มาตรฐาน ISO 22000 กำหนดว่า “มาตรการควบคุมที่ถูกเลือก ต้อง ถูกจัดแยกประเภทว่ามาตรการเหล่านั้น จำเป็นต้องถูกจัดการโดย oPRPs หรือ HACCP plan “ มีคำถามว่า แล้ววัตถุประสงค์ หรือ ความแตกต่างระหว่างการจัดการโดย oPRPs กับ แผน HACCP มันเหมือนหรือต่างกัน
อย่างไร
มาตรการควบคุม ตามมาตรฐาน ISO22000
ก่อนที่จะทำการเรียนรู้เกี่ยวกับการแยก ประเภท มาพิจารณาความแตกต่างกันก่อนดีกว่า มาตรการควบคุม ตามมาตรฐาน ISO22000 มีสองชนิด ซึ่งมีวิธีการจัดการต่างกันตามข้อกำหนด ISO22000 ดังนี้
หากทำการเปรียบเทียบ ข้อกำหนด 7.5 กับ 7.6 ข้างต้นท่านจะพบว่าสิ่งที่แตกต่างกันคือ หากมาตรการควบคุมถูกจัดการโดย แผน HACCP คือต้องมี ค่าวิกฤติ (7.6.1 c)และ หากมาตรการควบคุมถูกจัดการโดย oPRPs วิธีการในการเฝ้าระวังติดตาม (monitoring) จะเป็นการเฝ้าระวังติดตามว่า มาตรการควบคุมได้มีการนำไปปฏิบัติ (7.5.c )
ท่านต้องตระหนักว่าสิ่งที่ท่านกำลังทำ คือ ทำการทบทวน มาตรการควบคุม ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลต่ออันตรายในอาหารที่ระบุ
การแยกประเภทนี้ มีผลต่อ มาตรการควบคุม ทุกประเภท ไม่ว่า PRPs oPRPs HACCP Plan เพราะหลังจากการพิจารณาแล้ว บาง PRPs อาจกลายเป็น oPRP บาง CCP อาจปรับเป็น oPRPs
ในการควบคุมอันตรายในอาหารที่ผลิตภัณฑ์สุด ท้าย มาจากหลายๆมาตรการควบคุุมในขั้นตอนต่างๆระหว่างทำการผลิต ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีบางขั้นตอน บางกิจกรรม ซึ่งหากทำไม่ดี เกิดการล้มเหลว จะมีผลอย่างมากต่ออันตรายในอาหาร ทำให้อาหารไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค
ในการเลือกมาตรการควบคุมมาใช้ และรวมถึงการแยกประเภทมาตรการควบคุม ต้องกระทำหลัง การชี้บ่งอันตรายเท่านั้น เหตุผลคือ ท่านจะได้ทราบว่า ขั้นตอนไหน กิจกรรมไหนมีความเสี่ยงต่ำ เสี่ยงสูง มาตรการควบคุมไหนที่ต้องใส่ใจ ต้องเข้มงวด มิฉะนั้นท่านจะเลือกใช้มาตรการควบคุมไม่ถูก ท่านจะทำการแยกประเภทการจัดการกับมาตรการควบคุมไม่ได้
ท่านต้องระวังในการแยกประเภทมาตรการควบคุม ที่ซึ่งแต่ละองค์กรต่างกัน ซึ่งก็แล้วแต่ความเสี่ยงว่าเสี่ยงมาเสี่ยงน้อย ซึ่งแล้วแต่อันตรายในอาหารแต่ละชนิด ซึ่งแล้วแต่กระบวนการว่ามีขั้นตอน ซึ่งแล้วแต่ว่ามีโอกาสในการปนเปื่อนกี่จุด ซึ่งแล้วแต่ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ท่านผลิต ด้วยเหตุผลนี ท่านต้องทำให้มั่นใจว่าหลังจากการคัดแยกประเภทมาตรการควบคุมแล้ว ท่านจะได้มาที่ซึ่ง มาตรการควบคุมที่สะท้อนต่้ออันตรายในอาหารของท่าน (ท่านสามารถจัดการได้อย่างอยู่หมัด และด้วยความมั่นใจเต็มเปี่ยม)
มาตรการควบคุม (control measure) หมายถึง การปฏิบัติและกิจกรรมใดๆ ซึ่งสามารถใช้ป้องกันหรือ ขจัดอันตรายต่อความปลอดภัยของอาหาร หรือลดอันตรายลงมาสู่ระดับที่ยอมรับได้
อันตรายจากสารปฏิชีวนะตกค้าง และ หรือ การปนเปื้อนของเชื้อจุลลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในวัตถุดิบ สามารถป้องกันได้ในขั้นตอน การรับวัตถุดิบ เช่น ต้องแสดงรายงานผลการตรวจสอบวัตถุดิบ
อันตรายจากการใช้วัตถุเจือปนอาหารเกินกำหนด สามารถป้องกันโดย การชั่งวัตถุเจือปนอาหารให้ถูกต้อง อาจชั่งโดยอัตโนมัติและติดตั้งสัญญาณเตือนเมื่อน้ำหนักผิดปกติ และหรือ ทวนสอบปริมาณสารที่ตกค้างในขั้นตอนการเติมวัตถุเจือปนอาหารเพื่อเป็นการ double check หรือ ทวนสอบ
ป้องกันการเติบโตของเชื้อโดยการควบคุมสูตรการผลิต เช่น การเติมการปรับ ค่า pH การเติมวัตถุเจือปนอาหาร
การควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคในผลิตภัณฑ์สุดท้ายโดย การแช่เย็น
การปรับกรดเพื่อ ควบคุมสปอร์ c. botulinum ในอาหารหมักดอง
การอบแห้งที่อุณหภูมิ > 93 c ที่เวลา มากกว่า 120 นาที อัตราเร็วลม 2 ลบ ฟุต ค่า aW น้อย กว่า 0.85 เพื่อควบคุมการเติบโตของจุลินทรีย์
การเติมตัวทำละลายเช่น น้ำตาลหรือเกลือ เพื่อลด Aw ของผลิตภัณฑ์
มาตรการควบคุม (control measure) หมายถึง การปฏิบัติและกิจกรรมใดๆ ซึ่งสามารถใช้ป้องกันหรือ ขจัดอันตรายต่อความปลอดภัยของอาหาร หรือลดอันตรายลงมาสู่ระดับที่ยอมรับได้
การใช้แสง อัลตราไวโอเลต เพื่อฆ่าเชื้อ
การฆ่าพาราไซด์โดยการแช่แข็ง
ขั้นตอนการให้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และพาราไซด์ที่ก่อให้เกิดโรค
ขั้นตอนการตรวจเช็คโลหะ เพื่อกำจัดผลิตภัณฑ์ที่มีเศษโลหะปนเปื้อนอยู่
มาตรการควบคุม (control measure) หมายถึง การปฏิบัติและกิจกรรมใดๆ ซึ่งสามารถใช้ป้องกันหรือ ขจัดอันตรายต่อความปลอดภัยของอาหาร หรือลดอันตรายลงมาสู่ระดับที่ยอมรับได้
การตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมที่นอกเหนือจากเศษโลหะ ด้วยสายตาโดยผู้ปฏิบัติงานในขั้นตอนการเตรียมผลิตภัณฑ์ ก็จะลดอันตรายให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
หากกระบวนการผลิตไม่มีขั้นตอนฆ่าเชื่อ ด้วยความร้อนเพื่อกำจัดเชื้อ มาตรการป้องกันอันตรายชีวภาพที่จัดทำขึ้นเพื่อลดอันตรายให้ลดลงจนอยู่ใน เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ก็จัดเป็น CCP
การคัดแยก ตรวจรับผัก ผลไม้ ตามมาตรฐานการตรวจรับวัตถุดิบโดยคนงาน
ตรวจสอบการสลายตัวของโปรตีน จากปริมาณฮีสตามีน ด้วยประสาทสัมผัส
ตัวอย่าง CCP เดียวที่สามารถควบคุมอันตรายได้หลายอย่าง เช่น ขั้นตอนการแช่เย็นปลา จะสามารถควบคุมอันตรายได้ 2 อย่าง คือ การเจริญเติบโตของเชื้อจุลลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและป้องกันการเกิดของ histamine
ที่ต้องมี CCP หลายจุดคือ การให้ความร้อนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในแฮมเบอร์เกอร์จำ เป็นต้องมี CCP ในการควบคุมอุณหภูมิและเวลาในการฆ่าเชื้อ และ CCP ในการควบคุมความหนาของ pallet หรือ ก้อน แฮมเบอร์เกอร์ในขั้นตอนแปรรูป
อธิบายข้อกำหนด
อะไรคือ Logical approach
สำหรับ การประเมินอันตราย Hazard Assessment โดยใช้หลัก matrix ตามแนวทางที่ Codex แนะนำไว้ด เพื่อเลือกว่าอันตรายใดที่ต้องมีมาตรการควบคุม แต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้เสมอไป
ผลที่ได้จากการใส่คะแนนแบบนี้ อาจตรงกันข้ามกับสิ่งที่มาตรฐาน ISO22000 ต้องการด้วยซ้ำไป เพราะมาตรฐานต้องการ คือ ต้อง Logical .หมายถึง “ ต้อง ดูสมเหตุสมผล ต้องดูมีเหตุผล ดูแล้วใช่เลย “
โดยเฉพาะหากคุณไม่รู้การจัดการ แบบ oPRPs กับ แผน HACCP มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อด้อย ต่างกันอย่างไร คุณอาจตกหลุมพลาง การอำพรางของ Math Model โดยไม่รู้ตัว
มาตรฐาน ISO22004 ให้แนวทางว่า แล้วแต่องค์กรคุณว่าต้องการจัดการมาตรการควบคุมแบบไหน จะเน้น oPRPs หรือ เน้นที่แผน HACCP
คำว่า " may focus " แปลว่า มาตรฐาน ISO22000 บอกว่าการแยกประเภท มาตรการควบคุม เป็นเรื่องมุมมองการจัดการ ผู้ใช้ดุลยพินิจ ไม่ใช่ เรื่องของ Match model
วิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ ในการทำให้สอดคล้องกับ ข้อกำหนด ISO 22000 7.4.4 สำหรับองค์กรที่ทำ HACCP แล้ว หรือจำต้องทำ HACCP ควบคู่ โดยการใช้ Decision tree ของ CODEX ที่ซึ่งส่วนมากมักมีการกระทำอยู่แล้ว
องค์กรที่ใช้ decision tree ตาม Codex จะสอดคล้องกับ ข้อกำหนด ISO22000 ข้อ 7.4.4 ภาพด้านล่างจะเห็นได้ว่ามีการกระทำที่สอดคล้องกับ 7.4.4 ) กับ 7.4.4 f) อยู่แล้ว
1. ทำการแยกประเภท มาตรการควบคุม โดยใช้ decision tree ตาม Codex
( เมื่อทำการเสร็จสิ้น ท่านจะมีการกระทำที่สอดคล้องกับ 7.4.4 c) & f) โดยอัตโนมัติ ( ด้วย Q2 และ Q4 ของ decision tree ) )
2. นำมาตรการควบคุมที่ผ่านการกรองด้วย Q2 & Q4 ( HACCP Codex) มาเข้ากระบวนการเพิ่มเติม ดังนี้
( เมื่อจบกระบวนการ ท่านจะการกระทำที่สอดคล้อง กับ 7.4.4 b, d, e เพิ่มเติม )
![]() |
หากมีความเสี่ยง ต้องมีมาตรการควบคุม หากน้อยมากๆ ไม่มีอะไรก็จะกลายเป็น PRP หรือไม่ก็ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องควบคุม ! |
![]() ![]() |
ขั้นตอนต่อไปมีมาตรการควบคุมเพื่อการขจัด หรือ ลดอันตราย สู่ระดับการยอมรับหรือไม่ (รวมขั้นตอนที่ลูกค้าด้วย) ดูดีๆ : ไม่รวมคำว่าป้องกันอันตรายในคำถามนี้ |
![]() |
หากไม่มีมาตรตการควบคุมอยู่ใน step งานนี้ ก็ต้องไปทำ |
![]() |
เอาไว้แยกว่ามาตรการควบคุมใดควรจัดการด้วย oPRP |
![]() |
เอาไว้แยกว่ามาตรการควบคุมใดควรจัดการด้วย oPRP |
ไม่ว่าท่านใช้ วิธีใดในการประเมิน ( Assessment) ทั้ง เลือก + คัดแยกประเภทมาตรการ ควบคุม ท่านต้องทำให้เป็น Logical Approached คือ ดูแล้วทะแม่ง ทะแม่ง ก็ปรับ ให้เป็นไปตามสิ่งที่คิดว่า สมเหตุ สมผล เพราะข้อกำหนดต้องการให้ ทำการ ประเมิน แบบ Make-Sense ไม่ใ่ช่ non-sense ดังนั้น ระเบียบการทำงานเรื่องนี้ ต้องกล่าวถึงการทบทวนขั้นสุดท้ายและเหตุผลในการปรับนั้นๆ
ท่านใช้วิธีการใดในการประเมิน ไม่มีปัญหา เพียงแต่คุณต้องใช้มัน หากผลสุดท้ายดูทะแม่งๆ ก็ทำการปรับ (สิ) โดยเฉพาะผู้ชอบใช้ตัวเลข ตัวเลขอาจหรอกคุณได้ อย่าลืมทำกติกาว่าใครมีสิทธิปรับในขั้นสุดท้าย ในระบบ