กระบวนการในการออกแบบ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำการผลิตแบบ Mass-production เพราะหากการออกแบบล้มเหลวนั้นอาจถึงขั้นต้องล้มเลิกกิจการ การที่เราจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ กระบวนการออกแบบและพัฒนาต้องได้รับความสนใจและเอาใจใส่บทความนี้ได้ให้แนวทางในเรื่องการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรท่านได้
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้องใช้ทั้งเวลา แรงงาน เงินทุน เครื่องจักร... ด้วยเหตุผลนี้คงปฏิเสธได้ยากที่จะบอกว่า ผู้บริหารระดับสูงไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องรับรับทราบ รับรู้ ความเป็นไปของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีหน้าที่รับผิดชอบและจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น ทางที่ดีแล้วผู้บริหารระดับสูงต้องมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ตั้งแต่ต้นๆ
ผู้บริหารระดับสูงจำต้องตระหนัก ถึง ปัจจัยในการประสบความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เข่น การให้เวลาอย่างเพียงพอในการสำรวจตลาด, การมีบุคลากรด้านการออกแบบพัฒนาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม, การทบทวนปรับแผนการ ลงทุน และ ค่าใช้จ่ายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ , บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มีส่วนร่วม เข้าใจในการสำรวจตลาดและความต้องการของตลาด ซึ่งรวมถึงเป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขององค์กรเป็นต้น
ในแต่ละปีหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง องค์กรควรมีเอกสารระบุเป้าหมาย รวมถึงกำหนดส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เซ็นต์และแจกจ่าย
ดูตัวอย่างเอกสาร New-product Development Project ซึ่งเป็นเอกสารที่ต้องอนุมัติโดยผู้บริหารระดับสูง
Figure 1a New-product Development Project
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้อง สัมพันธ์ กับส่วนงานต่างๆ มากมาย ด้วยเหตุผลนี้ระเบียบปฏิบัติงานที่เป็นเอกสารจึงมีความจำเป็น
เอกสารที่ต้องจัดเตรียม เช่น
คู่มือในการออกแบบพื้นฐาน การคำนวณ จุดควบคุมในการออกแบบ มาตรฐาน วิธีการ
มาตรฐานแบบงาน และระบบการควบคุมแบบงาน
มาตรฐานในการจัดซื้อ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบระเบียบปฏิบัติงานในการออกแบบ คู่มือ มาตรฐาน นี้ สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย
ในการจัดทำกฎ ระเยียบ มาตรฐาน ในการออกแบบนี้ควรมีจุดมุ่งหมาย หรือมีวิธีการในการใช้ชิ้นส่วนที่เป็นมาตรฐาน เพื่อลดจำนวนชิ้นส่วนและใช้ชิ้นส่วนที่เหมือนกันให้มากที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่าชิ้นส่วนนั้นจะมีคุณสมบัติเหมือนๆกันไม่ว่าใครเป็นผู้ออก แบบ รวมถึงต้นทุนในการบริหารชิ้นส่วนที่ตามมา
Figure 1b ตัวอย่าง “ Control of New Design Product”
เอกสารโครงการการออกแบบและพัฒนา เนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ มีกิจกรรมที่หลากหลาย และใช้เวลานานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
เอกสารโครงการออกแบบจึงต้องมี และต้องมีรายละเอียดที่ครบถ้วนและชัดเจน
ข้อมูลที่ควรมีในเอกสารนี้
1) วัตถุประสงค์ของโครงการออกแบบ
2) ชื่อและรุ่น ชองผลิตภัณฑ์ใหม่ เป้าหมาย จุดขาย รวมถึงรายละเอียดผลิตภัณฑ์ด้าน ความปลอดภัย/ สิ่งแวดล้อม
3) สภาพตลาด การพยากรณ์ยอดขาย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่ง
4) ระบุ สเป็ค สมรรถนะ เกณฑ์ กําหนด ต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต้องการ
5) วิศวกรออกแบบผู้รับผิดชอบ, ประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญา, เทคโนโลยีที่จะใช้, ข้อกำหนดกฎหมาย มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง
6) จุดตรวจสอบ ประเมินทบทวน ในแต่ละขั้นตอนของโครงการออกแบบ
7) เป้าหมายของระดับคุณภาพ ต้นทุนและ กําหนดการ
8) ต้องอนุมัติโดยฝ่ายบริหาร
Figure 1c ตัวอย่าง New-product development project sheet
ผลิตภํณฑ์จำเป็นต้องได้รับการทดสอบ เพื่อพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตขึ้น สอดคล้องกับ “Product development project sheet”หรือไม่ การทดสอบนี้ต้องกระทำโดยทันทีกับเครื่องต้นแบบ ดังนั้นมาตรฐานในการทดสอบจึงต้องได้รับการจัดทำ
มาตรฐานการทดสอบ ควรมีรายละเอียดดังนี้
ทำให้มั่นใจว่าทุกปัจจัยการออกแบบ สอดคล้องกับ Project Sheet
กำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจนในการยอมรับหรือไม่ยอมรับผลการทดสอบ
ทำให้มั่นใจว่า คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ไม่ว่าการนำไปใช้ การเก็บรักษา การขนย้าย
กำหนดจุดและขั้นตอนการตรวจสอบทดสอบ เพื่อverifyผลการออกแบบ รวมถึงการทบทวนผลการทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
กำหนดกิจกรรมการแก้ไขสำหรับ กรณีพบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือสภาวะผิดปกติ ที่พบระหว่างการ verify ผลการออกแบบ
กำหนดเครื่องมือทดสอบ ตรวจสอบที่ต้องใช้
Figure 1d ตัวอย่าง “ New-product review standard and inspection report “
ต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำเป็นต้องได้รับการพิจารณา อย่างละเอียดรอบคอบ ไม่ว่าด้านเทคนิค ผลตอบแทนทางธุรกิจ รวมถึงงานธุรการทั่วไป เช่น ค่าวิเคราะห์วิจับ ค่าแรง ค่าศึกษาอบรม ค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการปรับเทคโนโลยีการผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร ปรับปรุงสมรรถนะกระบวนการผลิต การจัดทำมาตรฐานใหม่ เป็นต้น
ต้นทุนและงบประมาณนี้ ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะของโครงการออกแบบ
Figure 1e ตัวอย่าง Development cost calculation check sheet
ให้ทำการกำหนด พื้นที่ ขอบเขต งานที่จะออกแบบ เพื่อทำให้มั่นใจว่า เลือกผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วน หรือส่วนประกอบ ที่จะทำการออกแบบพัฒนา การออกแบบนั้นจะเป็นไปตามแผน
สิ่งที่ต้องทำ
a. ตัดสินใจกำหนดผู้รับผิดชอบในส่วนงานนั้นๆ
b. มอบหมายหน้าที่ ในงานแต่ละส่วนตามทักษะ ความสามารถ
c. กำหนดตัวแทน ผู้ที่จะทำการควบคุมสถานะ ความหน้าของแผนงานออกแบบ
d. อบรมพนักงานออกแบบให้มีทักษะตามต้องการ
ในการเลือกงานที่จะออกแบบนี้ มีข้อควรพิจารณาดังนี้
พนักงานออกแบบควรเป็นผู้มีหน้าที่หลักในการติดตาม งานออกแบบ
หากงานออกแบบไม่เป็นไปตามแผน ต้องทำให้มั่นใจว่า ทุกคนจะหาสาเหตุก่อนที่จะปรับเปลี่ยนแผนงานใดๆ
ผู้ที่รับผิดชอบควรเตรียมพร้อมเสมอและตอบสนอบทันที ในกรณีที่มีการร้องขอให้ทำการเปลี่ยนแบบ เมื่อได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากลูกค้าผู้มีอำนาจ
Figure 2a Chart for role and share of design work (air conditioning equipment design dept.)
1. จัดทำมาตรฐานการออกแบบ โดยครอบคลุมทุกกิจกรรมในการออกแบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดความแตกต่างที่เกิดจากการการทำงานออกแบบของผู้ออกแบบแต่ละคน ป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำไม่ว่าจากคำร้องเรียนลูกค้าหรือปัญหาจากสายการผลิต
2. ในการจัดทำมาตรฐานการออก แบบ ท่านควร กำหนดว่า
แผนกงานใด ส่วนงานใดบ้าง ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่า ในองค์กร หรือจ้างงานภายนอก
การแยกประเภท ของมาตรฐานการออกแบบ รวมถึงเอกสารทางเทคนิค
กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานในองค์กร กับ ข้อกำหนดกฎหมายและมาตรฐานระดับชาติ
วิธีการกำหนดรูปแบบ รหัส และ หมายเลข
Figure 2b. Constitutive elements for design standards and procedures for allocating those elements
ทำแผนโครงการที่ระบุอำนาจ หน้าที่ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ และกระจายเอกสารนี้ให้กับส่วนงานต่างๆ
ในแต่ละปี ส่วนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้องทำการเก็บ และ วิเคราะห์ข้อมูล ในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ไม่ว่าเป็นปัญหาจาก คำร้องเรียนลูกค้า ในสายการผลิต จากผู้รับเหมาช่วง เพื่อให้เห็นภาพรวมของปัญหา ข้อมูลต้องได้รับการวิเคราะห์ทั้งจากภายนอกและในองค์กร
a. สำหรับคำร้องเรียนลูกค้า ให้ทำการแยกลำดับความร้ายแรง และ คำนวณมูลค่าเสียหายทำการ
b. สำหรับปัญหาภายใน จากการผลิตFor manufacturing defects, get
i. อัตราส่วนการเกิดของเสีย และ การทำ rework ต่อจำนวนส่องออก
ii. อัตราการเกิดของเสีย ที่ผลิตของดีโดยไม่ต้องมีการทำ rework ในแต่ละแผนก
c. สำหรับ งานที่ว่าจ้างภายนอก ให้หาอัตราส่วนของเสียต่อการตรวจรับ และของเสียที่ตรวจพบหลังการส่งมอบ
d. จำนวนการเปลี่ยนแบบ หลังจากการทดลองผลิตครั้งแรก และ หลังจากเริ่มทำการผลิตแบบ mass-production.
e. วิเคราะห์แต่ละปัญหาเพื่อกาสาเหตุ
สิ่งที่ต้องทำ:
a. ทำการแยกประเภท จัดกลุ่ม สรุป วิเคราะห์ข้อมูล ว่าเป็นประเด็น ปัญหาภายใน/ คำร้องเรียนลูกค้า และ ระหว่างแยกตามผลิตภัณฑ์/แต่ละโมเดล
b. กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละข้อมูลที่จัดเก็บ รวมถึงการกระจายข้อมูลที่ได้รวบรวม วิเคราะห์
c. กำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบ ติดตาม ปัญหา
d. ทำการติดตามประสิทธิภาพของกระบวนการในการจัดการกับปัญหา ไม่ว่าระยะสั้นหรือ ระยะยาว
ในแต่ละครั้งที่เกิดปัญหา ส่วนงานออกแบบพัฒนาต้องรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น และทำการปรับเปลี่ยนแบบงาน ให้จัดทำระเบียบปฏิบัติในการดำเนินการที่กำหนด
a. การหาสาเหตุของปัญหา
b. การจัดทำมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้นและระยะยาว
c. ทำการปรับเปลี่ยน สเป็คและแบบงาน
d. ทำการตรวจสอบคุณภาพ หลังจากการปรับเปลี่ยน สเป็ค/แบบงาน
เมื่อผลิตภัณฑ์มีการปรับปรุง มาตรฐานการออกแบบต้องเปลี่ยนแปลงด้วย ให้จัดทำระเบียบ กฎเกณฑ์ในการปรับเปลี่ยน:
a. จัดทำเอกสารระเบียบปฏิบัติ:
i. สำหรับการเปลี่ยนมาตรฐานการออกแบบ แบบงาน และ สเป็ค
ii. สำหรับการร้องขอการเปลี่ยนแปลงแบบ
iii. สำหรับการจัดเก็บบันทึกการเปลี่ยนแปลง
iv. สำหรับทำให้มั่นใจว่า แบบงานเดิมได้มีการจัดเก็บ ก่อนที่แบบงานใหม่มีการแจกจ่าย
b. เอกสารระเบียบปฏิบัตินี้ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจ ก่อนนำไปปฏิบัติ
C การนำแผนการออกแบบไปปฏิบัติ
เพื่อให้สามารถทำการผลิตผลิตภัณฑ์ได้อย่าง ราบรื่น การจัดทำขั้นตอนการเริ่มผลิตเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสามารถสื่อสารกันได้ในองค์กร ขั้นตอนในการเริ่มเข้าสู่การผลิต:
a. ทำการตรวจสอบว่า ขั้นตอนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ( design and development phase) ได้เสร็จสิ้น
b. ทำการทดลองผลิต กำจัดปัญหาที่พบและปรับปรุงการออกแบบเพื่อการผลิต
c. ตัดสินใจเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสำหรับการผลิต
d. ตัดสินใจเกณฑ์ คุณลักษณะด้านคุณภาพในแต่ละกระบวนการผลิต และ ทำการกำหนดไว้ในมาตรฐานการผลิต เพื่อใช้ในการตรวจสอบระหว่างทำการผลิตแบบ mass-production ว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่
e. กำหนดแบบฟอร์มบันทึก คุณลักษณะด้านคุณภาพที่ต้องทำการตรวจวัด
f. กำหนด หน้าที่ของแต่ละส่วนงาน และงานในเอกสารมาตรฐานการผลิต
g. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการทบทวน ตามความจำเป็น เพื่อป้องกันการตีความผิดพลาด และความสมบูรณ์ของมาตรฐานการผลิต
h. ให้ทำการอธิบายทุกรายละเอียด กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ ก่อนทำการเริ่มผลิต
i. ทำการตรวจสอบความพร้อมของเอกสารการผลิต และ กำหนดการในการเริ่มทำการผลิต การตรวจสอบทบทวนนี้ต้องลงไว้ในแบบฟอร์ม Design Review
Figure 3a Design review report
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถทำการตรวจสอบคุณลักษณะทางคุณภาพ ในกระบวนการผลิต จึงต้องจัดเตรียมผังการไหลของกระบวนการผลิตต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการยืนยันความถูกต้องของ
ลักษณะทางคุณภาพ
1) กำหนดลักษณะทางคุณภาพที่ต้องการในแต่ละกระบวนการผลิต
2) กำหนดว่าจะทำการตรวจวัด ลักษณะทางคุณภาพ ด้วยวิธีใด
3) รูปแบบ ข้อมูลของลักษณะทางคุณภาพ ที่ต้องจัดเก็บ
สิ่งที่ต้องทำ
1) ทบทวนระบบการตรวจและบันทึกลักษณะทางคุณภาพ
2) ทบทวนบันทึกคุณภาพ สําหรับการยอมรับได้โดยการสุ่มเพื่อการยอมรับเป็นรุ่นโดยใช้วิธีการทางสถิติ
3) ตรวจสอบว่าได้ระบุเกณฑ์สําหรับลักษณะทางคุณภาพอย่างชัดเจน
4) ทบทวนว่าได้มีการใช้ ระบบ อัตโนมัติ (รวมทั้ง โป-คา-ยก)ในการตรวจสอบลักษณะทางคุณภาพ มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
Figure 3.b Quality assurance process drawing
1. เพื่อควบคุมงบประมาณสำหรับการออกแบบและพัฒนา ขั้นตอนในการควบคุมงบประมาณควรมีการกำหนดไว้โดย :
a. จัดทำราบการค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการออกแบบพัฒนา
b. ประมาณการค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ
c. จัดทำแบบฟอร์มสำหรับงบประมาณ ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องงบประมาณนี้ต้องตรวจทานข้อมูลเรื่องงบประมาณกับ โครงการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผ่านๆมา ก่อนที่จะส่งอนุมัติ
d. ทำการชี้แจงกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และ การขอความร่วมมือในการควบคุมอย่างเคร่งครัด
e. ทำการตรวจสอบค่าใช้จ่ายเป็นระยะๆ เทียบกับงบประมาณ
f. หากค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณไปมาก ให้มีการเรียกประชุมด่วนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไข
g. ในกรณีที่การเกินงบประมาณเกิดจากลูกค้าทำการเปลี่ยน สเป็ค ให้ทำการต่อรองลูกค้าผ่านทางหน่วยงานขาย
h. ควบคุมค่าใช้จ่ายซึ่งไม่ได้อยู่ในงบประมาณให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
Figure 3.d Budget application form
ข้อมูล : A Roadmap to Quality : UNIDO / JSA