฐานชุดแต่งการ เป็นต้น
การกำหนดมาตรการ สามารถเป็นได้ทั้งมาตการป้องกัน กับ มาตรการตรวจจับ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาตรการควบคุมต่างๆในองค์กรท่าน
การดักจับย่อมมีความไม่แน่นอนของการดักจับเช่นกัน ดังนั้นต้องพิจารณาความคลาดเคลื่อนที่มาจากการตรวจ่จับด้วย
สำหรับ ผลิตภัณฑ์สามารถใช้วิธีการทำ FMEA ในเรื่องชื้นส่วนล้มเหลว แต่กระบวนการทำงาน หรือ กระบวนการทางธุรกิจ ย่อมมีความแตกต่างกันแล้วแต่คนที่นำกระบวนการไปปฏิบัติ
- การมีการระบุ วัตุประสงค์หรือข้อกำหนด ของ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ องค์กร
- มีการระบุ ปัจจัยความสำเร็จ
- มีรายการประเด็นความไม่แน่นอนที่อาจเกิด
- มีเกณฑ์พิจารณาผล
- มีระบุความน่าจะเป็นของมาตรการควบคุมในการตรวจจับ
- มีมาตรการในการทำงานที่ดีในปัจจุบัน
- มีระบบการการตรวจจับในปัจจุบัน
- มีการระบุกิจกรรมที่เสนอสู่การปรับปรุง
- กิจกรรมที่ได้กระทำไปแล้ว
- ผลการวิเคราะห์ สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเชิงลึก เพื่อศึกษาปัญหาและกำหนดแนวทางในการทำงานใหม่ที่ดีกว่า
6.1.1 ในการวางแผนสำหรับระบบการบริหารคุณภาพ, องค์กรต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ระบุใน 4.1 และ ข้อกำหนดในข้อ 4.2 และพิจารณากำหนดความเสี่ยงและโอกาสที่จำเป็นที่ต้องจัดการเพื่อ
a) ให้การประกันว่าระบบการบริหารคุณภาพจะสามารถบรรลุผลตามที่มุ่งหวังไว้
b) ทำให้ได้มาซึ่งผลตามเจตนา
c) ป้องกัน ,หรือ ลด, ผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์
d) บรรลุการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
6.1.2องค์กรต้องวางแผน:
a) ดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาสเหล่านี้;
b) วิธีการ
1) บูรณาการและนำการปฏิบัติการเข้าไปในกระบวนการระบบบริหารคุณภาพ (ดู 4.4),
2) ประเมินประสิทธิผลของการปฏิบัติการเหล่านี้
กิจกรรมใดๆเพื่อดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาส ต้องเป็นปฏิภาคกับผลกระทบมีศักยภาพต่อการสอดคล้องสินค้าและบริการ
หมาย เหตุ1 ทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงและโอกาส สามารถรวมถึง การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ,การรับความเสี่ยงเพื่อรับเป็นโอกาส , กำจัดแหล่งความเสี่ยง , เปลี่ยนโอกาสเกิดหรือผลกระทบ , กระจายความเสี่ยง หรือ คงความเสี่ยงไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
หมายเหตุ 2 โอกาสสามารถนำไปสู่ทักษะใหม่ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การเปิดตลาดใหม่ๆ การสร้างพันธมิตร การใช้เทคโนโลยีใหม่และ ทางเลือกที่ใช้การได้ ตามความต้องการขององค์กรหรือความจำเป็นลูกค้า